วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 01:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 00:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ (เช่น ม.ม.13/489/534 ฯลฯ) เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอน ว่า ด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียว สะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว
ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ
ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี
วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269ฯลฯ)


ความคิดเห็น . ความสะดุ้งที่เป็นอาการของขันธ์ หรือ หรือสัญชาตญาณของมนุษย์ซึ่งทำงานเป็นอัตโนมัติหน้าจะยังมีนะครับ เช่นถูกแมลงสัตว์กัดต่อยท่านรู้สึกเจ็บปวดท่านก็สะดุ้ง แล้วสติก็เกิดความเจ็บจะตั้งอยู่
บ้าง ดับไปบ้างท่านก็มีสัมปชัญญะ สติอุเบกขาอยู่ ไม่แน่ใจนะอยากรู้เหมือนกันว่าพระอรหันต์ยังสะดุ้งมั้ย
ใครทราบก็ช่วยบอก

เอ่? s006

แนะนำ ปฎิจจสมุบาทนะค๊ะ
พระพุทธองค์แสดงไว้ชัดแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 01:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
Love J. เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ (เช่น ม.ม.13/489/534 ฯลฯ) เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอน ว่า ด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียว สะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว
ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ
ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี
วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269ฯลฯ)


ความคิดเห็น . ความสะดุ้งที่เป็นอาการของขันธ์ หรือ หรือสัญชาตญาณของมนุษย์ซึ่งทำงานเป็นอัตโนมัติหน้าจะยังมีนะครับ เช่นถูกแมลงสัตว์กัดต่อยท่านรู้สึกเจ็บปวดท่านก็สะดุ้ง แล้วสติก็เกิดความเจ็บจะตั้งอยู่
บ้าง ดับไปบ้างท่านก็มีสัมปชัญญะ สติอุเบกขาอยู่ ไม่แน่ใจนะอยากรู้เหมือนกันว่าพระอรหันต์ยังสะดุ้งมั้ย
ใครทราบก็ช่วยบอก

เอ่? s006

แนะนำ ปฎิจจสมุบาทนะค๊ะ
พระพุทธองค์แสดงไว้ชัดแล้ว


เพราะความดับของอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงดับ ฯ
เพระความดับของผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงดับ !
อย่างนี้หรอครับ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
Love J. เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ (เช่น ม.ม.13/489/534 ฯลฯ) เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอน ว่า ด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียว สะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว
ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ
ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี
วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269ฯลฯ)


ความคิดเห็น . ความสะดุ้งที่เป็นอาการของขันธ์ หรือ หรือสัญชาตญาณของมนุษย์ซึ่งทำงานเป็นอัตโนมัติหน้าจะยังมีนะครับ เช่นถูกแมลงสัตว์กัดต่อยท่านรู้สึกเจ็บปวดท่านก็สะดุ้ง แล้วสติก็เกิดความเจ็บจะตั้งอยู่
บ้าง ดับไปบ้างท่านก็มีสัมปชัญญะ สติอุเบกขาอยู่ ไม่แน่ใจนะอยากรู้เหมือนกันว่าพระอรหันต์ยังสะดุ้งมั้ย
ใครทราบก็ช่วยบอก

เอ่? s006

แนะนำ ปฎิจจสมุบาทนะค๊ะ
พระพุทธองค์แสดงไว้ชัดแล้ว


เพราะความดับของอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงดับ ฯ
เพระความดับของผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงดับ !
อย่างนี้หรอครับ ?



อาสวสมุทยา อวิชชา สมุทโย อาสวะเกิดขึ้น อวิชชาจึงเกิดขึ้น
และอาสวะ ทำให้เกิด อวิชชา
และอวิชชาจึงเป็นปัจจัย ให้เกิดสังขารคือความปรุงแต่ง

อาสวะ คือ กิเลสที่ไหลออกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ

1. กามาสวะ อาสวะ คือ กามคุณ 5
2. ภวาสวะ อาสวะ คือ ภวตัณหา
3. ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ความเห็นผิด
4. อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา

จิตพระอรหันต์จึงไม่ สะดุ้ง
มีแต่ ขันธ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ทำหน้าที่ปกติ ในรับรุ้อารมณ์ ในสันตติขณะเท่านั้น

ไม่มี ใคร ในกาย ร่างกายจะสะดุ้งหรือไม่
ไม่เป็นปัญหาใดๆ เพราะมีแต่ความเป็นธาตุ เป็นอนัตตา

น่าจะเป็นอย่างนี้แหละค่ะ

เดี่ยว เม เป็นแล้วจะบอกให้ชัดๆอีกที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 03:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
Love J. เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ (เช่น ม.ม.13/489/534 ฯลฯ) เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอน ว่า ด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียว สะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว
ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ
ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี
วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269ฯลฯ)


ความคิดเห็น . ความสะดุ้งที่เป็นอาการของขันธ์ หรือ หรือสัญชาตญาณของมนุษย์ซึ่งทำงานเป็นอัตโนมัติหน้าจะยังมีนะครับ เช่นถูกแมลงสัตว์กัดต่อยท่านรู้สึกเจ็บปวดท่านก็สะดุ้ง แล้วสติก็เกิดความเจ็บจะตั้งอยู่
บ้าง ดับไปบ้างท่านก็มีสัมปชัญญะ สติอุเบกขาอยู่ ไม่แน่ใจนะอยากรู้เหมือนกันว่าพระอรหันต์ยังสะดุ้งมั้ย
ใครทราบก็ช่วยบอก

เอ่? s006

แนะนำ ปฎิจจสมุบาทนะค๊ะ
พระพุทธองค์แสดงไว้ชัดแล้ว


เพราะความดับของอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงดับ ฯ
เพระความดับของผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงดับ !
อย่างนี้หรอครับ ?



อาสวสมุทยา อวิชชา สมุทโย อาสวะเกิดขึ้น อวิชชาจึงเกิดขึ้น
และอาสวะ ทำให้เกิด อวิชชา
และอวิชชาจึงเป็นปัจจัย ให้เกิดสังขารคือความปรุงแต่ง

อาสวะ คือ กิเลสที่ไหลออกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ

1. กามาสวะ อาสวะ คือ กามคุณ 5
2. ภวาสวะ อาสวะ คือ ภวตัณหา
3. ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ความเห็นผิด
4. อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา

จิตพระอรหันต์จึงไม่ สะดุ้ง
มีแต่ ขันธ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ทำหน้าที่ปกติ ในรับรุ้อารมณ์ ในสันตติขณะเท่านั้น

ไม่มี ใคร ในกาย ร่างกายจะสะดุ้งหรือไม่
ไม่เป็นปัญหาใดๆ เพราะมีแต่ความเป็นธาตุ เป็นอนัตตา

น่าจะเป็นอย่างนี้แหละค่ะ

เดี่ยว เม เป็นแล้วจะบอกให้ชัดๆอีกที


ถูกของเลิฟ...

อาการสะดุ้งเล็กน้อย...เป็นอาการของขันธ์..เป็นปฏิกิริยารีเฟล็คชั่น..ใช้วัดความเป็นอรหันต์หรือไม่เป็นพระอรหันต์..ไม่ได้

แต่สะดุ้งกลัวช้าง..ไม่เลิกไม่หยุดไม่หย่อน....นี้..มันเลยปฏิกิริยารีเฟล็คชั่นของขันธ์ไปแล้ว...สะดุ้งกลัวแบบนี้ไม่เป็นแน่แน่..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 03:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
โลกสวย เขียน:
Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
Love J. เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ (เช่น ม.ม.13/489/534 ฯลฯ) เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอน ว่า ด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียว สะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว
ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ
ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี
วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269ฯลฯ)


ความคิดเห็น . ความสะดุ้งที่เป็นอาการของขันธ์ หรือ หรือสัญชาตญาณของมนุษย์ซึ่งทำงานเป็นอัตโนมัติหน้าจะยังมีนะครับ เช่นถูกแมลงสัตว์กัดต่อยท่านรู้สึกเจ็บปวดท่านก็สะดุ้ง แล้วสติก็เกิดความเจ็บจะตั้งอยู่
บ้าง ดับไปบ้างท่านก็มีสัมปชัญญะ สติอุเบกขาอยู่ ไม่แน่ใจนะอยากรู้เหมือนกันว่าพระอรหันต์ยังสะดุ้งมั้ย
ใครทราบก็ช่วยบอก

เอ่? s006

แนะนำ ปฎิจจสมุบาทนะค๊ะ
พระพุทธองค์แสดงไว้ชัดแล้ว


เพราะความดับของอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงดับ ฯ
เพระความดับของผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงดับ !
อย่างนี้หรอครับ ?



อาสวสมุทยา อวิชชา สมุทโย อาสวะเกิดขึ้น อวิชชาจึงเกิดขึ้น
และอาสวะ ทำให้เกิด อวิชชา
และอวิชชาจึงเป็นปัจจัย ให้เกิดสังขารคือความปรุงแต่ง

อาสวะ คือ กิเลสที่ไหลออกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ

1. กามาสวะ อาสวะ คือ กามคุณ 5
2. ภวาสวะ อาสวะ คือ ภวตัณหา
3. ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ความเห็นผิด
4. อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา

จิตพระอรหันต์จึงไม่ สะดุ้ง
มีแต่ ขันธ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ทำหน้าที่ปกติ ในรับรุ้อารมณ์ ในสันตติขณะเท่านั้น

ไม่มี ใคร ในกาย ร่างกายจะสะดุ้งหรือไม่
ไม่เป็นปัญหาใดๆ เพราะมีแต่ความเป็นธาตุ เป็นอนัตตา

น่าจะเป็นอย่างนี้แหละค่ะ

เดี่ยว เม เป็นแล้วจะบอกให้ชัดๆอีกที


ถูกของเลิฟ...

อาการสะดุ้งเล็กน้อย...เป็นอาการของขันธ์..เป็นปฏิกิริยารีเฟล็คชั่น..ใช้วัดความเป็นอรหัตน์ไม่ได้

แต่สะดุ้งกลัวช้าง..ไม่เลิกไม่หยุดไม่หย่อน....นี้..มันเลยปฏิกิริยารีเฟล็คชั่นของขันธ์ไปแล้ว...


ยังไม่ถูกนักหรอกค่ะ พี่กบ
ฟันธงไปไม่ได้หรอกค่ะ
อันตราย เพราะยังอยุ่ในขั้นการใช้ความคิดของปุถุชน

ต้องเป็นพระอรหันต์ ในร่าง นั้นๆด้วย
จึงจะทราบเอง ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 04:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถูกต้องแล้ว...ที่ว่า..ยังไม่ถูกนักหรอก..
เพราะเป็นความคิดของปุถุชน..พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อพบข้อมูลใหม่

แต่ความคิดของปุถุชน.ที่คิดว่าตนนั้นถูกแน่แน่...นี้แหละ..ผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้อๆๆ ชอบของสูงกัน :b1: ดีๆ จะนำที่ค้างไว้ข้างต้นลงให้คิดฝันใฝ่กันต่อให้จบตอน :b32:

อันจริงตอนนี้ ต่อจาก ภาวิตปัญญา - มีปัญญาที่ได้พัฒนาแล้ว นี่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57261

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจะพูดถึงนิพพาน ดูความหมายสั้นๆนี่ก่อน

นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์. เป็นโลกุตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ ศัพท์ว่า นิพพาน นั่นเอง ปัจจุบันใช้เพียงว่า นิรวาณ กับ นิรวาณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อว่าต่อจาก ภาวิตปัญญา ที่มาเชื่อมกับหัวข้อ กท.นี้หน่อย

เท่าที่กล่าวมาเกี่ยวกับ ภาวะแห่งนิพพาน ก็ดี ภาวะแห่งผู้เข้าถึงนิพพาน ก็ดี เป็นการแสดงในระดับสูงสุด คือ พูดถึงตัวภาวะแท้จริงที่สมบูรณ์ และบุคคลผู้เข้าถึงภาวะนั้นอย่างเสร็จสิ้นบริบูรณ์

แต่ถ้าพูดผ่อนลงมา นิพพานนั้นยังอาจแยกประเภทได้ และบุคคลผู้ดำเนินในวิถีทางเพื่อเข้าถึงนิพพานก็ยังแบ่งได้เป็นหลายขั้นหลายระดับ
ดังจะเห็นได้ตามหลักฐาน ว่า คนจำนวนมากผู้เข้าถึงกระแสสู่นิพพาน หรือ ผู้เริ่มมองเห็นนิพพานแล้ว ยังอยู่ครองเรือน มีครอบครัว มีบุตรภรรยา และสามี ดำเนินชีวิตที่ดีงามอยู่ในสังคมของชาวโลก


อย่างไรก็ตาม การชี้แจงเกี่ยวกับประเภท และระดับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ หรือ ภาควิธีการซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า การยกมาพูดในตอนนี้จึงยากที่จะเข้าใจชัด จึงจะแสดงพอให้เห็นหลักทั่วไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าหัวข้อนี้ ที่ค้างไว้แต่ต้น


ประเภทและระดับของนิพพาน

ควรทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า ตามภาวะที่แท้จริง นิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่แยกประเภทออกไป ก็เพื่อแสดงอาการของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิพพาน บ้าง พูดถึงนิพพานโดยปริยาย คือความหมายบางแง่บางด้าน บ้าง


โดยพยัญชนะ หรือ ตามตัวอักษร นิพพาน มาจาก นิ อุปสรรค (แปลว่า ออกไป หมดไป ไม่มี เลิก) + วาน (แปลว่า พัด ไป หรือ เป็นไป บ้าง เครื่องร้อยรัด บ้าง)

ใช้เป็นกิริยาของไฟ หรือ การดับไฟ หรือของที่ร้อน เพราะไฟ แปลว่า ไฟดับ ดับไฟ

หรือ ดับร้อน หมายถึง หายร้อน เย็นลง หรือ เย็นสนิท (แต่ไม่ใช่ดับสูญ)

แสดงภาวะ ทางจิตใจ หมายถึง เย็นใจ สดชื่น ชุ่มชื่นใจ ดับความร้อนใจ หายร้อนรน ไม่มีความกระวนกระวาย

หรือ แปลว่า เป็นเครื่องดับกิเลส คือ ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ หมดสิ้นไป

ในคัมภีร์รุ่นรอง และอรรถกถาฎีกาส่วนมาก นิยมแปลว่า ไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด หรือ ออกไปแล้วจากตัณหาที่เป็นเครื่องร้อยติดไว้กับภพ * (ขุ.จู.30/381/184 ฯลฯ)

(จะตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออกไปบ้าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทของนิพพาน

การแบ่งประเภทนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือ ที่แบ่งเป็น นิพพานธาตุ ๒ * ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ ได้แก่

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื้อเหลือ

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื่อเหลือ

สิ่งที่เป็นเกณฑ์แบ่งประเภทในที่นี้คือ "อุปาทิ" ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่ สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง หรือ สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น หมายถึง เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕) (อิติ.อ.215 ฯลฯ) เมื่อถือความตามคำอธิบายนี้ จึงได้ความหมายว่า

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ยังเกี่ยวข้อง กับ เบญจขันธ์

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ไม่เกี่ยวข้อง กับ เบญจขันธ์

นิพพานอย่างแรก แปลความหมายกันต่อไปอีกว่า หมายถึง ดับกิเลส แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า กิเลสปรินิพพาน (ดับกิเลสสิ้นเชิง)

ส่วนนิพพานอย่างที่สอง ก็แปลกันต่อไปว่า ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิต ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า ขันธปรินิพพาน (ดับขันธ์ ๕ สิ้นเชิง) (ที.อ.2/216 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง* คคห.บน

* ขุ.อิติ. 25/222/258: คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ เรียกการแบ่งอย่างนี้ว่า เป็นการแบ่งตามปริยายแห่งเหตุ (การณปริยาย) แล้วแสดงวิธีแบ่งอีกอย่างหนึ่ง ตามประเภทแห่งอาการ เป็นนิพพาน ๓ คือ สุญญตนิพพาน อนิมิตตนิพพาน และอัปปณิตนิพพาน (สงฺคห.39)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าของเขา นิพพาน หมายถึง ดับกิเลส
ส่วนของคุณโรส,คุณปฤษฎี ว่า กิเลสมันมีอยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรมัน ปล่อยให้มันไหลออก ไหลไปๆ ตรงกันข้ามกับของเขา

ทีนี้ ท่านผู้ชมผู้อ่านก็มีทางเลือกอยู่สองทาง ว่าจะไปทางไหน

ถ้าต้องการไปแบบอย่างของคุณโรสก็ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้กิเลสมันไหลไปตามเรื่องตามราวของมันอยากไปไหนก็ไป
แต่ถ้าต้องการนิพพานแบบของพุทธธรรมก็ต้องปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสแล้วก็นิพพาน เรื่องมันก็มีอยู่แค่นี้

จะเอาแบบไหนไปทางใด ก็ เลือกเอาตามที่ใจปรารถนา

ภาพตัวอย่างประกอบความเข้าใจ

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความแจ่มชัด และให้ผู้ศึกษาพิจารณาด้วยตนเอง ขอคัดข้อความตามพระบาลีเรื่องนี้มาลงไว้ ดังนี้

"แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคองค์อรหันต์ได้ตรัสไว้ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ กล่าวคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"

"ภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน?

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์เครื่องผูกมัดไว้กับภพหมดสิ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ
อินทรีย์ ๕ ของเธอ ยังดำรงอยู่เทียว เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหาย
เธอย่อมได้เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจ และไม่พึงใจ ย่อมเสวยทั้งสุข และทุกข์
อันใดเป็นความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ของเธอ อันนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ"

"ภิกษุทั้งหลาย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว....หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ
อารมณ์ที่ได้เสวย (เวทยิต) ทั้งปวง ในอัตภาพนี้แหละของเธอ ซึ่งเธอไม่ติดใจพัวพันแล้ว (อนภินันทิต) จักเป็นของเย็น ข้อนี้ เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"

ต่อจากนี้ มีคาถาสำทับความอีกว่า

"นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ พระผู้ทรงจักษุ ผู้คงที่ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ได้ทรงประกาศไว้แล้ว คือ นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง เป็นทิฏฐธัมมิกะ ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่ง เป็นสัมปรายิกะ เป็นที่ภพทั้งหลายดับไปหมดสิ้น ชื่อว่า อนุปาทิเสส" (ขุ.อิติ.25/222/258)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron