วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากได้คำอธิบายเฉพาะทุกข์ทั้ง 3 แห่ง เช่นว่า ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร มีอะไรเป็นที่สังเกตในขณะปฏิฏิบัติ ครับ คุณ walaiporn
และในเมือทุกข์มีหลายตัวหลายที่มาดังนี้ ต้องปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ไปทีละตัวๆหรืออย่างไร แล้วมันเป็นอนัตตายังไงครับ
หรือมันเป็นทั้งอัตตาและอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ธาตุมีอยู่ 2 อย่าง
1. อสังขตธาตุ สิ่งนี้เป็น "อัตตา" นิพพานจิตได้สร้างอายตนะนิพพาน คือ ธรรมขันธ์ที่เป็นอมตะ
นิรันดร์ ขึ้นมารองรับนิพพานจิต

2. สังขตธาตุ สิ่งนี้เป็น "อนัตตา" จิตสังขารของเราไปสร้างอายตนะขึ้นมาจากมหาภูต 4 เพื่อมา
รองรับจิตสังขาร ขันธ์ 5 หรือสังขตธาตุ สิ่งนี้ไม่เป็นอมตะ ไม่เที่ยง แปรปรวน เกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธเจ้าจึง
เรียกขันธ์ 5 ว่า อนัตตา

"อัตตา" และ "อนัตตา" แตกต่างกันตรงที่ "อัตตา" นั้นไม่มีทุกข์ ไม่แปรปรวน
สามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจ และมันดำรงอยู่เป็นอมตะ นิรันดร ในขณะที่อนัตตานั้นมีทุกข์ แปรปรวน ไม่
สามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจ และไม่สามารถดำรงอยู่เป็นอมตะ นิรันดร

พูดง่ายๆ...อนัตตาต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ส่วนอัตตาไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


อัตตา คือ อายตนะของพระอรหันต์ในนิพพาน อายตนะนิพพานนั้น เที่ยง ไม่มีทุกข์
อนัตตา คือ อายตนะของปุชนนั้น ไม่เที่ยง ผันแปรไม่เรื่อย จึงเป็นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านพลศักดิ์ :b8:

ผมได้อ่านข้อความของท่านพลศักดิ์ แล้วบอกตามตรงไม่ตรงกับที่ผมทราบในบางประการ อย่างไรขอให้ท่านช่วยตอบคำถามต่อไปนี้ด้วยครับ เพราะไม่รู้ว่าผมเข้าใจความหมายที่ท่านสื่อออกมาถูกหรือเปล่า จะได้ไม่เข้าใจผิด จะได้เข้าใจตรงกันดังนี้ครับ

อ้างคำพูด:
"อัตตา" และ "อนัตตา" แตกต่างกันตรงที่ "อัตตา" นั้นไม่มีทุกข์ ไม่แปรปรวน
สามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจ และมันดำรงอยู่เป็นอมตะ นิรันดร ในขณะที่อนัตตานั้นมีทุกข์ แปรปรวน ไม่
สามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจ และไม่สามารถดำรงอยู่เป็นอมตะ นิรันดร


1. นิพพาน คือ อสังขตธาตุ คือ อัตตา ใช่หรือไม่ครับ
2. (หากข้อ 1 ตอบว่าใช่) คุณสมบัติของ "อัตตา" ตามที่ท่านกล่าวไว้ ดังนั้น นิพพาน จึงต้องสามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจใช่หรือไม่ครับ ขอให้อธิบายประเด็นนี้ด้วยครับ หากมีตัวอย่างการบังคับได้จะดีครับ
3. หากนิพพานเป็นอัตตาแล้ว การที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" แสดงว่า "ธรรม" ในที่นี้ไม่ได้รวมนิพพานไว้ใช่หรือไม่ครับ

รบกวนตอบด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"ศิรัสพล"ครับ



1. ผมได้อ่านข้อความของท่านพลศักดิ์ แล้วบอกตามตรงไม่ตรงกับที่ผมทราบในบางประการ

......สิ่งที่ผมเปิดเผยเป้นความลับสุดยอดแห่งสุดยอดในพระไตรปิฎก ถ้าคนธรรมดาเห็นตรงกับผม
พุทธศาสนาคงไม่ต้องแตกแยก ใจเย็นๆครับ สิ่งที่ผมบอกคุณแม้แต่วัดธรรมกายเขายังไม่รู้เลย

[quote]

2. "อัตตา" และ "อนัตตา" แตกต่างกันตรงที่ "อัตตา" นั้นไม่มีทุกข์ ไม่แปรปรวน
สามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจ และมันดำรงอยู่เป็นอมตะ นิรันดร ในขณะที่อนัตตานั้นมีทุกข์ แปรปรวน ไม่
สามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจ และไม่สามารถดำรงอยู่เป็นอมตะ นิรันดร


1. นิพพาน คือ อสังขตธาตุ คือ อัตตา ใช่หรือไม่ครับ......ถูกต้องเลยครับ
2. (หากข้อ 1 ตอบว่าใช่) คุณสมบัติของ "อัตตา" ตามที่ท่านกล่าวไว้ ดังนั้น นิพพาน จึงต้องสามารถบังคับให้เป็นไปได้ดังใจใช่หรือไม่ครับ ขอให้อธิบายประเด็นนี้ด้วยครับ หากมีตัวอย่างการบังคับได้จะดีครับ

......รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ บังคับให้เป็นดังใจไม่ได้ มันจึงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
แต่พระธรรมกาย(อายตนะนิพพาน)บังคับให้เป็นดังใจได้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย จะเปลี่ยนรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอะไรก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของสมมุติใน 3 ภพ ดังเช่นที่พระนาราย์อวตาร
เป็นมนุษย์ เทพ ยักษ์ นับครั้งไม่ถ้วน


ตัวคุณเองกับผมและคนอื่นๆ รวทั้งสรรพสิตว์ต่างๆ แม้แต่มนุษย์ต่างดาว ต่างก็เป็นอวตารปางหนึ่งๆของ
พระพุทธเจ้า แต่ด้วยกิเลสอวิชชามันปิดดวงตาธรรมของเราเอาไว้ เราจึงไม่รู้ว่า ตันเองเป็นพุทธะ(พระเจ้า)


3. หากนิพพานเป็นอัตตาแล้ว การที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" แสดงว่า "ธรรม" ในที่นี้ไม่ได้รวมนิพพานไว้ใช่หรือไม่ครับ

......คุณลองไปดูได้ คำว่า ธรรมทั้งปวง(all)เป็นอนัตตา ต่างอยู่ในบทที่เป็นขันธ์ 5 และสังขาร เท่านั้น
ไม่ได้อยู่ในบทนิพพานเลย ธรรมทั้งปวง(all)เป็นอนัตตา ก็คือทุกสรรพสิ่งใน 3 ภพ ล้วนเป็นอนัตตา ไม่ใช่
อัตตา เพราะอัตตามีอยู่ที่เดียวคือ ในนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำตอบของท่านพลศักดิ์ครับ :b8:

ท่านกล่าวมามีประเด็นที่น่าพิจารณาอยู่หลายประการทีเดียว และอ่านแล้วดูมีเหตุผลไม่ใช่น้อยด้วยครับ
แต่อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะให้ผู้รู้ท่านอื่นเข้ามาเสริม หรือออกความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นด้วยครับ
ว่าแต่ละท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ?

ส่วนผมเองเป็นผู้ใหม่อยู่คงจะได้แต่เพียงรออ่านครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"ศิรัสพล"ครับ


พระพุทธองค์ก็ได้ทรงสอนพระอานนท์ว่า "ให้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง" นี่คือ "อัตตา" ครับ


เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สิ่งใดที่จะเป็น อัตตา ได้
นั้น สิ่งนั้นจะต้องมี คุณลักษณะ ที่อาจยกมาแสดงได้ ๔ ประการ ดังนี้คือ
๑.นิจฺโจ ( เที่ยงแท้ )
๒.ธุโว ( คงทน )
๓.สสฺสโต ( ถาวร )
๔.อวิปริณาม ( ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น )

เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่ไม่มีคุณสมบัติเช่นว่านี้ หรือมีคุณลักษณะตรงกันข้าม สิ่งนั้นก็ไม่ใช่สภาพธรรมของอัตตา
แต่เป็นสภาพธรรมของ อนัตตา และตกอยู่ในอำนาจของพระไตรลักษณ์(คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา)
เช่นเดียวกับโลกียธรรมทั้งหลาย

สภาพธรรมที่เป็น "อัตตา"นั้น ต้องอยู่พ้นจากความครอบงำของพระไตรลักษณ์อย่างสิ้นเชิง
จึงจะดำรงตนอยู่อย่างเที่ยงแท้ คงทน ถาวร ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น,ตลอดไป

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงชี้ชัดเจนว่า จิตที่สิ้นความยินดีและแยกออกจากอารมณ์ทั้งปวงอย่างเด็ดขาด คือ
วิราคจิต วิราคจิตจัดเป็น นิพพาน และเป็น อมตธรรม(ธรรมที่ไม่ตาย) ดำรงตนอยู่อย่างเที่ยงแท้,คงทน,
ถาวร,ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น อีกต่อไป

นิพพานเป็นอัตตา หรือ ตัวตนในพระพุทธศาสนา และ เป็นที่พึ่ง ได้อย่างแท้จริง ดังที่ทรงยกมาสอนพระอานนท์ว่า "ให้มีตัวตนเป็นเกาะ มีตัวตนเป็นที่พึ่ง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"ศิรัสพล"ครับ(ต่อ)



พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า

อานนท์ จิตของเราได้ตั้งอยู่ ณ ที่ อนิมิตตเจโตสมาธิวิหาร ไม่มีนิมิตหมายอื่นใดอยู่ เราจึงหายป่วยแล้ว เราไม่ได้
ป่วย แต่ที่ป่วยนั้นเป็นเรื่องของร่างกาย
ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

พระพุทธองค์ทรงตรัสด้วยว่า “ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี
จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
ดำรงชีวิตอยู่ ภิกษุเหล่านั้นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักอยู่เหนือความมืด....”

จนทสูตร มหา. สํ. (๗๓๔-๗๔๐)
ตบ. ๑๙ : ๒๑๕-๒๑๗ ตท. ๑๙ : ๒๐๓-๒๐๕
ตอ. K.S. ๕ : ๑๔๑-๑๔๓


ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงอย่างชัดเจนว่า จิต ตน(อัตตา) ธรรม เรา คือสิ่งเดียวกัน ส่วนรูปร่างกายนั้น
ไม่ใช่เรา แต่เป็นที่อาศัยของเราเท่านั้น แต่ปถุชนที่ปฏิบัติยังไม่ถังขั้นโสดาบัน ย่อมยากจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อยากได้คำอธิบายเฉพาะทุกข์ทั้ง 3 แห่ง เช่นว่า ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร มีอะไรเป็นที่สังเกตในขณะปฏิฏิบัติ ครับ คุณ walaiporn
และในเมือทุกข์มีหลายตัวหลายที่มาดังนี้ ต้องปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ไปทีละตัวๆหรืออย่างไร แล้วมันเป็นอนัตตายังไงครับ
หรือมันเป็นทั้งอัตตาและอนัตตา


สวัสดีค่ะคุณกรัชกาย
ความต่างกันระหว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับ อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ อนัตตะทุกขณะ
คำว่า อนิจจังและทุกขัง ทั้งสองนี้ ได้แก่สังขตธรรม คือ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นปรมัตถ์อย่างเดียว คำว่า อนัตตา นั้น ได้แก่ สังขตธรรมและอสังขตธรรม คือ รูป,นาม ขันธ์ ๕ นิพพาน บัญญัติ ซึ่งเป็นไปในธรรมทั้งหมด ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ดังนี้
ส่วนคำว่า อนิจจลักขณะ,ทุกขลักขณะ,อนัตตลักขณะ นั้น ได้แก่ อาการบัญญัติ คือ ความเป็นไปแห่งรูปนาม, ขันธ์ ๕, นิพพาน, บัญญัติ หาใช่ตัวสภาวะ ปรมัตถ์และเป็นสัททบัญญัติ,อัตถบัญญัติแต่ประการใดไม่ ฉะนั้น อาการบัญญัติของรูป,นาม ขันธ์ ๕ ได้แก่อาการที่ดับไปสิ้นไปนั่นเอง อาการบัญญัติของพิพพาน ก็ได้แก่อาการที่ไม่มีการเกิดดับ มีแต่ความสงบจากกิเลส,ขันธ์ ๕ ทั้งปวง อาการบัญญัติของสัททบัญญัติและอัตถบัญญัติ ก็ได้แก่อาการ อาการที่ไม่มีความเกิดดับและไม่มีสภาวะองค์ธรรมรับรอง เพียงแต่เป็นไปตามคำที่สมมุติกันขึ้น และเป็นไปตาม รูป,ร่าง,สัณฐาน,ส่วนสัดของมหาภูติรูปนั้น
ดังนั้น เมื่อสรุปลงแล้วก็คงได้ความว่า อนิจจังและอนิจจะลักขณะ เป็นคนละอย่างกัน คือ อนิจจัง ไม่ใช่เป็นอนิจจลักขณะ และอนิจจลักขณะ ก็ไม่ใช่อนิจจัง ทุกขังและทุกขลักขณะ อนัตตาและอนัตตลักขณะ ก็คงเป็นไปในทำนองเดียวกัน อุปมาเหมือนกับคำที่กล่าวไว้ว่า บุรุษไป ( ปุริโส คจฺฉติ ) ในที่นี้ คำว่า บุรุษได้แก่ ร่างกาย คำว่า ไป ได้แก่กิริยาอาการของบุรุษที่กำลังยกเท้า กำลังก้าวเท้า ดังนั้น บุรุษจึงไม่ใช่เป็นอาการไป ไปก็ไม่ใช่บุรุษ เพียงแต่อาศัยอยู่ในตัวบุรุษ บุรุษนั่ง บุรุษยืน บุรุษนอน ก็เช่นเดียวกัน
เหตุที่คำว่า อนิจจัง กับ อนิจจลักขณะ มีความแตกต่างกันดังที่กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านพระมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า-

อนิจจัง

อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญฺจกํ. กสุมา? อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา.

รูป,นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจังเพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไปโดยความเกิดดับ หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะมีแล้วไม่มี คือ เกิดขึ้นแล้วก็สูญสิ้นดับไปไม่มีเหลือ

อนิจจลักขณะ

อุปฺปาทวยญฺญถตฺตํ อนิจฺจลกฺขณํ หุตฺวา อภาสงฺขาโต วา อาการวิกาโร

ความเกิดขึ้น เสื่อมไป และเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักขณะ หรืออีกนัยหนึ่ง อาการวิการที่เกิดขึ้นแล้วสูญสิ้นดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า อนิจจลักขณะ

ทุกขัง

วิสุทธิมัคคอรรถกถากล่าวว่า- ยทนิจฺจํ ตํ ทุกขนฺติ วจนโต ปน ตํเทว ขนฺธปญฺจกํ ทุกฺขํ กสิมา? อภิณฺหปฏิปีฬนา

รูป,นาม ขันธ์ ๕ นั้นแหละชื่อว่า ทุกขัง สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่าสิ่งใดไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ เพราะรูป,นาม ขันธ์ ๕ ถูกเบียดเบียนบีบคั้นอยู่เนืองๆ โดยความเกิดและความดับ

ทุกขลักขณะ

อภิณฺหปฏิปีฬนากาโร ทุกฺขลกฺขณํ

อาการถูกเบียดเบียนบีบคั้นอยู่เนืองๆชื่อว่า ทุกขลักขณะ

อนัตตา

วิสุทธิมัคคอรรถกถากล่าวว่า- ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตาติ ปน วจนโต ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา. กสุมา? อวสตฺตนโต

นาม,รูป ขันธ์ ๕ นั้นแหละชื่อว่า อนัตตา สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

อนัตตลักขณะ

อสวตฺตนากาดร อนติตลกฺขณํ

อาการที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด ชื่อว่า อนัตตลักขณะ

เหตุผลในคำว่า อนัตตา มีองค์ธรรมไม่เท่ากัน
คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕, นิพพาน, บัญญัติ กับคำว่า ตเทว ขนฺธปญิจกํ อนตฺตา ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ทั้งสองบทนี้ล้วนแต่เป็นพุทธภาษิตทั้งสิ้น แต่แล้วองค์ธรรมไม่เหมือนกัน การเป็นดังนี้ก็เพราะเนื่องมาจากการแสดงธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ ทรงมุ่งหมายเป็นคนละแง่ คือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ทรงแสดงในแง่ที่จะให้พุทธบริษัททั้งหลายได้ทราบถึงสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นปรมัตถ์หรือบัญญัติ ล้วนเป็นอตัตตาทั้งสิ้น
ส่วน ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา นั้น ทรงแสดง รูป,นาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณประการเดียว เหตุนั้น คำว่า อนัตตา ที่มีอยู่ในบททั้งสองจึงได้องค์ธรรมไม่เท่ากัน

อนุปัสสนา ๓ ตามอภิธัมมัตถสังคหบาลี

อนิจานุปสฺสนา คือ พิจรณาเห็นโดยอาการไม่เที่ยง
ทุกฺขานุปสฺสนา คือ พิจรณาเห็นโดยอาการเป็นทุกข์
อนตฺตานุปสฺสนา คือ พิจรณาโดยอาการเป็นอนัตตา

อธิบายบาลีข้อที่ ๓ ที่แสดงถึงอนุปัสสนา ๓

อนุปัสสนา หมายความว่า การรู้เห็นเนืองๆ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บทคือ อนุ+ปสฺสนา อนุ แปลว่า เนืองๆ ปสฺสนา แปลว่า รู้เห็น ดังนั้น คำว่า อนุปัสสนา ก็ได้แก่ ปัญญาเจตสิก คือ วิปัสสนาญาณ ที่มีการพิจรณารู้เห็นในเตภูมิกสังขตธรรมโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหตุนี้แหละ อนุปัสสนาจึงมี ๓

เมื่ออนิจจานุปัสสนาเกิด ทุกขาและอนัตตานุปัสสนาย่อมเกิดขึ้นตาม

นำมาจากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย หลวงพ่อดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ

นำมาแค่บางส่วนค่ะคุณกรัชกาย แค่นี้น่าจะพอ
เห็นคุณกรัชกายโพสไว้ -

viewtopic.php?f=2&t=18911

viewtopic.php?f=2&t=18885

คุณกรัชกายเข้าใจว่าอย่างไรล่ะคะ

ส่วนที่คุณถามมาว่า ในแง่แนวทางการปฏิบัตินั้น ต้องทำอย่างไร คำตอบคือ เจริญสติให้มากค่ะ วันใดสติ สัมปชัญญะมากพอ ย่อมเห็นสภาวะเอง ย่อมทำให้เกิดการปล่อยวางได้ลงในระดับหนึ่ง แล้วในแง่ของสภาวะว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอนิจจานุปัสสนาแท้หรือเทียม แล้วจะสังเกตุเห็นได้อย่างไร อันนี้ต้องขออภัยคุณกรัชกายจริงๆค่ะ เรื่องสภาวะ ดิฉันให้สัจจะไว้แล้วว่า ตราบใดที่บุคคลนั้น ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยังมีการล่วงเกินสมณสงฆ์, ล่วงเกินครูบาฯ ,โจมตีการปฏิบัติของผู้อื่น , ยึดมั่นถือมั่นในการปฏิบัติของตัวเอง แล้วคอยติติงการปฏิบัติของผู้อื่นว่าถูกหรือผิด ดิฉันจะไม่มีวันบอกเรื่องสภาวะอย่างเด็ดขาด เพราะเคยผิดพลาดมาแล้ว มันกลับกลายเป็นไปสร้างมานะกิเลสให้เกิดกับคนๆนั้น เพราะไปหลงกับการน้อมเอาคิดเอา แล้วคิดว่าใช่ แทนที่จะปล่อยวางกลับกลายเป็นว่าเที่ยวไปละเมิดปฏิบัติของผู้อื่น เที่ยวไปว่าอันนั้นถูก อันนี้ผิด ขนาดยังไม่เห็นสภาวะโดยแท้จริงยังขนาดนี้ แล้วถ้าบอกไปแล้วมันจะยิ่งไปกันใหญ่ อันนี้ไม่ได้เจาะจงที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กล่าวโดยรวมๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"walaiporn" ครับ



1. คำว่า อนัตตา นั้น ได้แก่ สังขตธรรมและอสังขตธรรม คือ รูป,นาม ขันธ์ ๕ นิพพาน บัญญัติ ซึ่งเป็นไปในธรรมทั้งหมด ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ดังนี้
รูป,นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจังเพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไปโดยความเกิดดับ หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะมีแล้วไม่มี คือ เกิดขึ้นแล้วก็สูญสิ้นดับไปไม่มีเหลือ


.......พระพุทธเจ้าไม่เคยตัสแม้แต่ครั้งเดียวว่า อสังขตธรรม และนิพพาน เป็นอนัตตานะครับ
คนที่พูดคือ อรรถกถาจารย์ผู้เข้าไม่ถึงธรรม บท สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา,
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
บทนี้พระพุทธเจ้าพูดถึงสังขาร คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ก็หมายถึง
all สังขาร ไม่ได้ไปครอบคลุมบท อสังขตธรรม และนิพพาน เลย



2. บทว่าด้วย รูป,นาม ขันธ์ ๕ ทุกขัง ทั้งหมดเป็นบทของสังขตธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้
ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอนัตตา



3. นาม,รูป ขันธ์ ๕ นั้นแหละชื่อว่า อนัตตา สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา


อาการที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด ชื่อว่า อนัตตลักขณะ

เหตุผลในคำว่า อนัตตา มีองค์ธรรมไม่เท่ากัน
คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕, นิพพาน, บัญญัติ กับคำว่า ตเทว ขนฺธปญิจกํ อนตฺตา ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ทั้งสองบทนี้ล้วนแต่เป็นพุทธภาษิตทั้งสิ้น แต่แล้วองค์ธรรมไม่เหมือนกัน การเป็นดังนี้ก็เพราะเนื่องมาจากการแสดงธรรม


อย่าเชื่อในสิ่งที่อรรถกถาจรย์ ผู้เข้าไม่ถึงธรรมสอนคุณ นิพพานนั้นไม่มีทุกข์ และเที่ยง จึงไม่มีอนัตตลักขณะ

ถ้านิพพานยังมีทุกข์ และแปรปรวน เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ พวกเราจะไปทำไมครับนิพพาน อยู่ใน 3 ภพอย่างนี้
ดีกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
คุณ"walaiporn" ครับ



1. คำว่า อนัตตา นั้น ได้แก่ สังขตธรรมและอสังขตธรรม คือ รูป,นาม ขันธ์ ๕ นิพพาน บัญญัติ ซึ่งเป็นไปในธรรมทั้งหมด ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ดังนี้
รูป,นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจังเพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไปโดยความเกิดดับ หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะมีแล้วไม่มี คือ เกิดขึ้นแล้วก็สูญสิ้นดับไปไม่มีเหลือ


.......พระพุทธเจ้าไม่เคยตัสแม้แต่ครั้งเดียวว่า อสังขตธรรม และนิพพาน เป็นอนัตตานะครับ
คนที่พูดคือ อรรถกถาจารย์ผู้เข้าไม่ถึงธรรม บท สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา,
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
บทนี้พระพุทธเจ้าพูดถึงสังขาร คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ก็หมายถึง
all สังขาร ไม่ได้ไปครอบคลุมบท อสังขตธรรม และนิพพาน เลย



2. บทว่าด้วย รูป,นาม ขันธ์ ๕ ทุกขัง ทั้งหมดเป็นบทของสังขตธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้
ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอนัตตา



3. นาม,รูป ขันธ์ ๕ นั้นแหละชื่อว่า อนัตตา สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา


อาการที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด ชื่อว่า อนัตตลักขณะ

เหตุผลในคำว่า อนัตตา มีองค์ธรรมไม่เท่ากัน
คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕, นิพพาน, บัญญัติ กับคำว่า ตเทว ขนฺธปญิจกํ อนตฺตา ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ทั้งสองบทนี้ล้วนแต่เป็นพุทธภาษิตทั้งสิ้น แต่แล้วองค์ธรรมไม่เหมือนกัน การเป็นดังนี้ก็เพราะเนื่องมาจากการแสดงธรรม


อย่าเชื่อในสิ่งที่อรรถกถาจรย์ ผู้เข้าไม่ถึงธรรมสอนคุณ นิพพานนั้นไม่มีทุกข์ และเที่ยง จึงไม่มีอนัตตลักขณะ

ถ้านิพพานยังมีทุกข์ และแปรปรวน เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ พวกเราจะไปทำไมครับนิพพาน อยู่ใน 3 ภพอย่างนี้
ดีกว่า



สวัสดีค่ะคุณพลศักดิ์
ที่คุณพลศักดิ์นำมาเขียนทั้งหมด ก็เป็นเพียงแค่การตีความหรือเป็นเพียงแค่ความคิดของคุณเท่านั้นเอง แล้วคุณเอาอะไรมาวัดหรือนำมาเอ่ยอ้างได้ว่าอะไรถูกหรือผิด สุดท้ายมันก็เป็นเพียงความคิดของคุณเอง บอกแล้วว่าดิฉันเคารพในการแสดงความคิดเห็นของทุกคนที่โพสมา แล้วก็สิ่งที่ดิฉันนำมาโพสนั้น ไม่ใช่ความคิดของดิฉัน ดิฉันเพียงนำมาให้คุณกรัชกายอ่านหรือคนที่สนใจได้อ่าน ส่วนดิฉันเองเคารพในคำสอนของครูบาฯท่าน จะถูกหรือผิด ก็เรื่องของท่าน ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เรื่องของคนนั้นๆ ทุกอย่างมันมีเหตุปัจจัย มันมีผลอยู่แล้ว ฉะนั้นดิฉันไม่เดือดร้อนหรอกว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เพราะไม่ได้ไปบังคับยัดเยียดว่าคุณต้องเชื่อนะ

ดิฉันเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อมั่นในครูบาฯ เชื่อมั่นในคำสอนของครูบาฯทุกๆท่าน ส่วนจะทำตามหรือไม่ อันนี้ก็เรื่องของดิฉัน

เรื่องนิพพง นิพพาน บอกตามตรง ดิฉันไม่ได้สนใจหรอก รู้แต่ว่าปฏิบัติแล้วมันทำให้เราเข้าใจเรื่องทุกข์มากขึ้น ทำให้เราปล่อยวางมากขึ้น ทำให้เห็นเหตุที่กำลังจะกระทำแล้วเห็นผลที่จะตามมา ทำให้สนใจที่จะวิพากย์ วิจารณ์การปฏิบัติของผู้อื่นน้อยลง เราชอบให้คนอื่นมาว่าเราไหม หากไม่ชอบเราก็อย่าไปว่าคนอื่น นี่ยกตัวอย่างง่ายๆ ทุกวันนี้ดิฉันมองทุกอย่างว่าใครคนทำ คนนั้นรับผล เหมือนเรื่องการแนะนำในการปฏิบัติก็เหมือนกัน บางคนพูดเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปฏิหารย์ พูดเรื่องงมงาย พูดเรื่องทางที่ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ แล้วทำให้มีคนบางคนเชื่อแล้วทำตาม อันนี้ดิฉันก็มองเพียงว่า ทุกอย่างมันมีเหตุปัจจัย เคยกระทำกรรมร่วมกันมา ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม หากว่าเป็นกุศลกรรมก็ทำให้ยิ่งปฏิบัติยิ่งเห็นทางพ้นทุกข์มากขึ้น หากเขาเคยสร้างอกุศลกรรมร่วมกันมา ก็อาจทำให้หนทางเขาต้องใช้เวลายาวนานขึ้นอีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ยังไงเสีย บุคคลเหล่านี้ ย่อมไปถึงจุดสุดท้ายๆเหมือนๆกัน
คนเราเมื่อปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่ง เราสามารถเลือกเกิดได้ เลือกเป็นได้ เลือกตายได้ เหมือนเรื่องบันทึกของครูบาฯนิรนาม

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17511

ท่านไม่ได้สอนให้คนงมงาย อันนี้ก็สุดแล้วแต่คนจะคิด เมื่ออ่านบทความนี้จบ ความคิดใคร ความคิดมัน เราจะไปบังคับคนอื่นให้มาคิดหรือเชื่อเหมือนเรานั้น มันมีแต่จะสร้างกรรมใหม่ให้เกิดเปล่าๆ

สรุปสุดท้าย เรื่องที่คุณนำมาพูด ดิฉันรับฟังแต่ไม่ใส่ใจ ไม่ว่าจะใช่หรือไม่ใช่ก็ไม่สนใจ เพราะมันเป็นเพียงแค่ความคิดของคนๆหนึ่งเท่านั้นเอง เพียงแต่ไม่คิดจะขัดหรือท้วงติง ใครกระทำอะไรก็แล้วแต่ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล คนๆนั้นเป็นผู้รับ รู้แค่นั้น ส่วนใครจะเชื่อใคร อันนี้มันก็เป็นวิบากของแต่ละคน

เช้ามา ดิฉันชอบเปิดสถานีหลวงตา 103.25 จะฟังพระธรรมบททุกเช้า จะเปิดตั้งแต่ตีห้า ถึง 7โมงเช้า พระธรรมบทจะมีตอน 6.30-700 หรือแม้แต่เมื่อมีเวลาว่าง หรือแม้กระทั่งทำงานบ้านก็จะเปิดฟังครูบาฯท่านตลอด เพราะเชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้ว่า กิจอันใดที่ทำแล้วทำให้เกิดสมาธิควรทำ กิจอันใดที่ทำแล้ว ทำให้จิตห่างออกจากสมาธิไม่ควรทำ การสนทนาเรื่อง นิพพาน ก็เหมือนกัน เป็นกิจที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง หมายถึงตัวดิฉันเอง รังแต่จะทำให้ฟุ้งซ่าน ไม่มีประโยชน์อันใด ตำราก็ว่าไปตามตำรา คนก็ว่าไปตามการตีความของตัวเอง รู้แค่ไหนก็ตีความได้แค่นั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 20:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2008, 13:47
โพสต์: 288


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ว่าจะ "ไม่มีตัวตน" หรือ "ไม่ใช่ตัวตน"
ถ้าเป็นไปเพื่อ "สมาธิ" เพื่อ "ปัญญา" แล้ว
ถูกต้องทั้งหมด เป็น "มัชฌิมาปฏิปทา"

เข้าวงปฏิบัติแล้ว
อันไหนก่อให้เกิด "มรรค" เกิด "ผล" ได้
เป็นอันใช้ได้

อย่าติดในแบบจนพลิกแพลงไม่ได้
หรืออย่านอกแบบจนเกินครูเกินอาจารย์
จะไม่เป็น "มัชฌิมาปฏิปทา" ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"walaiporn" ครับ



ที่คุณพลศักดิ์นำมาเขียนทั้งหมด ก็เป็นเพียงแค่การตีความหรือเป็นเพียงแค่ความคิดของคุณเท่านั้นเอง แล้วคุณเอาอะไรมาวัดหรือนำมาเอ่ยอ้างได้ว่าอะไรถูกหรือผิด สุดท้ายมันก็เป็นเพียงความคิดของคุณเอง

ส่วนดิฉันเองเคารพในคำสอนของครูบาฯท่าน จะถูกหรือผิด ก็เรื่องของท่าน ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เรื่องของคนนั้นๆ ทุกอย่างมันมีเหตุปัจจัย มันมีผลอยู่แล้ว ฉะนั้นดิฉันไม่เดือดร้อนหรอกว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เพราะไม่ได้ไปบังคับยัดเยียดว่าคุณต้องเชื่อนะ

ดิฉันเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อมั่นในครูบาฯ เชื่อมั่นในคำสอนของครูบาฯทุกๆท่าน ส่วนจะทำตามหรือไม่ อันนี้ก็เรื่องของดิฉัน


...... ผมก็แค่จุดประกายทางปัญญาให้คนในเว็บเท่านั้น สิ่งที่คุณเขียนมันผิด เพราะคุณนำคำสอนสัทธรรม
ปฏิรูป(ของปลอม) ของสมมุติสงฆ์มาเผยแพร่ ผมก็นำคำสอนของพระอริยะเจ้ามาลงเท่านั้นเอง ผมไม่มีทาง
ยอมปล่อยให้สัทธรรมปฏิรูป(ของปลอม)ระบาดไปเรื่อยๆเท่านั้น ต้องชะลอพวกของปลอมเอาไว้บ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
คุณ"walaiporn" ครับ



ที่คุณพลศักดิ์นำมาเขียนทั้งหมด ก็เป็นเพียงแค่การตีความหรือเป็นเพียงแค่ความคิดของคุณเท่านั้นเอง แล้วคุณเอาอะไรมาวัดหรือนำมาเอ่ยอ้างได้ว่าอะไรถูกหรือผิด สุดท้ายมันก็เป็นเพียงความคิดของคุณเอง

ส่วนดิฉันเองเคารพในคำสอนของครูบาฯท่าน จะถูกหรือผิด ก็เรื่องของท่าน ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เรื่องของคนนั้นๆ ทุกอย่างมันมีเหตุปัจจัย มันมีผลอยู่แล้ว ฉะนั้นดิฉันไม่เดือดร้อนหรอกว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เพราะไม่ได้ไปบังคับยัดเยียดว่าคุณต้องเชื่อนะ

ดิฉันเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อมั่นในครูบาฯ เชื่อมั่นในคำสอนของครูบาฯทุกๆท่าน ส่วนจะทำตามหรือไม่ อันนี้ก็เรื่องของดิฉัน


...... ผมก็แค่จุดประกายทางปัญญาให้คนในเว็บเท่านั้น สิ่งที่คุณเขียนมันผิด เพราะคุณนำคำสอนสัทธรรม
ปฏิรูป(ของปลอม) ของสมมุติสงฆ์มาเผยแพร่ ผมก็นำคำสอนของพระอริยะเจ้ามาลงเท่านั้นเอง ผมไม่มีทาง
ยอมปล่อยให้สัทธรรมปฏิรูป(ของปลอม)ระบาดไปเรื่อยๆเท่านั้น ต้องชะลอพวกของปลอมเอาไว้บ้าง


สวัสดีค่ะคุณพลศักดิ์
อย่ามาต่อความยาวสาวความยืดกับดิฉันเลย คุณจะเหงาเปล่าๆ จะปลอมหรือไม่ปลอมก็เป็นเพียงแค่ความคิดของคุณ บุคคลที่เหมาะกับคุณมีอยู่แล้วนี่ โน่น ... เข้าไปต่อได้เลย

viewtopic.php?f=1&t=18882

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 15:24
โพสต์: 179


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ มานะ รู้ความหมายคลายกังวล ครับ

.....................................................
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร