วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2018, 22:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:

คำถามที่ ๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด


ข้อนี้เมตตาในตนเพื่อให้ศีลเกิดที่ตน ผมได้กล่าวคร่าวๆไปแล้วในกระทู้ข้างบนครับ ซึ่งยังเป็นการทำไว้ในใจเบื้องต้นเท่านั้น

ถามต่อนะครับว่า

1. ก็ถ้าที่ผมกล่าวไว้นี้ ว่าพรหมวิหาร ๔ มีผลเป็นศีล แล้วศ๊ลจะเกิดขึ้นแก่กายใจเรายังไงครับ

ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่เสพย์สิ่งที่ขาดสติ มันจะเกิดขึ้นกับใจเราในทิศทางใด แบบไหนบ้าง มาแบ่งปันกันครับ

2. ศีลเป็นไปเพื่อใจกระทำอย่างไรกับความเป็นที่รัก ที่ชัง


:b32: :b32: :b32: มาเล่นกระทู้เรากันครับ


จริง ๆ เอกอนก็ยังรู้สึกเป็นคำตอบที่ยากอยู่นั่นล่ะ :b32: :b32: :b32:

เพราะโดยมากเอกอนก็ไม่ค่อยทำอะไรที่ผิดศีลนะ
ก็เคยสังเกตเห็นอยู่บ้าง แต่โดยมากแล้ว เอกอนจะค่อนข้างชิงตัดไฟแต่ต้นลม
ยังไม่ค่อยได้ถึงกับวางเพลิงเผาบ้านตัวเองง่ะ :b9:

คือทุกคนต้องเคยจมอยู่ในกองทุกข์อันเนื่องมาจากการลุด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
เช่น การทำร้ายผู้อื่น เมื่อถ้าเราทำร้ายเขา เราก็ต้องคอยระวังว่าเขาจะทำร้ายเรากลับ
ส่วนการลักทรัพย์ พูดปด ผิดทางกาม เสพสิ่งมึนเมา คือไม่ว่าเราจะทำอะไร
มันจะมีผลที่ตามมา ซึ่งเราก็จะต้องเป็นทุกข์กังวลกับผลที่ตามมา
ให้กายใจได้ฟุ้งซ่าน ร้อนรน ไม่เป็นสุข

ซึ่งถ้าหากว่า โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ครอบงำ ก็คงยากที่จะกระทำอะไรในทางที่ผิดศีล
ซึ่ง กายใจก็จะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสุข สงบ

ซึ่งถ้าจะสังเกตุดี ๆ ก่อนที่เราจะกระทำอะไรลงไป
อารมณ์ โลภะ โทสะ โมหะ มันจะสุมเราให้ได้รู้สึกร้อนรนก่อน
ซึ่งถ้าหากใครที่รู้สึกถึง โลภะ โทสะ โมหะ ที่รนใจเราอยู่ แล้วยังดับไม่ได้
การนำศีลมาเป็นข้อตั้งมั่น จะเป็นการรับมือกับตนเองในเบื้องต้นเลย

จริง ๆ ถ้าคนที่ไม่เคยขโมยของใคร การที่เขาจะลงมือขโมยไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ
เพราะจิตที่จะลักทรัพย์นั้นต้องมีแรงผลักดันมาก ๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ หรอก
เพราะจิตยังไม่เสพคุ้นกับการทุศีล

แต่ถ้าคนที่เคยกระทำแล้ว เขาก็จะกระทำได้อีก และอาจจะทำได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ซึ่งการ เลิกกระทำนั้นอาจจะยาก เพราะจิตได้เสพคุ้นกับการทุศีลแล้ว
และล่วงกระทำออกมาทางกายแล้ว

หลัก ๆ ของเอกอนคือจะค่อนข้างเห็น โลภะ โทสะ โมหะ ที่มันรุม ๆ อยู่ในใจ
เอกอนเห็นแค่นี้ ก็รู้สึกว่าสิ่งที่รุมใจอยู่ตรงนั้นเป็นทุกข์
ก็จะใช้ศีลห้ามายึดมั่นเอาไว้นั่นล่ะ เพื่อสะกัดให้มันอยู่ในกรอบ
กรอบมันก็เป็นระดับ กาย วาจา ใจ
ซึ่งแหล่งเกิดแรกเลยคือใจ ต่อจากใจก็คือวาจา และทางกายเป็นทางต่อมา
ดังนั้นการสะกัด การควบคุม ก็เป็นเรื่องที่ กายจะเป็นด่านแรกที่จะกระทำได้
และค่อยไล่สะกัดที่วาจา และไปเล่นกันที่ใจ

ดังนั้น ศีล 5 โดยเบื้องต้นเป็นส่วนที่ทำงานกับทางกายและทางวาจา
เมื่อใจมันถูกรุมเร้าด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
ศีล 5 ต้องเข้ามากำกับ กาย และ วาจา ถ้าใครแข็งแรงก็สะกัดแบบหักดิบ
ต้องสะกัดกั้นไม่ให้ โลภะ โทสะ โมหะ เล็ดลอดออกไปทางกาย ทางวาจา
ซึ่งมันก็มีเล็ดลอดได้นั่นล่ะ ในช่วงแรก แบบว่าโกรธนะ แต่ไม่เข้าไปชกนะ
แค่ทำตาขวางใส่ :b32:
แต่ใส่ความตั้งใจลงไปเรื่อย ๆ ตั้งมั่นในศีล มันจะค่อย ๆ สะกัดได้มากขึ้น
สำรวมได้มากขึ้น เฝ้าระวัง กาย วาจา ได้มากขึ้น
กายก็จะอยู่ในขั้นสำรวมอยู่ได้ วาจาก็จะอยู่ในขั้นสำรวมอยู่ได้
กาย-วาจา-ใจ ก็จะสงบได้ในขั้น สำรวมระวัง

สำรวมไว้ให้ได้ก่อน การพิจารณาเพื่อสลัดก็จะเป็นทางดำเนินต่อไป

คือ โกรธเขา หากเราลุแห่งความโกรธ ได้ไปลงมือกระทำร้ายเขาด้วยกาย
ก็เหมือนกับเราเอาเนื้อใส่ตะแกรง แล้วนำไปย่างบนเตาที่ถ่านกำลังร้อน ๆ ทิ้งไว้อย่างนั่นน่ะ

สำหรับคนที่ โลภะ โทสะ โมหะมันกัดกิน มันก็เหมือนเราเอาตัวเองขึ้นย่าง
ถ้าไม่สามารถยับยั้งตั้งสติได้ เราก็จะย่างลืมจนเกรียมจนหมกไหม้นั่นล่ะ
แต่ถ้าเราไม่พลังออกมาทางกาย แต่พลังออกมาทางวาจา
ก็จะคล้าย ๆ กับเราไปนั่งอยู่ข้าง ๆ กองไฟที่กำลังลุกร้อนแรง เราจะรู้สึกถึงความร้อนผ่าว ๆ
แต่ไฟนั้นจะไม่ถึงกับเผาเราให้สุก
การห้ามไฟตรงนี้ เป็นการห้ามด้วย ศีล 5 เพื่อระงับการกระทำทางกาย วาจา

ซึ่งเมื่อเราสามารถควบคุมพฤติกรรมทางกาย ทางวาจาได้
นั่นคือ เราสะกัดกิเลสเอาไว้ไม่ให้ทะลักออกไปได้ เราก็จะมีความทรงตัวได้อยู่ในระดับหนึ่ง
ซึ่งโลภะ โทสะ โมหะมันจะคุกกรุ่นอยู่ในใจให้เห็นได้ ให้รู้สึกได้ถึงความร้อน ความกระสับกระส่าย
ความรุมเร้า ความทะยาน
แต่กายสำรวมไว้ได้อยู่ วาจาสำรวมไว้อยู่
ส่วนใจจะยังมีความฟุ้ง ความร้อนรน

ซึ่งมันจะมีจังหวะเอง เพราะคนเราไม่ได้ โลภออกมาให้เห็นซะตลอดเวลา
ไม่ได้โทสะตลอดเวลา ไม่ได้โมหะตลอดเวลา มันก็มีอย่างอื่นมาปรากฏให้มันสลับกันไป

เพราะความที่มันมีอารมณ์อื่นมาขั้น
ตรงนี้มันพอจะพิจารณาได้ ว่าอะไรมันทำให้ โลภะ โทสะ โมหะ เกิด
นั่นคือ จิตมันมีเส้นทางที่เขาคุ้นเคย ว่าเจอสิ่งนี้มันก็จะเดินไปหาอารมณ์นั้นทันที
เราก็ต้องเรียนรู้วิธีเลี่ยง วิธีออกห่างจากตัวกระตุ้น
และค่อย ๆ สร้างความคุ้นเคยใหม่ที่เป็นกุศลให้กับจิตไปพร้อม ๆ กัน
ทำกิจกรรมที่จะทำให้อารมณ์อันเป็นกุศลเกิดบ่อยขึ้น

คือ เอกอนไม่ค่อยได้ศึกษาจำตำรานะ
เพราะเอกอนค่อนข้างมีเทคนิคในการสื่อสารกับจิตด้วยมโนภาพ
ในเคสนี้ เอกอนจะมองเข้าไปภายใน และสร้างลิงน้อยขึ้นมาตัวนึง
และสื่อสารกับเขา ว่าเราน่ะ มีเพื่อนบ้านอยู่ 2 หลังนะ
หลังหนึ่งมีคนอยู่ 3 คน โลภะ โทสะ โมหะ เพื่อนบ้านนี้เอกอนไปมาหาสู่เขาอยู่เรื่อย ๆ
ไปจนชำนาญ จนชินเส้นทาง ดังนั้นออกจากบ้านไปหาเพื่อน เอกอนก็จะชินที่จะไปทางนี้
อีกหลัง เป็นเพื่อนบ้านที่ดี แต่เอกอนยังไม่ค่อยไปหาเขา

ซึ่งเอกอนทบทวนแล้ว ไอ้บ้านหลังนั้นนำแต่ความร้อนใจมาให้
แต่บ้านหลังนี้ คบแล้วน่าจะนำพาความสงบมาให้
เอกอนก็วางมโนภาพว่า เจ้าลิงน้อยจะต้องหาวิธีไปเคาะประตูบ้านหลังนี้ให้ได้
เมื่อเคาะประตูได้ ก็ต้องเข้าไปให้ได้ เพื่อทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านใหม่

คือแล้วลิงน้อยเขาก็สื่อสารกับเอกอนรู้เรื่องแบบนี้ซะด้วย :b9:
เขาก็ทำอย่างที่ตกลงกัน :b32: เพราะบ้านหลังหนึ่งคือร้อนรน ฟุ้งซ่าน
มันจะเป็นโทนสีที่ทะมึนทึน หมองหม่น ร้อนแรง

ส่วนอีกหลังหนึ่งเขาจะร่มเย็น สบาย สงบ โทนสีสดใส เบิกบาน นุ่มนวล

ซึ่งเมื่อเขาเคาะประตูแล้วเข้าไปอยู่ในบ้านได้ เขารู้ทางที่จะไปมาหาสู่บ้านหลังนั้น
เขาก็จะค่อย ๆ ห่างจากบ้านหลังแรก และไปบ้านหลังสองบ่อยขึ้น ชำนาญขึ้น

เมื่อจิตเริ่มมีเพื่อนบ้านในทางกุศล มันก็อยู่ในแดนสงบสุขโดยมาก

จิตเป็นสิ่งที่เขามีวิถีของเขาเองนะ อาจจะเป็นเพราะเทคนิคมั่ว ๆ ที่เอกอนหยิบมาใช้สื่อสารกับเขา
ทำให้เอกอนชินกับการที่จะมองเขาดำเนินไป
เขาแสดงตัวที่ปัจจุบัน เขามีทิศทางการเคลื่อนไปสู่อนาคต มีอดีตเป็นตัวส่ง
เมื่อเขาสร้างเส้นทางในทางกุศลได้แล้ว ในวันแรกที่เดินไปเคาะประตูบ้านเพื่อนใหม่
เสื้อเขาอาจจะเป็นสีหมอง ๆ แต่เขาเข้าไปคลุกคลี เขาจะค่อย ๆ ซักตัวเอง (เขาสลัดออก)

คือเอกอนเริ่มเห็นลิงน้อย เมื่อเอกอนเริ่มนั่งสมาธิ
ที่เอกอนรู้สึกถึงตัวเองกลายเป็นผู้สังเกตบางอย่างอยู่
ซึ่งบางอย่างที่เอกอนเฝ้าดูอยู่ เอกอนก็เรียกเขาว่า เจ้าลิงน้อย

เอกอนจะไม่ค่อยได้กางตำรากับลิงน้อย
เพราะ ลิงน้อยเขาไม่รู้ภาษา เขาจะรู้แค่ว่าอารมณ์นี้เป็นที่สบาย เป็นที่ไม่สบาย เป็นที่เฉย ๆ
เมื่อเขาสบาย บางทีเขาก็สบายหน้าบานคล้ายกับดอกทานตะวัน
สบายเหมือนท้องฟ้าหลังฝนยามมีสายรุ้งพาดผ่าน สบายฉ่ำเย็นเหมือนเดินตากน้ำค้างยามค่ำ
ซึ่งเมื่อเขาเสพอารมณ์ที่สบาย และเขาก็จะชินไปตามวิถี เขาก็จะยิ่งทำอารมณ์ให้ยิ่งขึ้นเอง
นั่นเป็นนิสัยเขา

ซึ่งโลภะ โทสะ โมหะ มันก็มีอยู่ครบนั้นล่ะ
ลิงน้อยเขาไปเสพอะไร อารมณ์นั้นก็ปรากฏได้

เสพอารมณ์อะไรมาก อารมณ์นั้นก็ปรากฏโดยมาก
ซึ่งเขาจะไปในเส้นทางที่เขาคุ้นเคยนั่นล่ะ

เราก็คอยดูแลให้อาหารกับเขาไป คือมันสื่อสารโต้ตอบกันได้นั่นล่ะ
ว่าลิงน้อยจะเติบโตไปในทางไหน ลิงน้อยต้องการอาหารอะไร

คือจริง ๆ เอกอนก็คือ สติกำหนดรู้ ลิงน้อยก็คือจิต
มันไม่ได้มีอะไรหลายตัวข้างในจริง ๆ หรอก เพียงแต่มันเป็นการนำมาใช้ของเอกอน
ที่จะตั้งหลักเพื่อกำหนดให้จิตหนึ่งทำหน้าที่หนึ่งอย่างชัดเจน
และส่วนอีกจิตหนึ่งทำหน้าที่หนึ่งของจิตไป

คือ การฝึกฝนตัวเอง ก็เหมือนกับเรากำลังฝึกสัตว์ตัวหนึ่งนั่นล่ะ
ก็ต้องให้เวลากับเขาอย่างเหมาะสม

จริง ๆ มันก็ไม่ได้มีแต่ลิงน้อย
บางครั้งมันก็จะเหมือนกับ "จิตตนคร"
ช่วงที่เล่นกับ ขันธ์-อายตนะ มันจะเหมือน "จิตตนคร" ตัวละครจะเยอะ :b9:
จะมีบางช่วงเท่านั้นที่บทบาทจะมีแต่ เรา กะ ลิงน้อย :b12:

:b1:

:b12:

เอกอนอาจจะตอบให้ตรงกับคำถามในแบบจัดเป็นลำดับ ๆ ด้วยภาษาธรรมไม่ได้นะ
เพราะ เอกอนแม้อ่านตำราอยู่บ้าง แต่เวลาที่เอกอนเล่นกับลิงน้อยจริง ๆ
เอกอนสื่อสารกับเขาแบบ มโนภาพ

:b9: :b9: :b9:

แต่เอกอนคิดว่า ผักกาด สามารถ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 12:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:

คำถามที่ ๖. ศีลในพระพุทธศาสนา คือ ผลของพรหมวิหาร ๔ ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด


ข้อนี้เมตตาในตนเพื่อให้ศีลเกิดที่ตน ผมได้กล่าวคร่าวๆไปแล้วในกระทู้ข้างบนครับ ซึ่งยังเป็นการทำไว้ในใจเบื้องต้นเท่านั้น

ถามต่อนะครับว่า

1. ก็ถ้าที่ผมกล่าวไว้นี้ ว่าพรหมวิหาร ๔ มีผลเป็นศีล แล้วศ๊ลจะเกิดขึ้นแก่กายใจเรายังไงครับ

ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่เสพย์สิ่งที่ขาดสติ มันจะเกิดขึ้นกับใจเราในทิศทางใด แบบไหนบ้าง มาแบ่งปันกันครับ

2. ศีลเป็นไปเพื่อใจกระทำอย่างไรกับความเป็นที่รัก ที่ชัง


:b32: :b32: :b32: มาเล่นกระทู้เรากันครับ


จริง ๆ เอกอนก็ยังรู้สึกเป็นคำตอบที่ยากอยู่นั่นล่ะ :b32: :b32: :b32:

เพราะโดยมากเอกอนก็ไม่ค่อยทำอะไรที่ผิดศีลนะ
ก็เคยสังเกตเห็นอยู่บ้าง แต่โดยมากแล้ว เอกอนจะค่อนข้างชิงตัดไฟแต่ต้นลม
ยังไม่ค่อยได้ถึงกับวางเพลิงเผาบ้านตัวเองง่ะ :b9:

คือทุกคนต้องเคยจมอยู่ในกองทุกข์อันเนื่องมาจากการลุด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
เช่น การทำร้ายผู้อื่น เมื่อถ้าเราทำร้ายเขา เราก็ต้องคอยระวังว่าเขาจะทำร้ายเรากลับ
ส่วนการลักทรัพย์ พูดปด ผิดทางกาม เสพสิ่งมึนเมา คือไม่ว่าเราจะทำอะไร
มันจะมีผลที่ตามมา ซึ่งเราก็จะต้องเป็นทุกข์กังวลกับผลที่ตามมา
ให้กายใจได้ฟุ้งซ่าน ร้อนรน ไม่เป็นสุข

ซึ่งถ้าหากว่า โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ครอบงำ ก็คงยากที่จะกระทำอะไรในทางที่ผิดศีล
ซึ่ง กายใจก็จะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสุข สงบ

ซึ่งถ้าจะสังเกตุดี ๆ ก่อนที่เราจะกระทำอะไรลงไป
อารมณ์ โลภะ โทสะ โมหะ มันจะสุมเราให้ได้รู้สึกร้อนรนก่อน
ซึ่งถ้าหากใครที่รู้สึกถึง โลภะ โทสะ โมหะ ที่รนใจเราอยู่ แล้วยังดับไม่ได้
การนำศีลมาเป็นข้อตั้งมั่น จะเป็นการรับมือกับตนเองในเบื้องต้นเลย

จริง ๆ ถ้าคนที่ไม่เคยขโมยของใคร การที่เขาจะลงมือขโมยไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ
เพราะจิตที่จะลักทรัพย์นั้นต้องมีแรงผลักดันมาก ๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ หรอก
เพราะจิตยังไม่เสพคุ้นกับการทุศีล

แต่ถ้าคนที่เคยกระทำแล้ว เขาก็จะกระทำได้อีก และอาจจะทำได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ซึ่งการ เลิกกระทำนั้นอาจจะยาก เพราะจิตได้เสพคุ้นกับการทุศีลแล้ว
และล่วงกระทำออกมาทางกายแล้ว

หลัก ๆ ของเอกอนคือจะค่อนข้างเห็น โลภะ โทสะ โมหะ ที่มันรุม ๆ อยู่ในใจ
เอกอนเห็นแค่นี้ ก็รู้สึกว่าสิ่งที่รุมใจอยู่ตรงนั้นเป็นทุกข์
ก็จะใช้ศีลห้ามายึดมั่นเอาไว้นั่นล่ะ เพื่อสะกัดให้มันอยู่ในกรอบ
กรอบมันก็เป็นระดับ กาย วาจา ใจ
ซึ่งแหล่งเกิดแรกเลยคือใจ ต่อจากใจก็คือวาจา และทางกายเป็นทางต่อมา
ดังนั้นการสะกัด การควบคุม ก็เป็นเรื่องที่ กายจะเป็นด่านแรกที่จะกระทำได้
และค่อยไล่สะกัดที่วาจา และไปเล่นกันที่ใจ

ดังนั้น ศีล 5 โดยเบื้องต้นเป็นส่วนที่ทำงานกับทางกายและทางวาจา
เมื่อใจมันถูกรุมเร้าด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
ศีล 5 ต้องเข้ามากำกับ กาย และ วาจา ถ้าใครแข็งแรงก็สะกัดแบบหักดิบ
ต้องสะกัดกั้นไม่ให้ โลภะ โทสะ โมหะ เล็ดลอดออกไปทางกาย ทางวาจา
ซึ่งมันก็มีเล็ดลอดได้นั่นล่ะ ในช่วงแรก แบบว่าโกรธนะ แต่ไม่เข้าไปชกนะ
แค่ทำตาขวางใส่ :b32:
แต่ใส่ความตั้งใจลงไปเรื่อย ๆ ตั้งมั่นในศีล มันจะค่อย ๆ สะกัดได้มากขึ้น
สำรวมได้มากขึ้น เฝ้าระวัง กาย วาจา ได้มากขึ้น
กายก็จะอยู่ในขั้นสำรวมอยู่ได้ วาจาก็จะอยู่ในขั้นสำรวมอยู่ได้
กาย-วาจา-ใจ ก็จะสงบได้ในขั้น สำรวมระวัง

สำรวมไว้ให้ได้ก่อน การพิจารณาเพื่อสลัดก็จะเป็นทางดำเนินต่อไป

คือ โกรธเขา หากเราลุแห่งความโกรธ ได้ไปลงมือกระทำร้ายเขาด้วยกาย
ก็เหมือนกับเราเอาเนื้อใส่ตะแกรง แล้วนำไปย่างบนเตาที่ถ่านกำลังร้อน ๆ ทิ้งไว้อย่างนั่นน่ะ

สำหรับคนที่ โลภะ โทสะ โมหะมันกัดกิน มันก็เหมือนเราเอาตัวเองขึ้นย่าง
ถ้าไม่สามารถยับยั้งตั้งสติได้ เราก็จะย่างลืมจนเกรียมจนหมกไหม้นั่นล่ะ
แต่ถ้าเราไม่พลังออกมาทางกาย แต่พลังออกมาทางวาจา
ก็จะคล้าย ๆ กับเราไปนั่งอยู่ข้าง ๆ กองไฟที่กำลังลุกร้อนแรง เราจะรู้สึกถึงความร้อนผ่าว ๆ
แต่ไฟนั้นจะไม่ถึงกับเผาเราให้สุก
การห้ามไฟตรงนี้ เป็นการห้ามด้วย ศีล 5 เพื่อระงับการกระทำทางกาย วาจา

ซึ่งเมื่อเราสามารถควบคุมพฤติกรรมทางกาย ทางวาจาได้
นั่นคือ เราสะกัดกิเลสเอาไว้ไม่ให้ทะลักออกไปได้ เราก็จะมีความทรงตัวได้อยู่ในระดับหนึ่ง
ซึ่งโลภะ โทสะ โมหะมันจะคุกกรุ่นอยู่ในใจให้เห็นได้ ให้รู้สึกได้ถึงความร้อน ความกระสับกระส่าย
ความรุมเร้า ความทะยาน
แต่กายสำรวมไว้ได้อยู่ วาจาสำรวมไว้อยู่
ส่วนใจจะยังมีความฟุ้ง ความร้อนรน

ซึ่งมันจะมีจังหวะเอง เพราะคนเราไม่ได้ โลภออกมาให้เห็นซะตลอดเวลา
ไม่ได้โทสะตลอดเวลา ไม่ได้โมหะตลอดเวลา มันก็มีอย่างอื่นมาปรากฏให้มันสลับกันไป

เพราะความที่มันมีอารมณ์อื่นมาขั้น
ตรงนี้มันพอจะพิจารณาได้ ว่าอะไรมันทำให้ โลภะ โทสะ โมหะ เกิด
นั่นคือ จิตมันมีเส้นทางที่เขาคุ้นเคย ว่าเจอสิ่งนี้มันก็จะเดินไปหาอารมณ์นั้นทันที
เราก็ต้องเรียนรู้วิธีเลี่ยง วิธีออกห่างจากตัวกระตุ้น
และค่อย ๆ สร้างความคุ้นเคยใหม่ที่เป็นกุศลให้กับจิตไปพร้อม ๆ กัน
ทำกิจกรรมที่จะทำให้อารมณ์อันเป็นกุศลเกิดบ่อยขึ้น

คือ เอกอนไม่ค่อยได้ศึกษาจำตำรานะ
เพราะเอกอนค่อนข้างมีเทคนิคในการสื่อสารกับจิตด้วยมโนภาพ
ในเคสนี้ เอกอนจะมองเข้าไปภายใน และสร้างลิงน้อยขึ้นมาตัวนึง
และสื่อสารกับเขา ว่าเราน่ะ มีเพื่อนบ้านอยู่ 2 หลังนะ
หลังหนึ่งมีคนอยู่ 3 คน โลภะ โทสะ โมหะ เพื่อนบ้านนี้เอกอนไปมาหาสู่เขาอยู่เรื่อย ๆ
ไปจนชำนาญ จนชินเส้นทาง ดังนั้นออกจากบ้านไปหาเพื่อน เอกอนก็จะชินที่จะไปทางนี้
อีกหลัง เป็นเพื่อนบ้านที่ดี แต่เอกอนยังไม่ค่อยไปหาเขา

ซึ่งเอกอนทบทวนแล้ว ไอ้บ้านหลังนั้นนำแต่ความร้อนใจมาให้
แต่บ้านหลังนี้ คบแล้วน่าจะนำพาความสงบมาให้
เอกอนก็วางมโนภาพว่า เจ้าลิงน้อยจะต้องหาวิธีไปเคาะประตูบ้านหลังนี้ให้ได้
เมื่อเคาะประตูได้ ก็ต้องเข้าไปให้ได้ เพื่อทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านใหม่

คือแล้วลิงน้อยเขาก็สื่อสารกับเอกอนรู้เรื่องแบบนี้ซะด้วย :b9:
เขาก็ทำอย่างที่ตกลงกัน :b32: เพราะบ้านหลังหนึ่งคือร้อนรน ฟุ้งซ่าน
มันจะเป็นโทนสีที่ทะมึนทึน หมองหม่น ร้อนแรง

ส่วนอีกหลังหนึ่งเขาจะร่มเย็น สบาย สงบ โทนสีสดใส เบิกบาน นุ่มนวล

ซึ่งเมื่อเขาเคาะประตูแล้วเข้าไปอยู่ในบ้านได้ เขารู้ทางที่จะไปมาหาสู่บ้านหลังนั้น
เขาก็จะค่อย ๆ ห่างจากบ้านหลังแรก และไปบ้านหลังสองบ่อยขึ้น ชำนาญขึ้น

เมื่อจิตเริ่มมีเพื่อนบ้านในทางกุศล มันก็อยู่ในแดนสงบสุขโดยมาก

จิตเป็นสิ่งที่เขามีวิถีของเขาเองนะ อาจจะเป็นเพราะเทคนิคมั่ว ๆ ที่เอกอนหยิบมาใช้สื่อสารกับเขา
ทำให้เอกอนชินกับการที่จะมองเขาดำเนินไป
เขาแสดงตัวที่ปัจจุบัน เขามีทิศทางการเคลื่อนไปสู่อนาคต มีอดีตเป็นตัวส่ง
เมื่อเขาสร้างเส้นทางในทางกุศลได้แล้ว ในวันแรกที่เดินไปเคาะประตูบ้านเพื่อนใหม่
เสื้อเขาอาจจะเป็นสีหมอง ๆ แต่เขาเข้าไปคลุกคลี เขาจะค่อย ๆ ซักตัวเอง (เขาสลัดออก)

คือเอกอนเริ่มเห็นลิงน้อย เมื่อเอกอนเริ่มนั่งสมาธิ
ที่เอกอนรู้สึกถึงตัวเองกลายเป็นผู้สังเกตบางอย่างอยู่
ซึ่งบางอย่างที่เอกอนเฝ้าดูอยู่ เอกอนก็เรียกเขาว่า เจ้าลิงน้อย

เอกอนจะไม่ค่อยได้กางตำรากับลิงน้อย
เพราะ ลิงน้อยเขาไม่รู้ภาษา เขาจะรู้แค่ว่าอารมณ์นี้เป็นที่สบาย เป็นที่ไม่สบาย เป็นที่เฉย ๆ
เมื่อเขาสบาย บางทีเขาก็สบายหน้าบานคล้ายกับดอกทานตะวัน
สบายเหมือนท้องฟ้าหลังฝนยามมีสายรุ้งพาดผ่าน สบายฉ่ำเย็นเหมือนเดินตากน้ำค้างยามค่ำ
ซึ่งเมื่อเขาเสพอารมณ์ที่สบาย และเขาก็จะชินไปตามวิถี เขาก็จะยิ่งทำอารมณ์ให้ยิ่งขึ้นเอง
นั่นเป็นนิสัยเขา

ซึ่งโลภะ โทสะ โมหะ มันก็มีอยู่ครบนั้นล่ะ
ลิงน้อยเขาไปเสพอะไร อารมณ์นั้นก็ปรากฏได้

เสพอารมณ์อะไรมาก อารมณ์นั้นก็ปรากฏโดยมาก
ซึ่งเขาจะไปในเส้นทางที่เขาคุ้นเคยนั่นล่ะ

เราก็คอยดูแลให้อาหารกับเขาไป คือมันสื่อสารโต้ตอบกันได้นั่นล่ะ
ว่าลิงน้อยจะเติบโตไปในทางไหน ลิงน้อยต้องการอาหารอะไร

คือจริง ๆ เอกอนก็คือ สติกำหนดรู้ ลิงน้อยก็คือจิต
มันไม่ได้มีอะไรหลายตัวข้างในจริง ๆ หรอก เพียงแต่มันเป็นการนำมาใช้ของเอกอน
ที่จะตั้งหลักเพื่อกำหนดให้จิตหนึ่งทำหน้าที่หนึ่งอย่างชัดเจน
และส่วนอีกจิตหนึ่งทำหน้าที่หนึ่งของจิตไป

คือ การฝึกฝนตัวเอง ก็เหมือนกับเรากำลังฝึกสัตว์ตัวหนึ่งนั่นล่ะ
ก็ต้องให้เวลากับเขาอย่างเหมาะสม

จริง ๆ มันก็ไม่ได้มีแต่ลิงน้อย
บางครั้งมันก็จะเหมือนกับ "จิตตนคร"
ช่วงที่เล่นกับ ขันธ์-อายตนะ มันจะเหมือน "จิตตนคร" ตัวละครจะเยอะ :b9:
จะมีบางช่วงเท่านั้นที่บทบาทจะมีแต่ เรา กะ ลิงน้อย :b12:

:b1:

:b12:

เอกอนอาจจะตอบให้ตรงกับคำถามในแบบจัดเป็นลำดับ ๆ ด้วยภาษาธรรมไม่ได้นะ
เพราะ เอกอนแม้อ่านตำราอยู่บ้าง แต่เวลาที่เอกอนเล่นกับลิงน้อยจริง ๆ
เอกอนสื่อสารกับเขาแบบ มโนภาพ

:b9: :b9: :b9:





สาธุ สาธุ สาธุ ถูกต้องตรงดีแล้วครับท่านเอกอน smiley smiley smiley :b8: :b8: :b8:

ผมเองก็ไม่ได้เรียนอะไรมากมาย โดยมากก็แค่พอรู้ความหมายของคำศัพท์เฉยๆ

และตั้งแต่เริ่มกระทู้ที่ผมถามตลอดมาจนถึงข้อนี้ ก็ไม่มีในหนังสือที่ไหนเขาเขียน ไม่มีครูบาอาจารย์ที่ไหนจะมาพร่ำสอนแบบนี้ มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน ของคนปุถุชนอย่างผมที่พอจะมีปัญญาปฏิบัติรู้ได้เห็นผลได้บ้างเล็กน้อย จากการรู้ทางปฏิบัติจากพระอริยะสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ที่ท่านกรุณานำพระธรรมแท้ของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ให้ผมได้มีโอกาสโอปะนะยิโกเท่านั้นเอง

ส่วนคนที่เข้าถึงแล้วต่อให้ไม่รู้ศัพท์ธรรมมะแต่ก็สามารถตอบได้ตรงออกมาให้มองเห็นภาพได้ เข้าใจได้ง่ายเป็นภาษาที่คนรู้เรื่อง ลำดับได้ ทบทวนตรวจสอบได้ ก็แบบที่ท่านเอกอนตอบผมนี้แหละครับ :b8: :b8: :b8:

ท่านเอกอนลองนึกดูนะ แบบที่เราเห็นเขาโพสท์กันแบบบ้าบอในเวบ ลองไปกล่าวเผยแพร่ธรรมคนที่ยังไม่ศรัทธา หรือศาสนาอื่น หรือตาสีตาสาที่ไม่รู้ธรรมดูสิว่า ศีลเกิดมีในกายใจตนได้เพราะชวนะจิต 7 ดวงเกิดขึ้นกับกุศล เกิดขึ้นกับเมตตาจิต เกิดขึ้นกับกรุณาจิต เป็นจิตศีล โน้นไล่ไปโน้น มันไม่รู้เรื่องหรอก ถึงรู้ก็ไม่ใช่วิธีมนสิการ จะมีใครบ้าไปสั่งเจตสิกแต่ละตัวมารวมกันเป็นจิตนี้ๆเพื่อให้ตนมีศีล มีเมตตาได้ ต่อให้ที่ท่องจำมารู้ได้ว่าคือเกิดจากกุศล แล้วทำยังไงให้มีกุศลล่ะ..จะบอกว่าก็ไม่จับกิเลส..แล้วทำยังไงให้ไม่ยึดกิเลสได้ล่ะ..สุดท้ายพอเขาตันก็จะวนกลับมาจุดที่เราคุยกันนี้แหละ เพราะสิ่งที่เราคุยกันนี้ มันคือเหตุให้เข้าถึงของวิถีจิตที่เขากล่าวกันทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ทำที่เหตุดังนั้นไม่ว่าเสด็จไปที่ใดก็สอน ทาน ศีล ภาวนา

หากถามว่าเขามีวิธีทำให้กุศลเกิดขึ้นยังไง มีวิธีเข้าเมตตาจิตยังไง มีวิธีเข้ากรุณาจิตยังไง ถึงศีลจิตยังไง เขาจะไม่มีความสามารถหรือพูดไม่ได้อย่างท่านเอกอนพูดนะครับ แถมท่านเอกอบอุปมาได้น่ารัก ลิงน้อย อิอิ :b32: :b32: :b32:

สิ่งที่เขาหลงกันอยู่นี้มันเป็นเพียงสังขารที่จิตสังขารสงเคราะห์กันเกิดขึ้นเป็น จิต 1 ดวง ซึ่งจิตที่ว่านี้ก็แค่สังขาร แค่ธัมมารมณ์ ไม่ใช่ มโน แต่คนอ่านแล้วสะสมบุญมาดีพอจะไปแบบสุกขวิปัสสโกได้ก็มีนะ แต่ทว่าคนเห็นจริงพอเขาเห็นแล้วว่ามันแค่นี้เอง ตนทำอย่างไรจึงเห็นจริงเข้าถึงอย่างนี้ได้ เขาจะไม่หลงอยู่อีกแล้วทำสะสมเหตุคลองเก่านั้นแหละ

ด้วยเหตุดังนี้พระอธิธรรม พระพุทธเจ้าจึงไม่เอามาตรัสพร่ำเพรื่อเป็นของเล่นแบบสมมติสาวกสมัยนี้เขาบ้าทำกัน แต่จะเป็นธรรมที่จะทรงตรัสสอนตามวาระสำคัญ หรือ ตรัสสอนกับพระ ขีณาสพ หรือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ เพราะท่านแยกกายกับจิตแล้ว และที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจะต่างกับที่เขาท่องจำ คิดเองเออเอง เข้าใจแบบอนุมานเอา

ระดับขั้นต่อไปก็เกี่ยวกับลิงน้อย ของท่านเอกอนแหละ อิอิ :b16: :b16: :b16:


ผมเองก็แค่ปุถุชน เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะแค่โลกียะ มันกลับกลอกหลอกลวงอยู่ แต่ก็พยายามสะสมเหตุไปตามสติกำลังนั่นแหละครับ :b12: :b12:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 30 ธ.ค. 2018, 17:59, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 13:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คือทุกคนต้องเคยจมอยู่ในกองทุกข์อันเนื่องมาจากการลุด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
เช่น การทำร้ายผู้อื่น เมื่อถ้าเราทำร้ายเขา เราก็ต้องคอยระวังว่าเขาจะทำร้ายเรากลับ
ส่วนการลักทรัพย์ พูดปด ผิดทางกาม เสพสิ่งมึนเมา คือไม่ว่าเราจะทำอะไร
มันจะมีผลที่ตามมา ซึ่งเราก็จะต้องเป็นทุกข์กังวลกับผลที่ตามมา
ให้กายใจได้ฟุ้งซ่าน ร้อนรน ไม่เป็นสุข

ซึ่งถ้าหากว่า โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ครอบงำ ก็คงยากที่จะกระทำอะไรในทางที่ผิดศีล
ซึ่ง กายใจก็จะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสุข สงบ

ซึ่งถ้าจะสังเกตุดี ๆ ก่อนที่เราจะกระทำอะไรลงไป
อารมณ์ โลภะ โทสะ โมหะ มันจะสุมเราให้ได้รู้สึกร้อนรนก่อน
ซึ่งถ้าหากใครที่รู้สึกถึง โลภะ โทสะ โมหะ ที่รนใจเราอยู่ แล้วยังดับไม่ได้
การนำศีลมาเป็นข้อตั้งมั่น จะเป็นการรับมือกับตนเองในเบื้องต้นเลย

จริง ๆ ถ้าคนที่ไม่เคยขโมยของใคร การที่เขาจะลงมือขโมยไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ
เพราะจิตที่จะลักทรัพย์นั้นต้องมีแรงผลักดันมาก ๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ หรอก
เพราะจิตยังไม่เสพคุ้นกับการทุศีล

แต่ถ้าคนที่เคยกระทำแล้ว เขาก็จะกระทำได้อีก และอาจจะทำได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ซึ่งการ เลิกกระทำนั้นอาจจะยาก เพราะจิตได้เสพคุ้นกับการทุศีลแล้ว
และล่วงกระทำออกมาทางกายแล้ว

หลัก ๆ ของเอกอนคือจะค่อนข้างเห็น โลภะ โทสะ โมหะ ที่มันรุม ๆ อยู่ในใจ
เอกอนเห็นแค่นี้ ก็รู้สึกว่าสิ่งที่รุมใจอยู่ตรงนั้นเป็นทุกข์
ก็จะใช้ศีลห้ามายึดมั่นเอาไว้นั่นล่ะ เพื่อสะกัดให้มันอยู่ในกรอบ
กรอบมันก็เป็นระดับ กาย วาจา ใจ
ซึ่งแหล่งเกิดแรกเลยคือใจ ต่อจากใจก็คือวาจา และทางกายเป็นทางต่อมา
ดังนั้นการสะกัด การควบคุม ก็เป็นเรื่องที่ กายจะเป็นด่านแรกที่จะกระทำได้
และค่อยไล่สะกัดที่วาจา และไปเล่นกันที่ใจ

ดังนั้น ศีล 5 โดยเบื้องต้นเป็นส่วนที่ทำงานกับทางกายและทางวาจา
เมื่อใจมันถูกรุมเร้าด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
ศีล 5 ต้องเข้ามากำกับ กาย และ วาจา ถ้าใครแข็งแรงก็สะกัดแบบหักดิบ
ต้องสะกัดกั้นไม่ให้ โลภะ โทสะ โมหะ เล็ดลอดออกไปทางกาย ทางวาจา
ซึ่งมันก็มีเล็ดลอดได้นั่นล่ะ ในช่วงแรก แบบว่าโกรธนะ แต่ไม่เข้าไปชกนะ
แค่ทำตาขวางใส่ :b32:
แต่ใส่ความตั้งใจลงไปเรื่อย ๆ ตั้งมั่นในศีล มันจะค่อย ๆ สะกัดได้มากขึ้น
สำรวมได้มากขึ้น เฝ้าระวัง กาย วาจา ได้มากขึ้น
กายก็จะอยู่ในขั้นสำรวมอยู่ได้ วาจาก็จะอยู่ในขั้นสำรวมอยู่ได้
กาย-วาจา-ใจ ก็จะสงบได้ในขั้น สำรวมระวัง

สำรวมไว้ให้ได้ก่อน การพิจารณาเพื่อสลัดก็จะเป็นทางดำเนินต่อไป

คือ โกรธเขา หากเราลุแห่งความโกรธ ได้ไปลงมือกระทำร้ายเขาด้วยกาย
ก็เหมือนกับเราเอาเนื้อใส่ตะแกรง แล้วนำไปย่างบนเตาที่ถ่านกำลังร้อน ๆ ทิ้งไว้อย่างนั่นน่ะ

สำหรับคนที่ โลภะ โทสะ โมหะมันกัดกิน มันก็เหมือนเราเอาตัวเองขึ้นย่าง
ถ้าไม่สามารถยับยั้งตั้งสติได้ เราก็จะย่างลืมจนเกรียมจนหมกไหม้นั่นล่ะ
แต่ถ้าเราไม่พลังออกมาทางกาย แต่พลังออกมาทางวาจา
ก็จะคล้าย ๆ กับเราไปนั่งอยู่ข้าง ๆ กองไฟที่กำลังลุกร้อนแรง เราจะรู้สึกถึงความร้อนผ่าว ๆ
แต่ไฟนั้นจะไม่ถึงกับเผาเราให้สุก
การห้ามไฟตรงนี้ เป็นการห้ามด้วย ศีล 5 เพื่อระงับการกระทำทางกาย วาจา




1. การมีศีลในตนก็ถูกดีแล้วครับ โดยความหมายสั้น คือ ไม่ชอบความทุกข์ และ กลัววิบากกรรม
2. ศีล เราใช้เป็นเสาหลักสกัดกั้น การกระทำทางกายและวาจา ต่อให้มีโอกาสอะไรจะได้มาแต่ผิดศีล สำหรับคนที่มีศีลแล้ว ศีลนี้แหละเป็นตัวกั้นอกุศลในกายใจตน ถึงแม้มีโอกาสจะได้เสพย์ได้ครอบครองไม่ว่าสิ่งใดก็ตามเป็นรักก็ดี ที่ชังก็ดีแต่เป็นสิ่งอกุศล เราก็มี ทาน กับ ศีล นี้เป็นเสาหลักในการหยุดการกระทำอกุศลทั้งปวง

อ้างคำพูด:
.. กล่าวคือ ศีล เป็นเหมือนสมอเรือให้ใจเรา ไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เคลิ้มไหลไปตามอกุศลธรรมทั้งปวง ความตั้งใจมุ่งมั่น(เพียร)ในศีล ย่อมยังสติให้เกิดมีขึ้นอยู่ประจำ เพื่อละบาปอกุศล
.. เหมือนเราอยู่บนเรือ หากเรือนั้นมีโครงสร้างแข็งแรงทนทาน และใหญ่ทนต่อคลื่นลม หินโสโครก ใบพัดเรือใหญ่แข็งแรง มีกำลังขับเคลื่อนสูงฝ่าทนกระแสน้ำและแรงดึงดูดได้ไม่ยาก มุ่งไปเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆตามที่หางเสือเรือหันไปได้โดยง่าย มีสมอเรือและโซ่คล้องที่ทนทาน ต่อให้พายุเข้า น้ำทะเลขึ้นสูง น้ำวน ก็ไม่อาจจะทำร้ายเรือลำนี้ได้
อุปมา..เหมือน
ก. เรือ คือ ศีล มีโครงสร้างความแข็งแรงทนทาน คือ ศรัทธาอันประกอบด้วยศีล(หิริพละ โอตัปปะพละ ทานพละ ศีลพละ)
ข. ใบพัดเรือ คือ วิริยะพละ ความเพียรที่จะฝ่าเคลื่อนไป
ค. หางเสือเรือ คือ สติพละ เลือกทิศทางที่ควรเสพย์
ง. สมอเรือ คือ สมาธิพละ ความหนักแน่นของใจ
จ. เราที่อยู่ในเรือ คือ ปัญญาพละ ความรู้แจ้งเห็นจริง เลือกเฟ้นใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีอย่างเหมาะสม เพราะรู้เห็นหน้าที่และการทำงานของแต่ละอย่างตามจริง เพื่อไปถึงปลายทาง

**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**

อ้างคำพูด:
- เรื่องลิงน้อยของท่านเอกอนนี้สำคัญมาก ตัวนี้แหละเป็นเหตุปัจจัยหลัก สังเกตุไหมว่า เมื่อกล่าวถึงความมีศีลในตนด้วยพรหมวิหาร ๔ ในเบื้องต้นนี้ ผมจะแสดงถึงข้อดี ข้อเสียก่อน เพื่อให้ลิงน้อยของท่านเอกอนนั้นแหละกำหนดรู้

- ก็เมื่อลิงน้อยนั้นกำหนดรู้แล้ว เห็นว่า สิ่งนี้เป็นพิษ มีภัย มีโทษ เป็นทุกข์ ลิงน้อยมันก็จะกลัว เริ่มหน่าย เริ่มระอา คลายความยึดเสพย์สิ่งที่เบียดเบียนหลักๆ 3 อย่าง คือ
๑. ความมีใจต้องการหมายพราก อยากได้ของคนอื่น ทั้ง ชีวิต สิ่งของ ทรัพย์สิน ถิ่นอาศัยทำมาหากิน และบุคคล อันเป็นที่รัก ที่มีค่าของคนอื่น
๒. คำพูดที่ทำร้าย หยาบคาย เบียดเบียน ยังความฉิบหายไปสู่ผู้อื่น
๓. การกระทำใดที่ทำให้ใจตนไม่มีกำลัง ระลึกไม่ได้ แยกแยะ ห้าม ปิดกั้้นสิ่งชั่วไม่ได้
แล้วก็หันมาน้อมในสิ่งที่ทำให้กายใจตนมีกำลังไม่เร่าร้อน เป็นสุข

- เมื่อหน่าย เอือมระอา คลายแล้ว มันก็เริ่มไม่อยากจะจับทุกข์ มีเจตนาเป็นศีลมากขึ้น แต่เพราะทุกข์นั้นมันเกิดขึ้นมาไม่มีสิ้นสุด ลิงน้อยมันก็จะน้อมไปเพื่อสืบค้นหาต้นเงื่อนความทุกข์เพื่อจะตัดถอนให้ได้
แล้วจึงจะก้าวไปสู่สิ่งที่สูงขึ้นตามมา

**หมายเหตุ ผมใช้คำสั่ง TD ไม่ได้เพื่อทำตาราง จึงใช้ Quote แทน มันจึงขึ้นว่าอ้างอิงคำพูด**

** นี่เข้ากำหนดรู้ทุกข์แล้วนะครับ คิดตามผมโดยไม่รู้ตัวป่าวครับ อิอิ :b32: :b32: :b32: จะเริ่มเข้าอินทรีย์สังวร ไตรสิกขา ๓ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ แล้วครับ แต่ขอเบรกไว้ก่อน เพราะต้องเอา ศีลและพรหมวิหาร ๔ เข้ากรรมฐานได้ก่อน มันจึงจะเกิดผล ** :b32: :b32: :b32:

เห็นไหมครับ ทาน ศีล ภาวนา ง่ายๆ ทำง่ายๆ แต่ให้ผลได้แทงตลอด เรามัวแต่เพ้อฝันปรมัตถธรรมจนลืมไปว่าทุกๆอย่างมีเหตุสะสมมีทางให้เข้าถึง ผมเองก็ไม่ได้สูงส่งอะไร ยังไม่รู้ไม่ถึงอะไรเลยด้วยซ้ำ แต่ก็พยายามทำสะสมเหตุให้มาก เพื่อให้แจ้งชัดใน ทาน ศีล ภาวนา จึงสามารถรู้ได้ในแบบที่ปุถุชนอย่างผมพอจะมีปัญญาเข้าถึงได้เท่านั้น เพื่อจะเดินสภาวะไปให้เข้าถึงสิ่งที่สูงกว่านี้ให้ได้ (ไม่ได้สูงอะไรนะครับก็แค่ภาวนาให้เห็นจริงได้บ้างเท่านั้นเอง :b32: :b32: :b32: )
ถ้าเราเคยมีอยู่ระหว่าง ปุถุชน กับอริยะมรรค อริยะผล เราจะถึงธรรมเหล่านี้ได้ไม่ยากเลยครับ(สิ่งที่พระอริยะรู้ต้องยิ่งกว่ามาก) สมดั่งคำพระพุทธศาสดาตรัสสอนไว้ว่า กุลบุตรผู้ฉลาดย่อมเจริญปฏิบัติตามกิจซึ่งพระอริยะบรรลุบทอันกระทำแล้ว

อันนี้ทั้งหมดยังเป็นเพียง สาสวะ เป็นบุญบารมีแก่ขันธ์นะครับ

แต่อย่าเชื่อผมมากนะครับ ผมของปลอมเยอะครับ โม้ไปเรื่อย ท่านต้องเห็นเองตามจริงอย่าพูดเข้าคลองผมนะ อิอิอิ หรือหลงมาคลองผมแระ :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 30 ธ.ค. 2018, 17:56, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 17:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ง่ะ ... :b10: :b10: :b10:

แล้วลิงน้อยไปลอกข้อสอบเขามาตอนไหนละหว๋านี่

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 18:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ง่ะ ... :b10: :b10: :b10:

แล้วลิงน้อยไปลอกข้อสอบเขามาตอนไหนละหว๋านี่

:b32: :b32: :b32:


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:

แต่อย่าเชื่อผมมากนะครับ ผมของปลอมเยอะครับ โม้ไปเรื่อย ท่านต้องเห็นเองตามจริงอย่าพูดเข้าคลองผมนะ อิอิอิ หรือหลงมาคลองผมแระ :b32: :b32: :b32: :b32: :b32: :b32:



ไม่ได้ว่าลิงน้อยท่านเอกอนลอกข้อสอบน๊าาาาาาาาาาาา ตีความผิดมั้งครับ อิอิ

ผมแค่บอกว่าลิงน้อยท่านเอกอนถูกผมหลอกเข้าคลองผมแล้วรึเปล่า :b32: :b32: :b32:
พูดดเข้าคลองผม คือ พูดเข้าทางผมไง
ถูกหลอกให้หลงมาคลองผมก็คือ ถูกผมให้หลอกมาเริ่มรับรู้วิถีทาง วิธีตรึก วิธีตรอง วิธีโยนิโส วิธีมนสิการ วิธีน้อมใจไปในการเจริญธรรมต่างๆในแบบที่เป็นผม ที่ผมทำน่ะครับ(เพราะผมของปลอมเยอะ)
พูดง่ายๆ คือ อย่าหลงเชื่อผมนะ ให้ใช้วิจารณาญาณเอา อย่างหลงตามผมนั่นเอง แล้วก็แซวเล่นว่า หรือหลงมาคลองผมแล้วโดยไม่รู้ตัว


อ้างคำพูด:
1. การมีศีลในตนก็ถูกดีแล้วครับ โดยความหมายสั้น คือ ไม่ชอบความทุกข์ และ กลัววิบากกรรม
2. ศีล เราใช้เป็นเสาหลักสกัดกั้น การกระทำทางกายและวาจา ต่อให้มีโอกาสอะไรจะได้มาแต่ผิดศีล สำหรับคนที่มีศีลแล้ว ศีลนี้แหละเป็นตัวกั้นอกุศลในกายใจตน ถึงแม้มีโอกาสจะได้เสพย์ได้ครอบครองไม่ว่าสิ่งใดก็ตามเป็นรักก็ดี ที่ชังก็ดีแต่เป็นสิ่งอกุศล เราก็มี ทาน กับ ศีล นี้เป็นเสาหลักในการหยุดการกระทำอกุศลทั้งปวง

ตัวนี้ก็หมายถึงท่านเอกอนก็พูดถูกแล้วไงครับ ไปดูกระทู้ด้านบนจิครับอ่านต่อกัน ครับ ไม่งั้นมันยาวไป เพราะอ้างตำพูดนี้แหละ 555

อ้างคำพูด:
- เรื่องลิงน้อยของท่านเอกอนนี้สำคัญมาก ตัวนี้แหละเป็นเหตุปัจจัยหลัก สังเกตุไหมว่า เมื่อกล่าวถึงความมีศีลในตนด้วยพรหมวิหาร ๔ ในเบื้องต้นนี้ ผมจะแสดงถึงข้อดี ข้อเสียก่อน เพื่อให้ลิงน้อยของท่านเอกอนนั้นแหละกำหนดรู้

- ก็เมื่อลิงน้อยนั้นกำหนดรู้แล้ว เห็นว่า สิ่งนี้เป็นพิษ มีภัย มีโทษ เป็นทุกข์ ลิงน้อยมันก็จะกลัว เริ่มหน่าย เริ่มระอา คลายความยึดเสพย์สิ่งที่เบียดเบียนหลักๆ 3 อย่าง คือ
๑. ความมีใจต้องการหมายพราก อยากได้ของคนอื่น ทั้ง ชีวิต สิ่งของ ทรัพย์สิน ถิ่นอาศัยทำมาหากิน และบุคคล อันเป็นที่รัก ที่มีค่าของคนอื่น
๒. คำพูดที่ทำร้าย หยาบคาย เบียดเบียน ยังความฉิบหายไปสู่ผู้อื่น
๓. การกระทำใดที่ทำให้ใจตนไม่มีกำลัง ระลึกไม่ได้ แยกแยะ ห้าม ปิดกั้้นสิ่งชั่วไม่ได้
แล้วก็หันมาน้อมในสิ่งที่ทำให้กายใจตนมีกำลังไม่เร่าร้อน เป็นสุข

- เมื่อหน่าย เอือมระอา คลายแล้ว มันก็เริ่มไม่อยากจะจับทุกข์ มีเจตนาเป็นศีลมากขึ้น แต่เพราะทุกข์นั้นมันเกิดขึ้นมาไม่มีสิ้นสุด ลิงน้อยมันก็จะน้อมไปเพื่อสืบค้นหาต้นเงื่อนความทุกข์เพื่อจะตัดถอนให้ได้
แล้วจึงจะก้าวไปสู่สิ่งที่สูงขึ้นตามมา

อันนี้ก็ยกว่าจิตเรานี้สำคัญ โดยใช้คำน่ารักๆตามว่า ลิงน้อยท่านเอกอน เพราะท่านเอกอนกล่าวถึง ลิงน้อย แทน จิต โดยการอุปมาก็ดีกำหนดนิมิตเป็นอย่างนั้ันก็ดี พร้อมทั้งพูดถึงการรู้ที่ว่าลิงน้อยมันโลดโผนก็ดี หรืออาการอื่นๆก็ดีอยู่ ก็เลยยกลิงน้อยท่านมาคุยด้วยคิดว่าท่านเอกอนจะมองภาพออกน่ะครับ :b12: :b12: :b12:



เดี๋ยวจะทำให้เข้าใจกันผิดเอาครับ Kiss Kiss Kiss

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 19:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็แหม ก็สำนวน ... :b32:

เข้าคลอง เข้าทาง ... :b32:

:b4: :b4: :b4:

ก็นั่งมองสิ่ ลิง จริง ๆ มั๊ยล่ะ
ปล่อยกิ่งนั้น แล้วโหนไปจับกิ่งนี้
:b32: ลิงจั๊กจั๊ก :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 19:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ

๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ

[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...

“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑- พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น

ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้

@เชิงอรรถ :
@๑ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้เว้นจากการศึกษาเล่าเรียน การสอบถาม การวินิจฉัยในขันธ์
@ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐานเป็นต้น (สํ.นิ.อ. ๒/๖๑/๑๑๑)



ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
กิ่งอื่นต่อไป
ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน


ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัสสุตวาสูตรที่ ๑ จบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b4: :b4: :b4:

และก็จะเหมือน จิตตนคร จริง ๆ ด้วย

เอามาวางไว้ก่อน ผักกาด จะได้รู้แกว

:b4: :b4: :b4:

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

นครสูตร
[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชา ป้องกัน
ไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และหาอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอก
ทำอันตรายปัจจันตนครของพระราชานั้นไม่ได้ เครื่องป้องกัน ๗ ประการเป็นไฉน
คือในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก ไม่หวั่นไหว นี้เป็น
เครื่องป้องกันนครประการที่ ๑ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีคูขุดลึกและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการ
ที่ ๒ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้างนี้เป็นเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ ๓ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและ
อาวุธคม นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๔ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้อง
กันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พล
ธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองสัมภาระ กองเสนาธิการ กองตะลุม
บอนเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กองทหารหาญ กองทหารโลหะ กองเกราะ
หนัง กองทหารทาส นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า
อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ สำหรับคุ้มภัย
ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี
นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ปัจจันตนครมีการป้องกันดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้แล ฯ
ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ไม่ลำบาก เป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมหญ้า ไม้ และ
น้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และ
ป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าวเหนียวไว้
มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และ
ป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้
มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้อง
กันอันตรายภายนอก ฯ
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน
ภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
ปัจจันตนคร หาอาหาร ๔ ประการได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ไม่ลำบาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาป้องกันไว้ดี
ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้ และอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำ
อันตรายได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด อริยสาวกประกอบ
พร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้
โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ในกาลนั้น เรากล่าวว่ามารผู้มีบาปทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้ สัทธรรม ๗
ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา
เครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มี
เสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก ไม่หวั่นไหว สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีศรัทธาเปรียบเหมือนเสา
ระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๑ ฯลฯ
อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอาย
ต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระ
ราชา มีคู (สนามเพลาะ) ทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเปรียบเหมือนคู ย่อม
ละอกุศล ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๒ ฯ
อริยสาวกมีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร
ของพระราชา มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะ
เปรียบเหมือนทางเดินตามคู ย่อมละอกุศลธรรม ... ย่อมบริหารตนให้บริสุทธิ์นี้เป็น
สัทธรรมประการที่ ๓ ฯ
อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก ทรง
จำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของ
พระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม
สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์
นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๔ ฯ
อริยสาวกปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมถึงพร้อม
มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร
ของพระราชา ตั้งกองทัพไว้มาก คือพลม้า ฯลฯ กองทหารทาส สำหรับคุ้มภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียร
เปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรม
ประการที่ ๕ ฯ
อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อม
ตามระลึกถึงกรรมที่ได้ทำและคำที่ได้พูดแล้วแม้นานได้ เปรียบเหมือนใน
ปัจจันตนครของพระราชา มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า
อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติเปรียบเหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศลธรรม
... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๖ ฯ
อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิด
และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบ
เหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงทั้งกว้างพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐ
ถือปูนดี เพื่อคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้มีปัญญาเปรียบเหมือนกำแพงอันพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี ย่อม
ละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๗ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ ฯ
อริยสาวกเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน อริยสาวก
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน
และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม
หญ้า ไม้และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน
ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่
เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และ
ข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจภายใน ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน
ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็น
สุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของ
พระราชา มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความ
อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตราย
ภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพื่อความ
อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตนและเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่ง
ชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ
อริยสาวกเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ และมีปรกติ
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้นแล มารผู้มีบาปก็ทำอันตรายอริยสาวก
ไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 22:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งเคยอ่านทั้ง 2 พระสูตร ผมขอทำความเข้าใจก่อนสักแปป

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 23:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2018, 23:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b13: :b13: :b13:


อย่ามาทำเป็นหัวเราะฟันหล๋อนะ
ไม่ยอมเอาขนมมาร่วมงาน เดี๋ยวแม่จับหักอีกซี่

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2018, 00:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b13: :b13: :b13:


อย่ามาทำเป็นหัวเราะฟันหล๋อนะ
ไม่ยอมเอาขนมมาร่วมงาน เดี๋ยวแม่จับหักอีกซี่

:b32: :b32: :b32:


ม่ายรู้เป็นไร...ช่วงนี้..มันตื้อๆ...

แต่เห็นลิงของเอกอน....ก็นึกถึงบางอย่างของตัวเอง....

จอมมาร....

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2018, 09:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยาวมากอะ 5555 ยังอ่านไม่หมด แต่ดูคร่าวๆแล้ว เหมือนกันเลยครับท่านเอกอน

ของผมก็เหมือนก็ได้นะ จะได้เป็นของจริงตรงตามพระพุทธเจ้าตรัสสอน :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2018, 09:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b17: :b17:

รออ่านนนนนน

:b16: :b16: :b16:

และ หาทางลากจอมมารมารเฒ่าอึ้งอ๊บซ์อ๊บซ์มาวาดลวดลายด้วยนะ ^^

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2018, 10:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต มโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ๕

รูปภาพ

อันไหนเป็นจิต อันไหนเป็นมโน อันไหนเป็นวิญญาณ อันไหนเป็นวิญญาณขันธ์ ครับ
แล้วอันไหนคือ มนะ หรือ มโนก็เรียก
:b16: :b16: :b16:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 31 ธ.ค. 2018, 10:10, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร