วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2019, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนธรรมทั้งฝ่ายก่อเกิดทุกข์ และฝ่ายดับทุกข์ อย่างที่เขียนไว้นี้ เป็นวงจรแบบเต็มรูป หรือ วงจรยาว คือมีองค์ธรรมที่เป็นปัจจัยครบทั้ง ๑๒ หัวข้อ และทำหน้าที่สัมพันธ์สืบทอดต่อเนื่องเรียงกันไป ตามลำดับจนครบทุกหัวข้อ

แต่ความจริง การแสดงปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร หรือ กระบวนธรรมก่อเกิดทุกข์ ไม่จำเป็นต้องแสดงตลอดสายครบทุกหัวข้อตามลำดับอย่างนี้เสมอไป ในบาลีปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงยักเยื้องเป็นแบบอื่นก็มี สุดแต่ว่าจุดของปัญหาจะตั้งต้นที่ไหน หรือ ทรงมุ่งย้ำเน้นข้อใดแง่ใด *

อย่างไรก็ตาม กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าจะทรงแสดงกระบวนธรรมฝ่ายก่อเกิดทุกข์เป็นแบบใดก็ตาม ในฝ่ายดับทุกข์ กระบวนธรรมมีหลักทั่วไปแบบเดียวกัน คือ ตั้งต้น แต่ดับอวิชชา (ความไม่รู้) ไปตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2019, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * คคห.บน

* ตามที่ศึกษาสืบกันมา สรุปการแสดงปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร เป็น ๔ แบบ คือ

๑) ชักต้นไปหาปลาย (แบบธรรมดา) อวิชชา > สังขาร > วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (สํ.นิ.16/2-3/1-2)

๒) ชักปลายมาหาต้น ชรามรณะ (ทุกข์) < ชาติ < ภพ < อุปาทาน < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตนะ < นามรูป < วิญญาณ < สังขาร < อวิชชา (ม.มู.12/447/480)

๓) ชักจากกลางย้อนมาหาต้น อาหาร ๔ < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตนะ < นามรูป < วิญญาณ < สังขาร < อวิชชา (สํ.นิ.16/28/14)

๔) ชักจากกลางไปหาปลาย (สฬายตนะ > ผัสสะ >) เวทนา > (ตัณหา) อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส (ม.มู.12/453/488)

สำหรับแบบแรก เวลาแสดงฝ่ายนิโรธวาร จะแสดงแบบบวงจรยาวเต็มรูป ถึงอวิชชา แต่สำหรับแบบที่ ๔ แสดงนิโรธวาร แบบวงจรสั้น เหมือนที่กล่าวในเนื้อเรื่อง ข้อ ข. ที่จะกล่าวต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2019, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. วงจรสั้น

ในทางปฏิบัติ บางครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงกระบวนธรรมตามสภาพความเป็นไปในชีวิตประจำวัน ชนิดที่จะมองเห็น และเข้าใจกันได้ง่ายๆ
ในกรณีเช่นนี้ กระบวนธรรมฝ่ายก่อเกิดทุกข์ หรือ ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร จะเริ่มต้นที่การรับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ แล้วแล่นต่อไปทางข้างปลายตลอดสาย จนถึงชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ละช่วงต้นของกระบวนธรรมตั้งแต่อวิชชาเป็นต้นมา ไว้ในฐานให้เข้าใจว่ามีแฝงอยู่ด้วยพร้อมในตัว
ส่วนกระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ หรือ ปฏิจจสมุบาทนิโรธวาร ก็จะตั้งต้นที่ดับตัณหา เป็นต้น ไป คือ ตั้งต้นหลังจากรับรู้ และเกิดเวทนาแล้ว ไม่ย้อนไปพูดถึงการดับอวิชชา เป็นต้น ในช่วงแรกเลย
ดังจะเห็นได้จากบาลีที่ยกมาเป็นตัวอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนี้

แสดงสมุทยวารก่อน แห่งหนึ่งว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เด็กนั้นเติบโตขึ้น อินทิรีย์แก่กล้า เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาปรนเปรอด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่มีลักษณะน่ารัก เย้ายวน ชวนกำหนัด ชวนรักใคร่

เด็กนั้น เห็นรูปด้วยตา....ฟังเสียงด้วยหู...รู้กลิ่นด้วยจมูก....ลิ้มรสด้วย ลิ้น....ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมติดใจในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะน่ารัก
ย่อมขัดใจในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะไม่น่ารัก

เด็กนั้น อยู่โดยปราศจากสติกำกับตัว และมีจิตด้อย (จิตใจไม่เจริญเติบโต) ไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ (ภาวะเป็นอิสระปลอดพ้นของจิตใจ) ปัญญาวิมุตติ (ภาวะเป็นอิสระปลอดพ้นด้วยปัญญา) อันเป็นที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลายดับไปไม่เหลือ


"เด็กนั้น ประกอบความยินดียินร้ายเอาไว้อย่างนี้ ได้เสวยเวทนาใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม
เขาย่อมตั้งหน้าเพลิน พร่ำบ่นพร่ำชม สยบอยู่กับเวทนานั้น
เมื่อเขาตั้งหน้าเพลิน พร่ำบ่นพร่ำชม สยบอยู่กับเวทนานั้น
นันทิ (ความติดใคร่เหิมใจ) ย่อมเกิดขึ้น
นันทิ ในเวทนานั้น ก็คืออุปาทาน เพราะอุปาทานของเขาเป็นปัจจัย ก็มีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย ก็มีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เกิดขึ้นพร้อม
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้" (ม.มู.12/453/488)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกแห่งหนึ่งว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์เป็นไฉน ? อาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ภิกษุทั้งหลาย นี่แลคือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์" (สํ.นิ.16/162/86 ฯลฯ)
(ทางด้านโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็อย่างเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความในบาลีทั้งสองแห่งนี้ จับเฉพาะองค์ธรรมหลัก เขียนเป็นกระบวนธรรมให้ดูง่าย ดังนี้

แบบแรก (สฬายตนะ > ผัสสะ>) เวทนา > นันทิ > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ทุกขสมุทัย

แบบที่สอง (สฬายตนะ>) ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา = ทุกขสมุทัย

ทั้งสองแบบนี้ โดยหลักการ หรือ สาระสำคัญ ก็อย่างเดียวกัน คือ เริ่มที่การรับรู้ทางอายตนะ
แต่แบบแรก แสดงกระบวนธรรมต่อไปจนตลอดสาย
แบบที่สอง แสดงถึงตัณหา ต่อจากนั้นคงเป็นอันให้รู้กันโดยนัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงนิโรธวารต่อไป แห่งแรกว่า (ต่อมา เด็กนั้นได้ออกบวชศึกษาปฏิบัติธรรม ประกอบด้วยศีล อินทรียสังวร และเจริญฌานแล้ว)

"เธอเห็นรูปด้วยตา ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ติดพันในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษะน่ารัก ไม่ขัดเคืองในรูป ในเสียง ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษะไม่น่ารัก

เธออยู่อย่างมีสติกำกับตัว มีจิตใจที่เจริญเติบใหญ่กว้างขวางไม่มีประมาณ และรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลายดับไปไม่เหลือ
เธอผู้ละความยินดียินร้ายได้อย่างนี้แล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม
เธอย่อมไม่ตั้งหน้าเพลิน ไม่พร่ำบ่นพร่ำชม ไม่สยบกับเวทนานั้น
เมื่อเธอไม่ตั้งหน้าเพลิน ไม่พร่ำบ่นพร่ำชม ไม่สยบกับเวทนานั้น
นันทิใดๆ ในเวทนาทั้งหลาย ย่อมดับ
เพราะความดับแห่งนันทิของเธอ อุปาทานก็ดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้" (ม.มู.12/458/494)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แห่งที่สองว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน? เพราะอาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหานั้นแหละจางดับไปไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี่แลคือความดับแห่งทุกข์" (สํ.นิ.16/163/87 ฯลฯ)

(ทางด้านโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็อย่างเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บาลีทั้งสองแห่งนี้ เขียนเป็นกระบวนธรรมให้ดูง่าย ดังนี้

แบบแรก (สฬายตนะ > ผัสสะ>) เวทนา > นันทิดับ > อุปาทานดับ > ภพดับ > ชาติดับ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกขนิโรธ

แบบที่สอง (สฬายตนะ >) ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา: (แต่) ตัณหาดับ > อุปาทานดับ > ภพดับ > ชาติดับ > ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกขนิโรธ

ตามที่เขียนแสดงนี้ แบบแรกแสดงใหม่ตลอดสาย ให้ตรงข้ามกับฝ่ายสมุทยวารที่ได้แสดงไปแล้วนั้น
ส่วนแบบที่สอง แสดงต่อจากฝ่ายสมุทยวารนั้นไปเลย เพราะสมุทัยวารแสดงไว้เพียงแค่ตัณหา พอถึงตัณหาก็หักกลับตรงข้ามให้เป็นฝ่ายดับไปจนตลอดสาย

แต่รวมความแล้ว ทั้งสองแบบนี้ไม่ต่างกันเลย หลักการใหญ่ และสาระสำคัญคงเป็นอย่างเดียวกันคือ แสดงกระบวนธรรมฝ่ายดับ
หลังจากมีการรับรู้ และเสวยเวทนาแล้ว โดยตัดตอนให้หยุดเพียงนั้น ไม่ให้นันทิ หรือ ตัณหาเกิดขึ้นได้ วงจรก็ขาด ทุกข์ก็ไม่เกิด

(หลักก็มีเพียงสองอย่าง คือ ทุกข์เกิด กับ ทุกข์ดับ = ไปเชื่อมกับตอนต้นมีสองคือ อวิชชา ความไม่รู้ กับ วิชชา ความรู้ เมื่อไม่รู้ก็เกิดทุกข์ พอมีความรู้ทุกข์ก็ดับ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสังเกตว่า คำว่า นันทิ ในแบบที่ ๑ พูดอย่างคร่าวๆ ก็ตรงกับตัณหาในแบบที่สองนั่นเอง เป็นแต่ใช้ยักเยื้องไปเล็กน้อย ให้เหมาะกันกับข้อความแวดล้อมที่เป็นกรณีเฉพาะของแบบที่หนึ่งนั่นเท่านั้น

ข้อสังเกตสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ข้อความในบาลีของแบบที่ ๑ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า คำว่า นันทิดับ หมายความว่า นันทิที่ไม่เกิดขึ้น หรือ ไม่มีนันทินั่นเอง เมื่อนำความหมายนี้มาใช้แสดงการดับตัณหาในแบบที่สอง ก็จะได้สาระสำคัญว่า

"เมื่อรับรู้แล้ว เกิดเวทนา แล้วก็จะเกิดตัณหาตามกระบวนธรรมแบบก่อทุกข์
แต่คราวนี้ ตัดตอนเสียก่อน โดยปิดกั้นไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้น วงจรก็ขาด
องค์ธรรมข้อต่อๆไป เช่น อุปาทาน เป็นต้น ก็ไม่เกิด ทุกข์ก็ไม่เกิด ทุกขนิโรธก็สำเร็จ"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกระบวนธรรมแบบวงจรสั้น ทั้งฝ่ายก่อเกิดทุกข์ หรือ ฝ่ายสังสารวัฏฏ์ และฝ่ายดับทุกข์ หรือฝ่ายวิวัฏฏ์นี้
แม้จะไม่ได้กล่าวถึงอวิชชาไว้ แต่ก็พึงทราบ ว่า มีอวิชชาแฝงอยู่พร้อมในตัว ซึ่งเห็นได้ไม่ยาก กล่าวคือ ในฝ่ายก่อเกิดทุกข์
เมื่อเสวยเวทนาแล้ว ตัณหาเกิดขึ้น ก็เพราะไม่รู้เท่าทันสภาพความจริงของสิ่งที่ตนเสพเสวยนั้น ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเข้าไปยึดถือเอาเป็นของตนได้จริง ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมีคุณมีโทษอย่างไรๆ เป็นต้น และทำการรับรู้ด้วยอวิชชา ที่เรียกว่า อวิชชาสัมผัส* (ดู สํ.ข.17/94/58;174/117) เวทนาที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนในฝ่ายดับทุกข์ เมื่อเสวยเวทนาแล้ว ไม่เกิดตัณหา ก็เพราะมีความรู้เท่าทันสภาวะสังขารของสิ่งที่เสพเสวย คือ มีวิชชารองเป็นพื้นอยู่ จึงทำการรับรู้ชนิดที่ไม่ประกอบด้วยอวิชชา

เมื่อไม่มีอวิชชาสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่นำไปสู่ตัณหา ดังนั้น ที่ว่าตัณหาดับ จึงบ่งถึงอวิชชาดับอยู่แล้วในตัว
พูดอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการดับอวิชชาที่แสดงอย่างอ้อม โดยยกการดับตัณหาขึ้นชูเป็นตัวเด่น (เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าแสดงในคำจำกัดความอย่างสั้นของอริยสัจข้อที่ ๒ และ ๓ ว่า ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ และดับทุกข์ได้ด้วยการดับตัณหา) การที่ทรงแสดงแบบนี้ ก็เพื่อให้เห็นภาพในทางปฏิบัติง่ายขึ้น และเห็นทางที่จะนำเอาไปใช้ประโยชน์ชัดเจนยิ่งขึ้น

เท่าที่กล่าวมาถึงปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ทั้งแบบวงจรยาว และวงจรสั้น

สรุปว่า หลักการสำคัญของการดับทุกข์ คือ ตัดวงจรให้ขาด

วงจรนี้ปกติตัดได้ที่หัวเงื่อน หรือขั้ว ๒ แห่ง ได้แก่ ที่ขั้วใหญ่ คือ อวิชชา และที่ขั้วรอง คือตัณหา แต่ไม่ว่าจะตัดที่ขั้วใด ก็ต้องให้ขาดถึงอวิชชาด้วย

การตัดวงจรจึงมี ๒ อย่าง คือ ตัดโดยตรงที่อวิชชา และตัดโดยอ้อมที่ตัณหา

เมื่อวงจรขาด กระบวนธรรมสังสารวัฏฏ์สิ้นสุดลง เข้าสู่วิวัฏฏ์ ก็จะบรรลุภาวะแห่งความดับทุกข์ เป็นผู้มีชัยต่อปัญหาชีวิต เป็นอยู่อย่างไร้โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น มีความสุขที่แท้จริง เรียกว่า เข้าถึงวิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ หรือ นิพพาน อันเป็นประโยชน์สูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้ คุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมามีชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอนนี้ หน้า ๓๓๒

ต่อหัวข้อ :b41: ภาวะแห่งนิพพาน :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron