วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
สาธุครับอาจารย์และพี่ๆทั้งหลาย ยกตัวอย่างได้ดีแท้ๆ :b8:

ก็ยังอดสงกะสัยครับว่า
ถ้าไม่มีตัวตนจริงๆแล้ว...

ก็ย่อมจะบัญญัติสมมุติคำว่า “อัตตา (ตัวตน)” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์อันใดมิได้.

:b10: :b10:


สวัสดีค่ะคุณฌาน
อนัตตา เป็นเรื่องของไตรลักษณ์
อัตตา เป็นเรื่องของขันธ์ ๕ อัตตาเกิดขึ้นเพราะอุปทานที่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เมื่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ จึงมีสมมุติบัญญัติเกิดขึ้นเพื่อจะใช้สื่อสารกัน ยกตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นคน,สัตว์,สิ่งของ ล้วนแต่เป็นรูป แต่เพราะความยึดมั่นถือมั่นจึงมีสมมุติบัญญัติเกิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารให้ตรงกัน

คุณฌาน สิ่งที่คุณฌานถามมาด้วยความสงสัยนั้น ไม่ว่าจะเรื่องสักกายะทิฏฐิ หรือเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ทุกอย่างมันมีคำตอบ ไม่ว่าจะเรื่อง รูป นาม สมมุติบัญญัติ ถึงแม้คุณฌานจะไม่ได้ศึกษาปริยัติก็ตาม พระธรรมคำสอนนั้นมีอยู่จริง อยู่ในจิตของเรานี่เอง เราจะรู้จะเห็นตามความเป็นจริงนี้ได้ต้องปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้เห็นได้ ดังบทสวดมนต์ที่เราสวดกันประจำ

โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตัวเอง
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ได้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ. (กราบ)
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า
( กราบระลึกถึงพระธรรมคุณ )

พระธรรมนี้เป็นอกาลิโก
กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน วิบากกรรมอีก แต่สุดท้ายทุกคนจะถึงจุดหมายปลายทางเหมือนๆกัน จะช้าหรือเร็วก็อยู่ที่เหตุได้กระทำกันมา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
สาธุครับท่านพี่ๆและอาจารย์ทุกท่าน อ่านแล้วยัง งงงงงง :b10:
ยิ่งอาจารย์คามินธรรมมาจ้ำจี้ไป จำจี้มา...จั๊กจี้อะครับ เลยคิดอะไรไม่ออกเลยครับ :b22:

เอาประเด็นแรกก่อนนะครับ
ถ้าอนัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตน

ผู้ที่เริ่มศึกษาธรรมะใหม่ๆเช่นผม
มักพลอยเชื่อตามผู้ที่สอนว่าอนัตตาแปลว่าไม่มีตัวตน.....


ถ้าใครพูดเรื่องตัวตนขึ้นมา ก็ตั้งข้อหาว่าเป็นมิจฉาทิฐิให้ทันที
จึงท่องจำคำอนัตตา (ไม่มีตัวตน) ไว้จนขึ้นใจ....

พอพูดถึงเรื่องอะไรหรือแลเห็นอะไรสักหน่อย
ก็ชิงบอกด้วยอำนาจสัญญาที่ได้ท่องจำไว้ว่า “ไม่มีตัวตน” ทันที....

เช่น บอกว่า ไม่มีสัตว์-บุคคล-ตัวตน-เรา-เขา
มรรค ๘ นั้นก็สักแต่ว่าเป็นทางเดิน แต่ไม่มีผู้เดิน....

ส่วนนิพพานนั้นก็สักแต่ว่าเป็นนิพพาน แต่ผู้ถึงนิพพานไม่มี
จึงทำให้เข้าใจเลยออกไปได้ว่า....

มีแต่การตีกันหัวแตกเท่านั้น แต่ผู้ตีไม่มี ดังนี้เป็นต้น.....(ทำใจลำบากนะ ผู้ตีไม่มีเนี่ย เห็นหรัดๆ)
จำอย่างนี้ อธิบายอย่างนี้ สอนอย่างนี้ ถูกไหมครับ :b34:


คุณฌาน
ทุกอย่างล้วนเป็นอุบายในการสอน เพื่อให้เกิดความปล่อยวาง ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ให้น้อยลงไป อย่างน้อยขณะที่เกิดทุกข์ ก็ช่วยทำให้หยุดทุกข์นั้นๆไปชั่วขณะหนึ่ง
ในแง่ของการสอนหรืออุบายในการสอน ผู้สอนย่อมสอนตามแนวทางที่ตัวเองได้ปฏิบัติมาเพราะเห็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัตินั้นๆ
ฉะนั้น ไม่ว่าจะการปฏิบัติ หรือในแง่ของทฤษฎี ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด แต่เป็นเรื่องของการรู้ที่แตกต่างกันไป เหตุที่นำมากล่าวว่าอันนั้น อันนี้ถูกหรือผิด เป็นเพียงความคิดของแต่ละคน แม้แต่การตีความในพระไตรปิฏก รู้แค่ไหน ย่อมตีความได้แค่นั้น

อย่างเรื่องมรรค ๘ ที่คุณฌานกล่าวว่า มรรค ๘ ก็สักแต่ว่าเป็นทางเดิน แต่ไม่มีผู้เดิน คุณฌานต้องไปหาคำแปลของมรรค ๘ เพราะมรรค ๘ นั้น ก็คือ ศิล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง แต่บอกก่อนนะ ตำราแต่ละครูบาฯท่านอาจจะเขียนแตกต่างกันไปบ้าง แต่บทสรุปสุดท้ายก็คือ ศิล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง

เรื่อง รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เราท่องๆกันทุกวันนี้ เป็นเพียงอุบายเพื่อให้ฝึกสติในการพิจรณาเพื่อให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง เมื่อเห็นถึงความไม่เที่ยง ความยึดมั่นถือมั่นย่อมลดน้อยลงไป จนกว่าสติ สัมปชัญญะมากพอก็จะกลายเป็นสักแต่ว่าดู สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าฟัง ถ้าถามว่าแล้วยังมีเวทนาอยู่ไหม ยังมียึดอยู่ไหม ก็ยังมีอยู่ เพราะเป็นการน้อมเอา คิดเอา มีสติ สัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้นเข้าออกในจิตขณะนั้น ย่อมหยุดได้ ณ ขณะนั้นๆ พอเกิดการกระทบอีก ก็เกิดวงจรนี้อีก
วิธีที่จะเห็นรูป นาม ตามความเป็นจริงได้โดยไม่ต้องน้อมเอาคิดเอา ก็จะมีแต่ ภาวนามยปัญญาเท่านั้น และก็ไม่ใช่แค่เห็นการเกิดดับ เพราะมีสติ สัมปชัญญะมากพอ สุดท้ายก็ไปเสร็จเจ้าอุปกิเลส โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ แทนที่จะเจริญสติให้มากขึ้น กลับไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าตัวเองนั้นรู้แล้ว
ดูง่ายๆ ตราบใดที่ยังไม่ศัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยไม่มีข้อกังขา หรือมีการว่ากล่าวเปรียบเทียบเรื่องแนวทางการปฏิบัติว่าอันนั้นถูกอันนี้ผิด หรือ แบ่งแยกเรื่องครูบาอาจารย์ หรือ มีการว่ากล่าวติติงสมมุติสงฆ์ หรือคอยกดข่มผู้อื่นว่ารู้น้อยกว่าตน นี่ยังไม่ใช่นักภาวนาที่แท้จริง อันนี้ขอหยิบยืมคำพูดของหลวงพ่อพุธ ฐานนิโยท่านมา ท่านบอกว่า ถ้าหากว่านักสมาธิคนใดยังไปตำหนิโจมตีลัทธิของคนอื่นแสดงว่ายังภาวนาไม่เป็น

ของจริงน่ะมันลึกซึ้งกว่าสิ่งที่พูดๆกัน ปฏิบัติไปเถอะ ทำอย่างต่อเนื่อง สักวันจะสิ้นสงสัยเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 01 พ.ย. 2008, 19:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณครับอาจารย์ walaiporn :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆดังที่พระพุทธองค์ตรัสเมื่อครั้งตรัสรู้ใหม่จริงๆด้วย

ขออนุญาตถามคุณฌานเป็นต้นว่า ขันธ์ 5 หรือพูดชัดๆ ก็คือร่างกายกับจิตใจเป็นไตรลักษณ์ไหมครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ขันธ์ 5 หรือพูดชัดๆ ก็คือร่างกายกับจิตใจเป็นไตรลักษณ์ไหมครับ


สวัสดีครับอาจารย์กรัชกาย กัลยาณมิตรมาโปรดแล้ว สาธุ :b8:
ตอบว่า ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ครับอาจารย์ :b12:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตอบว่า ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ครับอาจารย์


ก็ในเมื่อร่างกายกับจิตใจของคน เป็นไตรลักษณ์อย่างนั้นแล้ว แล้วเมื่อว่าโดยสภาวะหรือโดยปรมัตถ์ อัตตาจะมีมาแต่ไหน ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


สรุปว่าขันธ์ 5 เป็นอนัตตา

ประเด็นคำถาม อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน หรือ ไม่มีตัวตน ครับนี่คือจุดประสงค์ที่ตั้งกระทู้ครับ

เพราะถ้าแปลว่า ไม่ใช่ตัวตน

แสดงว่าตัวตนที่แท้จริงมีอยู่แต่กลับไปยึดเอาขันธ์ 5 มาเป็นตัวตนด้วยความเข้าใจผิด

แต่ถ้าแปลว่าไม่มีตัวตน

แสดงว่าไม่มีสิ่งใดๆเลย ทำให้เข้าใจผิดว่าผู้กระทำไม่มี ผู้ถูกกระทำไม่มี

กระผมจึงอยากทราบว่าอนัตตาแปลว่าอะไรกันแน่ครับอาจารย์ :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณฌานเชื่อไหมครับว่า ธรรมะทางพระพุทธศาสนามิใช่เรื่องง่ายๆ
ไหนยังจะศัพท์แสงทางภาษาบาลีซึ่งเราไม่มีพื้นฐานเลย เรามักแปลความหมายของศัพท์เข้ากับภาษาไทย
หรือตามความรู้สึกเรา และที่สำคัญคือความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามขันธ์ 5 ทำให้มองคำสอนเขวไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สรุปว่าขันธ์ 5 เป็นอนัตตา


สรุปไม่หมดประเด็น ควรสรุปว่า ขันธ์ 5 หรือกายกับใจเนี้ย เป็นไตรลักษณ์ คือ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่อัตตา (พูดตามสภาวะหรือ ตามธรรมชาติ)

อ้างคำพูด:
กระผมจึงอยากทราบว่าอนัตตาแปลว่าอะไรกันแน่ครับอาจารย์


กรัชกายแปล ไว้ข้างต้นแล้ว

อ้างคำพูด:
ถ้าแปลว่า ไม่ใช่ตัวตน
แสดงว่าตัวตนที่แท้จริงมีอยู่แต่กลับไปยึดเอาขันธ์ 5 มาเป็นตัวตนด้วยความเข้าใจผิด

แต่ถ้าแปลว่าไม่มีตัวตน
แสดงว่าไม่มีสิ่งใดๆเลย ทำให้เข้าใจผิดว่าผู้กระทำไม่มี ผู้ถูกกระทำไม่มี


คุณเข้าใจ “อัตตา” เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าตรัสไว้เปี๊ยบ

พิจารณาเรื่องย่อๆนี้ครับ

-ปริพาชกชื่อวัจฉโคตต์ เข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า อัตตามีอยู่
หรือ ?
พระพุทธเจ้าทรงนิ่งเฉย
วัจฉโคตต์ทุลถามต่อไปว่า อัตตาไม่มีหรือ ?
พระพุทธเจ้าทรงนิ่งเฉย อีก
วัจฉโคตต์จึงลุกออกไป

ครั้นแล้ว พระอานนท์ได้เข้าไปทูลถามว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงตอบคำถามของปริพาชกนั้น
พระพุทธเจ้าตอบว่า ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตามี ก็เท่ากับเข้ากับลัทธิพวกสัสสตวาท
ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตาไม่มี ก็เท่ากับเข้ากับลัทธิพวกอุจเฉทวาทะ
อนึ่ง ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตามี ก็จะไม่เป็นการสอดคล้องกับการเกิดญาณว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”
แต่ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตาไม่มี วัจฉโคตต์ซึ่งกำลังงงหนักอยู่แล้ว ก็จะงงงวยยิ่งขึ้นว่า

“แต่ก่อนนี้ตัวตนของเราคงมีแน่ แต่เดี๋ยวนี้ตัวตนนั้นไม่มี”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทำความเข้าใจเฉพาะความหมาย “อัตตา“ เต็มๆลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=18843

(ตัดตอนมาให้ดูตรงนี้หน่อยหนึ่งพิจารณาดูครับ)


ในการแสดงอนัตตาแบบแรก (ก.) พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ผู้ฟังยึดถือว่าเป็นอัตตาอยู่นั้น ผิดพลาดไม่ถูก
ต้องอย่างไร ไม่อาจยึดถือได้จริงอย่างไร เมื่อผู้ฟังมองเห็นความเข้าใจผิดของตน
ก็จะมองเห็นโทษของการยึดถือไปด้วยในตัว พร้อมทั้งมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการ
ไม่ยึดถือเข้าใจความหมายของการเป็นอยู่อย่างไม่ยึดมั่นเป็นอิสระ รู้ว่าควรจะปฏิบัติต่อชีวิตอย่างไร ควรวางท่าที
อย่างไรต่อโลกจึงจะถูกต้อง เป็นการก้าวหน้าไปอย่างมีจุดหมาย ไม่ทิ้งช่องว่างไว้ให้เกิดความแคว้างอ้างว้างสำหรับ
ภวตัณหาจะก่อปมปัญหาทางจิตวิทยาแก่ผู้ฟัง เพราะในระหว่างทำความเข้าใจกันนั้น ผู้ฟังจะค่อยๆ ถอนอัตตานุ
ทิฏฐิ บรรเทาภวตัณหาลงไป พร้อมกับที่คำถามเรื่องอัตตาค่อยๆ ละลายตัวหมดไปเอง

วิธีแสดงหรืออธิบายแบบแรกนี้ มีผลแก่ผู้ฟังต่างกันมากกับการแสดงแบบที่สอง (ตามข้อ ข.) ตามแบบหลัง
นั้น ผู้ตั้งคำถามมีภวตัณหาหรือไม่ก็วิภวตัณหาซ่อนอยู่เต็มที่ อาจตั้งปัญหาเพื่อสนองตัณหาของตนได้
พร้อมกับตัณหานั้นก็มีทิฏฐิเป็นเงื่อนปมผูกอยู่ด้วย คือ เป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง -Eternalism) หรือ
อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ -Annihilationism) อย่างใดอย่างหนึ่ง

การตอบรับหรือตอบปฏิเสธแก่คำตอบเชิงอภิปรัชญาอย่างนี้แก่ผู้มีความยึดมั่นอยู่ เป็นการก่ออันตรายมาก เรียก
ว่า เป็นคำถามที่ทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร เขาก็จะสร้างความคิดความเข้าใจ
ต่างๆขึ้น โดยอาศัยความเข้าใจที่เขายึดถือเป็นฐาน

ถ้าคำตอบตรงกับข้อที่เขายึดก็เป็นการยืนยันรับรองทิฏฐิของเขาตามแนวที่เขาเองเข้าใจอยู่โดยเฉพาะ
ถ้าไม่ตรงกัน เขาก็จะแล่นไปลงข้อสรุปในทางตรงข้าม คือเป็นเที่ยง หรือเป็นขาดสูญอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เช่น ถ้าผู้ฟังโน้มไปทางสัสสตทิฏฐิ เมื่อตอบรับว่าอัตตามี ก็จะส่งเสริมให้เขายึดมั่นใน
สัสสตทิฏฐิแน่นแฟ้น

ถ้าปฏิเสธว่าอัตตาไม่มี เขาก็จะโดดไปลงข้อที่สุดทางตรงข้ามว่า คำตอบนั้นหมายถึงขาดสูญ คือ
เป็นอุจเฉททิฏฐิ และทิ้งให้เกิดช่องว่างในทางความคิด เช่น อาจคิดนอกลู่นอกทางออกไปว่า
ในเมื่อไม่มีอัตตา ตัวตนไม่มี การฆ่า การทำลาย เบียดเบียนกัน ก็ไม่มีผลอะไร ไม่มีใครทำกรรม
ไม่มีใครรับผลกรรม จะทำกรรมดีไปทำไม

บางคนก็อาจเกิดปมกลัวความขาดสูญ กลัวว่าเราจะไม่มีต่อไป
บางคนก็อาจเห็นไปว่านิพพานเป็นความขาดสูญเลยใจตก ไม่อยากปฏิบัติธรรมต่อไปดังนี้เป็นต้น นับว่าเป็นภัยร้าย
แรงแก่ปุถุชน

รวมความก็คือ คำถามคำตอบประเภทนี้ก่อผลแก่ปุถุชนในทางที่ทำความคิดฟุ้งซ่าน การสร้างความคิดเหตุผล
ไปตามแนวตัณหาและทิฏฐิของตน และต้องแล่นไปตกในทิฏฐิที่ตรงข้ามกันสองอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป
คือถ้าไม่ลงสัสสตทิฏฐิ ก็ต้องลงอุจเฉททิฏฐิ ซึ่งพระพุทธศาสนาไม่ใช่ทั้งสัสสตทิฏฐิ ไม่ใช่ทั้งอุจเฉททิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอขอบคุณอาจารย์กรัชกายมากๆครับ ผมเข้าใจแล้วครับว่าธรรมะของพระพุทธองค์ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ผมขอไปศึกษาตามที่แนะนำก่อน มีปัญหาแล้วจะมาเรียนถามอีกครั้งครับ สาธุ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สังขาร

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18013

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณฌาน
ขอหัวเราะก่อน ... เหตุที่ต้องหัวเราะ เพราะกำลังคิดว่า หมดเลยที่พิมพ์ไว้ พอดีพิมพ์เสร็จ กำลังกดโพส ปรากฏว่ามีข้อความจากทางเวปเด้งขึ้นมา ว่ามีการตอบในกระทู้นี้ใหม่ ดิฉันไม่ได้กดเซฟข้อความไว้ ดันคลิกเข้าไปดู ข้อความที่เตรียมไว้ก็เลยหายวั๊บไปกับตา
กำลังจะบอกคุณฌานว่า คำว่า " อาจารย์ " คงใช้กับดิฉันไม่ได้ เราเป็นสหมิกธรรมกันค่ะ อีกอย่างหนึ่งดิฉันเองก็มีกัลยาณมิตร คำว่า " กัลยาณมิตร " ในที่นี้หมายถึงคนที่ดิฉันให้ความนับถือว่าเป็นอาจารย์ค่ะ ท่านเป็นนักธรรมเอก และเป็นนักปฏิบัติด้วย ก็ได้ไปถามท่านมาเรื่องคำแปลของคำว่า " อนัตตา " ท่านบอกว่า คำแปลมันมาจากรากศัพท์ มันเป็นคำผสม คงต้องขออภัยคุณฌานพอดีไม่ได้จดไว้ ถ้าอยากรู้คำผสม เอาไว้จะไปถามให้ใหม่ค่ะ ส่วนมากที่ดิฉันสนทนากับท่านจะเป็นเรื่องสภาวะซะมากกว่า
ส่วนคำว่า " อัตตา " ที่คุณฌานถามมาว่ามันมาจากไหน มาจากอุปทานในขันธ์ ๕ แล้วมาเป็นสมมุติบัญญัติที่เราใช้สื่อสารในการพูดกันไง
ขอแนะนำลิงค์ให้คุณฌานได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริยัติ

http://managerroom.com/forums/default.asp

ที่เมเนเจอร์รูมนี่ผู้รู้เยอะทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติ ที่ลานธรรมจักรนี่ยังเป็นเพียงบุคคลกลุ่มเล็กๆที่ได้เข้ามาสนทนากัน แต่ดิฉันเองก็ยังลำเอียงว่าชอบลานธรรมจักรมากกว่าที่อื่นๆ เพราะที่นี่เปิดกว้างให้โอกาสกับทุกคนที่เข้ามาได้แสดงออกถึงความคิดเห็นของแต่ละคน บางครั้งถึงกับมีการโต้แย้งกัน ที่นี่ก็ยังเปิดกว้างให้โต้แย้งกันได้ เป็นเวปอื่นน่ะหรือ โดนลบหมด ที่เมเนเจอร์รูมส่วนมากจะเข้าไปอ่านคำสอนของหลวงพ่อกล้วย ไม่ได้เข้าไปสนทนา
ได้แต่บอกคุณฌานว่า ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติก็ตาม ย่อมแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นปริยัติ ทั้งๆที่ได้ศึกษาจากตำราเล่มเดียวกันก็ตามย่อมมีข้อแตกต่างกันไป ถ้าถามว่าแล้วมันถูกหรือผิด มันไม่มีอะไรถูกหรือผิด มันเป็นเรื่องของรู้นั้นๆที่รู้แตกต่างกัน เมื่อมาตีความ จึงตีความได้แตกต่างกันไปตามที่ตัวเองนั้นรู้ จะให้รู้ไปมากกว่านั้นมันไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ การทำทาน ทุกอย่างล้วนเป็นอุบายให้ไปสู่จุดหมายปลายทางเหมือนๆกัน เพียงแต่จะเนิ่นานหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่แต่ละบุคคลได้กระทำกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ตรงกับหัวข้อกระทู้นัก นึกขึ้นได้จึงฝากนักศึกษาธรรมขบคิดข้อธรรมนี้ด้วย ก็คือคำว่า

ทุกข์

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในหมวดธรรม 3 แห่ง คือทุกข์ในเวทนา 3 และเวทนา 5 ทุกข์ในไตรลักษณ์ และทุกข์

ในอริยสัจ


ทุกข์ในเวทนา 3 เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา

ในไตรลักษณ์เรียกเต็มว่า ทุกขลักษณะ

และในอริยสัจ เรียกเต็มว่า ทุกขอริยสัจ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พระองค์สอนแต่ทุกข์และความดับเท่านั้น

น่าจะบ่งว่า ทุกข์นี้ มีความสำคัญจึงได้สอนไว้ในหมวดธรรมสำคัญดังกล่าวถึง 3 แห่ง

คุณฌานและสหายธรรมท่านอื่น ช่วยกันหาทางออกประเด็นนี้ด้วย

น่าจะมีอะไรต่างกัน ไม่อย่างนั้นคงไมตรัสทุกข์ไว้หลายๆที่ หรืออย่างไร หรือ ว่าคัมภีร์บันทึกผิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไม่ตรงกับหัวข้อกระทู้นัก นึกขึ้นได้จึงฝากนักศึกษาธรรมขบคิดข้อธรรมนี้ด้วย ก็คือคำว่า

ทุกข์

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในหมวดธรรม 3 แห่ง คือทุกข์ในเวทนา 3 และเวทนา 5 ทุกข์ในไตรลักษณ์ และทุกข์

ในอริยสัจ


ทุกข์ในเวทนา 3 เรียกเต็มว่า ทุกขเวทนา

ในไตรลักษณ์เรียกเต็มว่า ทุกขลักษณะ

และในอริยสัจ เรียกเต็มว่า ทุกขอริยสัจ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พระองค์สอนแต่ทุกข์และความดับเท่านั้น

น่าจะบ่งว่า ทุกข์นี้ มีความสำคัญจึงได้สอนไว้ในหมวดธรรมสำคัญดังกล่าวถึง 3 แห่ง

คุณฌานและสหายธรรมท่านอื่น ช่วยกันหาทางออกประเด็นนี้ด้วย

น่าจะมีอะไรต่างกัน ไม่อย่างนั้นคงไมตรัสทุกข์ไว้หลายๆที่ หรืออย่างไร หรือ ว่าคัมภีร์บันทึกผิด


สวัสดีค่ะคุณกรัชกาย
ดิฉันมีหนังสือวิปัสสนาทีปนีฏีกา ของหลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ หนังสือเล่มนี้ผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรได้ส่งมาให้ดิฉัน สิ่งที่คุณกรัชกายถามมาถึงความต่างไม่ว่าจะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับ อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ อนัตตลักขณะและ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
จะยกตัวอย่างมาให้อ่านนิดนึง ถ้าให้ยกมาทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้มันยาวมากๆเพราะมีรายละเอียดทั้งบาลีในวิสุทธมัคคอรรถกถาที่แสดงไว้ และทั้งคำที่หลวงพ่อภัททันตะได้อธิบายรายละเอียดไว้มีทั้งหมด ๕๐ หน้ากระดาษ A 4 แล้วรวมถึงท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์ที่ได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา

อนิจฺจ ได้แก่ ธรรมที่ไม่เที่ยง
อนิจิจลกฺขณ ได้แก่ เครื่องหมายให้รู้ว่าไม่เที่ยง
อนิจฺจานุปสฺสนา ได้แก่ ปัญญาที่พิจรณาเห็นว่าไม่เที่ยงอยู่เนืองๆในรูป,นาม ขันธ์ ๕ หรือกาย,ใจ ดังที่วิสุทธิมัคคอรรถกถาแสดงว่า;-
อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญฺจกํ. กสุมา? อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา,หุตวา อภาวโต วา. อุปฺปาทยญฺญถตฺตํ อนิจฺจลกฺขณํ หุตฺวา อภาวสงฺขาโต วา อาการวิการโร๑
นิพฺพตฺตานํ เอเตเนวากาเรน อฐวา ขณภงฺเคน เภโทติ อตฺโถ อนิจฺจานุปสฺสนาติ ตสิสา อนิจฺจตาย วเสน รูปาทีสุ อนิจฺจนฺติ อนุปัสนา ๒
๑.วิสุทฺธิมคฺค ฉบับไทย ตติยภาค ๒๕๗,ฉบับพม่า ทุติยภาค ๒๖๗.
๒. อานาปานสติวณฺณนา

รูป,นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจัง เพราะว่ามีการวิปริตแปรเปลี่ยนไปโดยความเกิด,ดับและเป็นอย่างอื่น( ชรา ) หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นดับไปไม่มีเหลือความเป็นไปที่มีอาการแปรเปลี่ยนไปโดยความเกิด,ดับและเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักขณะ หรืออีกนัยหนึ่ง อาการวิการ ( ลักษณะที่เปลี่ยน ) กล่าวคือเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า อนิจจลักขณะ
หมายเอาความสลายโดยการดับไปชั่วขณะแห่งรูป,นาม ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่คงอยู่ในอาการนั้นอย่างเดียวนั่นแหละ เรียกว่า อนิจจลักขณะ การพิจรณาเห็นในรูปธรรมเป็นต้นว่าไม่เที่ยงโดยอำนาจแห่งอนิจจลักขณะ ได้ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา

อ้อ ... อนิจจานุปัสสนามีแท้และเทียมด้วยค่ะ คิดว่านำมาให้อ่านแค่นี้น่าจะพอ บังเอิญดิฉันเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจในเรื่องแนวนี้สักเท่าไหร่ มีหนังสือก็สักแต่ว่าอ่าน จะอ่านก็ต่อเมื่อมีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้นแล้วแปลกใจว่ามันคืออะไร ก็จะโทรฯหากัลยาณมิตร ท่านก็จะบอกว่า ในหนังสือเล่มนี้มีบอกไว้หมดแล้ว อ่านเจอแล้วก็จบ คิดแค่เพียงว่า อ้อ ... มีคำเรียก เท่านั้นเอง ไม่ได้ติดใจอะไร ยิ่งตอนหลังนี่แทบจะไม่ได้โทรฯถามกันเลย มีอะไรเกิดขึ้นก็กำหนดตลอด เพียงรู้ลงไป ไม่ไปให้ค่าความหมายหรือความสำคัญในสิ่งที่เกิดขึ้น สนใจในการปฏิบัติมากกว่า ในแง่ของการปฏิบัติ ดิฉันก็มีครูบาฯที่คอยให้การบ้านอยู่ สภาวะแต่ละสภาวะท่านจะให้การบ้านตลอด การให้การบ้าน ท่านก็ให้ด้านปัญญา โดยให้การบ้านโดยให้อ่านหนังสือ เช่น โสฬสธรรม ต้องปฏิบัติเอง ท่านไม่แนะนำอะไรเกี่ยวกับการปฏิบัติ ท่านเน้นเรื่องการเจริญสติเป็นหลัก ปฏิบัติจนกว่าจะตีโจทย์แตกได้เอง แล้วก็ไปพบท่าน ติดขัดต่อไปท่านก็ให้การบ้านต่ออีก การสนทนามีแต่รังให้เกิดความฟุ้งซ่าน ความสงสัยไม่จบสิ้น แล้วอีกอย่างหนึ่ง เป็นคนประเภทที่เรียกว่า ไม่ใส่ใจ เห็นพระอาจารย์ท่านบอกว่าเป็นเช่นนั้น ดิฉันฟังอะไรแล้วมาถ่ายทอดให้ใครฟังทั้งหมดไม่ได้ เป็นคนไม่เคยจำ ฟังตรงนั้น จบตรงนั้น เข้าใจแค่ตัวเอง

อีกครั้งหนึ่งส่งท้าย แม้แต่คำถามที่คุณฌานถามมาเรื่องคำแปล " อนัตตา " ก็มีอยู่ มันยาวมาก ไม่ใช่แค่แปลสั้นๆแบบที่คุณฌานนำมาถามแค่นั้น หรือแค่ที่คุณกรัชกายอธิบาย มันมีองค์ประกอบอยู่ในคำว่า " อนตฺตา " ครูบาฯท่านอธิบายไว้ละเอียดมากๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร