วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 16:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดิฉันก็ว่าตัวเองเข้าใจไม่ผิด ว่าเราเอาสัญญามาเป็นสมมุติบัญญัติกัน



สิ่งที่เรียกว่า สัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป แต่บัญญัติว่า สัญญา หาเสื่อมสลายไม่
เพราะสิ่งที่มีภาวะนั้น เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า สัญญา เสมอไป

สิ่งที่เรียกว่า วลัยพร ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป แต่บัญญัติว่า วลัยพร หาเสื่อมสลายไม่ :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นไหมว่า บัญญัติ - ปรมัตถ์ เป็นเรื่องเลย :b32:

อ่านอยู่หรือเปล่าล่ะลิงค์นี้น่ะ

viewtopic.php?f=1&t=19855&start=15

แต่บอกได้เลยว่า don't worry be happy :b32:

บอกได้เลยว่า ไม่สนใจหรอกพวกติดนิมิต ปล่อยให้เขาแพร่มไป ถ้าไม่ได้แพร่ม เดี๋ยวเขาเครียดเอา เรากลัวบาปป :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัญญัติ คือ คำเรียกขาน ชื่อเรียก คำกำหนดที่วางไว้ เช่น ชื่อเรียกว่า พื้นดิน ภูเขา รถ คน ทิศเหนือ
ทิศใต้ หลุม บ่อ เกาะ แหลม เป็นต้น ซึ่งตัวจริงของสิ่งที่บัญญัติเรียกนั้นเป็นของมีจริงก็มี ไม่มีอยู่จริงก็มี แต่จะมี
หรือไม่มีก็ตาม
คำบัญญัตินั้น ก็เป็นกาลวินิมุต คือ ไม่ขึ้นต่อกาล และไม่พินาศ เช่น ช่องว่างที่ลึกลงไปในแผ่นดิน เราเรียกว่า
หลุม ช่องเช่นนั้นมีที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า หลุม คงที่เสมอไป แต่หลุมต่างหากจากช่องในแผ่นดินหามีไม่
และหลุมเองทุกๆหลุมย่อมตื้นเขิน ย่อมพัง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นอื่นได้ หรือ เช่น

สิ่งที่เรียกว่า สัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป แต่บัญญัติว่า สัญญา หาเสื่อมสลายไม่
เพราะสิ่งที่มีภาวะนั้น เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า สัญญา เสมอไป (ถ้าได้ตกลงไว้อย่างนั้น)

หรือ เช่น สิ่งที่เป็นร่างกาย ย่อมทรุดโทรมแตกสลายได้ แต่บัญญัติว่า กาย ย่อมคงที่
ของอย่างนั้น เกิดที่ไหนพบที่ไหน ก็เรียกอย่างนั้นตามบัญญัติ

ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องบัญญัตินี้ อาจงงสับสน เมื่อได้ฟังคำว่า เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง
เป็นต้น โดยจับไม่ถูกว่า เนื้อตัวของเวทนา และ สัญญาไม่เที่ยง หรือ บัญญัติของเวทนาและสัญญาไม่เที่ยง


ปรมัตถ์ ความจริงโดยปรมัตถ์ คือ จริงตามความหมายสูงสุด
ตามความหมายแท้อย่างยิ่ง หรือ ตามความหมายแท้ขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่พอจะกล่าวถึงได้ หรือ พอจะยังพูดให้เข้าใจกันได้ เพื่อสำหรับให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย คือ รู้จักสิ่งเหล่านั้นตามที่มันเป็น และเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด คือ การหยั่งรู้สัจธรรม ที่จะทำให้ความยึดติดถือมั่นหลงผิดทั้งหลายสลายหมดไป
ทำให้วางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง ผ่องใสเบิกบาน มีความสุขที่แท้จริง สิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์ เช่น
นามธรรม รูปธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้สดับคำสอนในพระพุทธศาสนาบางคน เกิดความสับสน เมื่อได้อ่านได้ฟังข้อความ
บางอย่าง เช่น บางแห่งว่า ไม่ควรคบคนพาล ควรคบบัณฑิต คนพาลมีลักษณะอย่างนี้ๆ
บัณฑิตมีลักษณะอย่างนี้ๆ ควรยินดีแต่ของของตน ไม่ควรอยากได้ของของผู้อื่น ดังนี้ เป็นต้น
แต่บางแห่งว่า พึงพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงว่า กายก็แค่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
เราเขา พึงรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนองเรา สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา
ดังนี้ เป็นต้น แล้วมองไปว่า คำสอนในทางพระศาสนาขัดแย้งกันเอง หรือไม่ก็งงแล้วไม่เข้าใจ
หรือ บางคนเข้าใจบ้างแต่ไม่ชัดเจนพอ ทำให้เกิดการปฏิบัติสับสนผิดพลาด ดำเนินชีวิตไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
ในเวลาที่ควรพูดควรปฏิบัติตามความรู้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน กลับพูดหรือปฏิบัติด้วยความยึดถือ
ในความรู้ตามสภาวะ เป็นต้น ทำให้เกิดความวุ่นวายและเสียหาย ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

คัมภีร์ผ่ายอภิธรรม หวังจะช่วยป้องกันความสับสนผิดพลาดเช่นนี้ จึงสอนให้รู้จักแยกสัจจะ
หรือความจริง เป็น ๒ ระดับ กล่าว คือ

๑. สมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมุติ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โวหารสัจจะ ความจริงโดย
โวหารหรือโดยสำนวนพูด) คือ จริงตามมุติร่วมกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือหมายรู้ร่วมกัน
เป็นเครื่องมือสื่อสาร พอให้สำเร็จประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น คน สัตว์ คนดี คนชั่ว โต๊ะ
เก้าอี้ หนังสือ เป็นต้น (Conventional Truth) ตัวอย่างที่พอเทียบให้เห็นเค้า เช่น ภาษาสามัญ
พูดว่า น้ำ ว่าเกลือเป็นต้น


2. ปรมัตถสัจจะ ความจริงโดยปรมัตถ์ คือ จริงตามความหมายสูงสุด ตามความ
หมายแท้อย่างยิ่ง หรือ ตามความหมายแท้ขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่พอจะกล่าวถึงได้
หรือ พอจะยังพูดให้เข้าใจกันได้ เพื่อสำหรับให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเท่าทันความเป็นจริงของสิ่ง
ทั้งหลาย คือ รู้จักสิ่งเหล่านั้นตามที่มันเป็น และเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด คือ การหยั่ง
รู้สัจธรรม ที่จะทำให้ความยึดติดถือมั่นหลงผิดทั้งหลายสลายหมดไป ทำให้วางใจวางท่าที
ต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง
ผ่องใส่ เบิกบาน มีความสุขที่แท้จริง สิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์ เช่น นามธรรม รูปธรรม
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา
ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คุณนำมาโพสทั้งหมดนั้น ดิฉันอ่านแล้วเข้าใจดี คือ แบบว่าเข้าใจอยู่ก่อนแล้วว่าอะไรเป็นอะไร แต่ไม่สามารถนำมาถ่ายทอดให้ชัดเจนได้ แล้วอะไรแปลว่าอะไรนี่เพิ่งจะได้รายละเอียดมากขึ้นในวันนี้ เพียงแต่ว่า เพราะขาดการศึกษา จึงไม่สามารถอธิบายรายละเอียดให้ออกมาเป็นตัวอักษรเมื่อเวลาถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟังนั้น เข้าใจชัดเจนมากขึ้น นี่คือเหตุผลที่เข้ามาที่ลานนี้ เข้ามาเพื่อเก็บเกี่ยว มาเพื่อศึกษาภาษาที่ใช้สื่อความหมายในแง่ของปริยัติ


ผลของการปฏิบัติ เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง ทำให้รู้จักแยกแยะ ทำให้ไม่คิดอะไรที่เข้าข้างตัวเองจนสุดโต่ง ทำให้รู้จักฟังความต้องการของผู้อื่นมากขึ้น คนไหนสนทนาได้ คนไหนสนทนาไม่ได้เพราะทิฏฐิมานะของคนๆนั้นเป็นเหตุ เราก็เลือกได้ที่จะสนทนา ผู้ที่เห็นความเกิด-ดับ แล้วยึดมั่นถือมั่น พวกนี้ยังพอจะแก้ไขตัวเองเขาได้ เพราะสติ สัมปชัญญะดี เขาจึงเห็นการเกิด-ดับได้ แต่พวกที่ติดนิมิตนี่ ยากที่สุด เพราะเท่าที่เจอมาได้สนทนามา พวกนี้จะยึดมั่นถือมั่นในนิมิตมากๆ จนหลงตั้งตัวเองเป็นศาสดาก็มี เวลาคนเหล่านี้พูดจะไม่ค่อยมีคนเข้ามาโต้แย้งด้วย แต่เขาเลือกที่จะเงียบ ยกเว้นพวกที่ติดนิมิตด้วยกัน ก็จะมายกย่องกัน ชื่นชมกัน คนเหล่านี้ล้วนมีวิบากกรรมร่วมกัน แม้แต่ตัวหลวงพ่อสดเอง ท่านไปสอบอารมณ์ไปแก้ที่ติดนิมิตได้ที่วัดมหาธาตุ กับท่านเจ้าคุณโชดก หลวงพ่อสดท่านยังยอมรับเลยว่า ท่านเป็นขี้ข้านิมิตอยู่นาน เสียดายที่ท่านมรณภาพไปก่อน ดิฉันเองก็เคยติดนิมิต ไม่ใช่ไม่เคยติด เคยได้สนทนากับพระพุทธเจ้า เห็นพระองค์ในสภาพที่สวยงามเกินบรรยาย ได้ไปเที่ยวสวรรค์ไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง ไปเที่ยวนรก ไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง ผีหรือวิญญาณนี่เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เหตุทั้งหมดเกิดจากพลังของสมาธิ แม้แต่พระแม่กวนอิมก็เคยเห็นในนิมิต เพราะไปได้อาจารย์ที่สอนเรานั้น ท่านยึดในนิมิต นี่คือกรรมที่เราได้เคยทำร่วมกับอาจารย์ท่านนี้มา แต่เพราะกุศลยังมี มาเจอหลวงพ่อจรัญ ที่สอนแนวสติปัฏฐาน ๔ เมื่อปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เลยหลุดจากนิมิตได้ เมื่อหลุดจากนิมิต ทำให้การปฏิบัติมีแต่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

เรื่องการคบคนนี่เรื่องจริง เราควรคบกับคนที่เป็นกัลยาณมิตร คือผู้ที่รู้กว่าเรา เช่น ครูบาฯ และผู้ที่ศึกษาและรู้ปริยัติมากกว่าเรา เราย่อมเป็นผู้ได้ประโยชน์ เหมือนมีอาวุธที่ยังใช้งานไม่ค่อยเป็น นำมาลับให้คมมากขึ้น สามารถใช้งานได้มากขึ้น และถูกต้อง ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติด้วยกัน ผู้ปฏิบัติด้วยกัน เรามองเพียงว่า เป็นญาติธรรมกัน แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันเท่านั้นเอง ส่วนการปฏิบัตินั้นเป็นของใครของมัน คุยได้ก็คุย คุยไม่ได้ก็ไม่คุย ไม่ติดใจ เพราะนั่นก็รู้ของเขาในระดับหนึ่ง เขาย่อมยึดมั่นถือมั่นเป็นธรรมดา

คนเราหากรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แม้กระทั่งคำที่เขาติติงมาก็ต้องนำมาพิจรณา เราต้องย้อนกลับมาดูว่าเราพลาดไปตรงไหน เราสามารถแก้ไขตัวเองใหม่ได้ ปรับตัวเข้าหาผู้อื่นได้ เราย่อมเป็นผู้ได้ประโยชน์ มากกว่าที่จะเสียประโยชน์ เสียประโยชน์ในที่นี้คือ ก่ออกุศลกรรมใหม่ให้เกิดไม่รู้จบ

ท่านมหา ( กัลยาณมิตร ) เคยเข้ามาในลานนี้ เคยบอกดิฉันไว้ว่า คนนี้ก็คือคุณกรัชกาย ท่านบอกว่า คนนี้คุณคุยและศึกษาข้อมูลจากเขาได้นะ ค่อนข้างใช้ได้ ถึงแม้บางทีอาจจะสุดโต่งไปบ้าง ดิฉันมีทั้งครูบาฯที่คล่องแคล่วในพระไตรปิฎก ทั้งพระอภิธรรม ( พระอาจารย์ปรีชา วัดนาค บางปะหัน ที่เคยเล่าให้ฟัง ) ทั้งมีท่านมหา ฉะนั้นการที่ดิฉันเข้ามาสนทนาในลานนี้ ดิฉันเก็บเกี่ยวไว้หมด สงสัยติดขัดตรงไหน ใช่ว่าจะเชื่อทุกคน คือฟัง รับรู้ เก็บข้อมูล แล้วไปถามครูบาฯกับท่านมหาอีกที ซึ่งนานมากกว่าจะได้ไปแต่ละครั้ง เป็นความโชคดีที่เป็นคนไม่ค่อยเป็นคนขี้สงสัย คือ ฟังสักแต่ว่าฟัง คือแค่ฟังท่านพูด แต่ไม่เคยมาสงสัยว่าจริงหรือไม่ แล้วก็ไม่เคยยึดถือในคำที่ท่านบอก บางทีไปถกกับท่านในบางเรื่อง ท่านก็เมตตามากๆ ไม่เคยมองว่าเราเป็นผู้หญิง แล้วไปถกกับท่านได้ยังไง เหมือนเรื่องการใช้ " หนอ " เราเองก็เคยถกกับท่าน ท่านสอนแนวสติปัฏฐาน ๔ แต่ใช้รูป นาม เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ ท่านไม่ให้ใช้ " หนอ " เราก็ถกกับท่านว่า พระอาจารย์ " หนอ " ก็ใช่ว่าไม่ดีนี่คะ บางคนก้าวไม่ได้ ก็ต้องมีที่เกาะ ซึ่งตัวดิฉันเองก็เป็นหนึ่งในนั้นที่เคยใช้ " หนอ " จากเคยมี " หนอ " แล้ว " หนอ " หายไปเอง เนื่องจากการเจริญสติปัฏฐานนั่นเอง ท่านก็ยิ้มๆ ไม่ว่าอะไร คนก็อยู่เต็มกุฏิ คนเราเมื่อเจริญสติมากๆ วันใดสติ สัมปชัญญะเข้าแข็ง มันก็จะมีแต่รู้กับรู้มากขึ้น รู้นี่รู้ในตัว ไม่ใช่ไปรู้นอกตัว เที่ยวไปฟุ้งซ่าน เที่ยวไปสอนชาวบ้าน รู้แบบนั้น มันไม่ใช่ อันนั้นมันยึดในสิ่งที่ตัวเองคิดว่า ตัวเองรู้ มันเป็นเพียงแค่ความคิดของคนๆนั้นเท่านั้นเอง

ที่นำเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาปริยัติ การคบกัลยาณมิตร มาโพสตรงนี้ ไม่ไปโพสที่กระทู้นี้

viewtopic.php?f=1&t=19855&start=15

เนื่องจากว่า ไม่อยากให้กระทู้ทางโน้นยาวเกินไป ทางนี้ยาวไม่เป็นไร เพราะมันยาวอยู่แล้ว กระทู้ทางโน้น ต้องการแค่แบ่งปันในแง่ของการปฏิบัติเท่านั้น ไม่ได้คิดจะสอนใคร เผื่อใครสนใจลองทำดูหรือไม่ทำก็ไม่เคยคิดติดตามใคร แล้วก็ไม่เคยบังคับใครด้วยว่า ต้องทำแบบนี้นะ เพื่อเป็นไปแนวทางเดียวกัน คนเราต้องเปิดใจให้กว้าง ควรรับฟังผู้อื่นบ้าง ทิฏฐิมานะ มีได้ แต่ควรมีพอประมาณ แรงมากนัก ก็มีแต่ตัวเองเสียผลประโยชน์ ไหนๆเสียเวลาเข้ามาลานนี้ มาสนทนาที่นี่ เวลามีแต่จะผ่านไป ก็ควรใช้ให้คุ้มค่า ควรสร้างแต่กุศลจิตให้เกิดกับตัวเอง ไม่ใช่ขนเอาแต่อกุศลจิตกลับไป เพราะเราเองก็เคยเป็นแบบคนเหล่านี้ ไม่ใช่ไม่เคยเป็น จึงค่อนข้างเข้าใจคนเหล่านี้พอสมควร วันใดกุศลใหม่ที่เขาสร้างมีกำลังมากพอ เขาย่อมหลุดจากนิมิตนั้นได้ เขาจะพบครูบาฯที่มานำเขาให้ปฏิบัติได้ก้าวหน้าต่อไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่คนเหล่านี้สร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย ในอดีตดิฉันเองก็ติดนิมิต แต่ทิฏฐิมานะ ไม่รุนแรงมากแบบคนเหล่านี้ กุศลใหม่ที่ทำเลยส่งผลให้เกิดเร็ว ก็ 10 ปีนะ ขนาดส่งผลเร็ว

ขอบอกว่า ผู้ปฏิบัติเมื่อผ่านมาถึงจุดๆหนึ่งแล้ว จะรู้และพูดเหมือนกันหมดว่า สติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นทางที่พาคุณสู่มรรคผล นิพพานได้แน่นอน แล้วปฏิบัติด้านนี้ รับรองไม่มีการติดนิมิตแน่นอน ถึงอาจจะไปติดอุปกิเลสตัวอื่น ก็ยังแก้ได้เร็วกว่าติดนิมิต การเป็นผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติย่อมก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม

เท่านี้แหละที่ต้องการพูด ยาวเลย :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เราเอาสัญญามาเป็นสมมุติบัญญัติกัน เหมือนคนที่ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ก็เอาสัญญา
มาภาวนา


สมมุติ บัญญัติ ภาวนา สัญญา พอง - ยุบ -หนอ

สมมุติ บัญญัติ ว่าไปแล้ว

ต่อไปจะช่วยขยายความศัพท์ที่เหลือเพื่อให้เห็นอรรถ แล้วตัดสินใจเองว่าตรงกับความเข้าใจตนไหม เฉพาะคำว่าสัญญา

โยคีผู้กำหนดรู้สภาวธรรมแต่ละขณะๆ เช่น พองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ฟุ้งซ่านหนอ
ทุกข์หนอ สุขหนอ เห็นหนอ ง่วงหนอ เป็นต้น คือการสร้างกุศลสัญญา หรือสัญญาที่ให้เกิดความรู้
(=วิชชาภาคิยสัญญา)

ภาวนา -การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน การบำเพ็ญ การอบรม หรือฝึกปรือ
ภาวนามี ๓ อย่าง คือ
กายภาวนา-ฝึกอบรมกาย
จิตภาวนา –ฝึกอบรมจิต
ปัญญาภาวนา-ฝึกอบรมปัญญา (ที.ปา.11/228/231)
ภาวนาแบ่งละเอียดเป็น ๔ (เติมศีลภาวนา เป็นข้อ ๒)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือ หมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆ ได้

สัญญา กำหนดหมาย หรือ หมายรู้อารมณ์เอาไว้ เมื่อประสบอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่าตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่า จำได้
ถ้ามีข้อแตกต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้ หรือ หมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่น ใช่นี่ (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี
สิ่งที่กำหนดหมายเอาไว้ (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี เรียกว่า สัญญา ตรงกับความจำในแง่
ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความจำ

ลักษณะสำคัญของสัญญาคือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏตัวอยู่
ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น

สัญญา เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะ ทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียกและสมมุติบัญญัติต่างๆ เช่นว่า เขียว ขาว ดำ แดง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู ปลา แมว คน เขา เรา ท่าน เป็นต้น
การหมายรู้หรือกำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่ากับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่
ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เช่น พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว ได้ยินเสียงที่เคยได้ยินแล้ว ตัวอย่าง นาย ก. รู้จักนายเขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียวอีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียกว่า จำได้

ถ้าประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เราย่อมนำเอาประสบการณ์หรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกันและไม่เหมือนกันในส่วนไหน อย่างไร แล้วกำหนดหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่าหรือตามที่ตนกำหนดเอาว่าเป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นี่ อย่างนี้เรียกว่า กำหนดหมาย หรือ
หมายรู้
การกำหนดหมายรู้เช่นนี้ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วยความรู้สามัญบ้าง เช่นว่า เขียว ขาว ดำ แดง เป็นต้น ตามนิยมของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรมประเพณี เป็นต้นบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สุภาพ อย่างนี้สวยงาม อย่างนั้นถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียมเป็นต้น
ตามนิยมและปรุงแต่งจำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม เป็นต้น ตลอดจนตามการศึกษาอบรมในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมายรู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น
มีทั้งความหมายรู้สามัญและความหมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากยิ่งขึ้น) มีทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรม และหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม

พูดเพื่อเข้าใจกันอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั่นเอง

สัญญาเกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์
จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเองและห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้
ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านแยกสัญญาเป็น ๒ ระดับ คือ

สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไปอยู่ตามปกติธรรมดาของมัน
อย่างหนึ่ง
และสัญญาสืบทอดหรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง
“ปปัญจสัญญา” อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ซับซ้อนพิสดารด้วยแรงผลักดัน
ของตัณหามานะและทิฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำในฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง

-สัญญาซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกว่า ปปัญจสัญญา หรือสัญญาซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฐิ
เรียกอีกอย่างหนึ่ง ตามสำนวนอรรถกถาว่า กิเลสสัญญา แปลว่า สัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือสัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส (ม.อ.2/98 ; สํ.อ. 3/33) สัญญาพวกนี้ถูกกิเลสปรุงแต่งให้ฟั่นเฝือและห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้ ไม่เป็นเรื่องของความรู้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ
โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้


-สัญญาที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือเกิดจากความรู้ความเข้าใจถูกต้อง
เรียกว่า กุศลสัญญา บ้าง วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้าง
เป็นสัญญาที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญาและความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็นของ
ไม่เที่ยงภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น

พระอรหันต์ ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจากอาสวะ คือสัญญาไร้กิเลส พระอรหันต์ก็หมายรู้ปปัญจสัญญาตามที่ปุถุชนเข้าใจ หรือตามที่ท่านเองเคยเข้าใจเมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แต่ท่านหมายรู้เพียงเพื่อเป็นความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ เช่นในการช่วยแก้ไขปัญหาของผู้อื่น ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตน
ออกรับความกระทบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คนที่ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ก็เอาสัญญามาภาวนา



มรรค หรือ มรรคา แปลว่า ทาง, หนทาง ในที่นี้ได้แก่ ข้อปฏิบัติ หรือ วิธีปฏิบัติ
โดยใช้ อาการพองกับยุบของรูปหรือของกายตนเป็นกรรมฐาน แล้วภาวนาพอง-ยุบ พอง-ยุบ พอง-ยุบ
ตามอาการแต่ละขณะๆนั้น

แต่ทีนี้ ธรรมชาติ (คือ ลมหายใจเข้าออก = พอง-ยุบ) มียาว มีสิ้น
บางขณะเข้ายาวบางขณะสั้น บางขณะเข้าสั้นบางขณะยาว บางขณะก็สั้นทั้งเข้าทั้งออก บางขณะละเอียดเหมือนพอง-ยุบหายไป ฯลฯ ไม่แน่นอนตายตัว มันเปลี่ยนทุกลมหายใจ (ขณะนั้นจิตหรือความคิดก็เปลี่ยน)

แต่ขณะลมเข้า-ออกยาว ภาวนาว่าพอง ว่ายุบ คำเดียวสั้นไป ยังไม่สุดพองสุดยุบ
ก็เสริมคำ หนอ ร่วมอีกคำหนึ่ง เพื่อให้พอดีกับพองกับยุบที่ยาวตามลมเข้า-ออกขณะนั้น

แต่ขณะอาการพอง-ยุบสั้น ภาวนาหนอเข้าด้วย ยาวไปอีกแล้ว ก็ไม่ต้องเอาหนอเข้ามา
ก็เท่านี้วิธีปฏิบัติมีหนอไม่มีหนอ

มีหลายที่ (รวมทั้งที่สอน หนอ เองบางแห่งด้วย) ซึ่งไม่เข้าใจมรรคหรือวิธีปฏิบัติ
ก็ตั้งกำแพงกั้นโดยกล่าวว่า หนอ เป็นของพม่าพากันอธิบายไปใหญ่

เมื่อว่าตามศัพท์ “หนอ” เป็นภาษาบาลี (ไม่ใช่ภาษาพม่า แต่พม่านำมาใช้เป็นอุบายปฏิบัติดังกล่าว) หนอเป็นคำอุทาน หรือ อุทานธรรม พระพุทธเจ้าก็ใช้บ่อย และสาวกก็ใช้เมื่อประสบกับความสุขที่ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น พระมหากัปปินะที่อุทานธรรมว่า สุขหนอๆ
ผู้ไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติก็ติดศัพท์ ติดรูปแบบ

กรัชกายเห็นว่า เราติดหนอกันแล้ว จึงพูดทิ้งเพื่อให้คลายความยึดมั่นข้อปฏิบัติเสียว่า
เมื่อ ”หนอ” มีปัญหาก็เอา “แหน่” แทน หนอ เลย บางรายตกใจ บางรายว่าเป็นมุก
ส่วนคุณก็ใจตุ๋มๆต่อมๆ เอาอีกแล้ว กรัชกายปิดวิกเล่นลิเกอีกแล้ว :b9:

สรุปอีกครั้ง หนอ จะเอาไม่เอา อยู่ที่ลมหายใจ (พอง-ยุบ) ขณะนั้นๆ ยาวหรือสั้นดังกล่าวแล้ว
ดังนั้นที่คุณว่า (คนที่ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ก็เอาสัญญามาภาวนา)
นี่ก็เข้าใจผิด ไม่ใช่เอาสัญญามาภาวนา :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รอบนี้ ทายผิดค่ะ ใจไม่มีอาการตุ๋มๆต่อมๆแล้วล่ะค่ะ เฉยๆค่ะ บอกแล้วว่า ยินดีรับฟังในเหตุผลที่อ้างอิงมา :b16:

สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือ หมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆ ได้


แล้วอาการพอง - ยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ถ้าเราไม่มีสัญญา เราจะรู้หรือคะว่า นี่คือ อาการพองหรือยุบ แล้วไม่ถูกหรือคะที่บอกว่า เราเอาสัญญาอาการพอง - ยุบ มาเป็นอารมณ์ในการเจริญสติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กายจ๋า :b32:

คุณนี่ .. จริงๆเลย เข้าไปทำอะไรในกระทู้นี้

viewtopic.php?f=1&t=19855&start=15

แทนที่เข้ามาแล้ว จะมาตอบคำถาม :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วอาการพอง - ยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ถ้าเราไม่มีสัญญา เราจะรู้หรือคะว่า นี่คือ อาการพอง หรือยุบ แล้วไม่ถูกหรือคะที่บอกว่า เราเอาสัญญาอาการพอง - ยุบ มาเป็นอารมณ์ในการเจริญสติ


เดิมคุณว่า =>(...ก็เอาสัญญามาภาวนา) พูดคลุมๆว่า
เอาสัญญามาภาวนา :b1:

กรัชกายแย้งว่า “ไม่ใช่เอาสัญญามาภาวนา”
ควรพูดใหม่ว่า ภาวนาอาการพอง-ยุบ หรือ กำหนดอาการพอง-ยุบ เป็นต้น

พูดให้เห็นแง่ถูก-ผิดชัดก็ว่า ไม่ใช่กำหนดสัญญา กำหนดอาการพอง-ยุบ

เพื่อให้เห็นชัดขึ้นอีก จะใช้อิริยาบถเดินให้ดู โยคีกำหนดอาการเดิน เช่น ซ้าย ย่าง ไป ขวา ย่าง ไป
ฯลฯ กำหนดอาการเดิน มิใช่กำหนดสัญญา หรือ ภาวนาสัญญา หรือเอาสัญญามาภาวนา :b28:

ขณะนั้นๆ สติกับสัมปชัญญะเป็นต้น ทำงานกันอยู่
(ศึกษาการบทบาทของสติ-สัมปชัญญะ-อารมณ์)
-สติ - การนึกไว้, การคุมจิตไว้กับอารมณ์, การคุมจิตไว้กับกิจ (สิ่ง) ที่กำลังกระทำ
-สัมปชัญญะ - การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้, การรู้ชัดกิจที่กำลังกระทำนั้น

-สติ คุมจิตอยู่อารมณ์ ในที่นี้ คือ พอง-ยุบ
-สัมปชัญญะ ก็รู้ชัดอารมณ์ คือ พอง-ยุบ ที่สตินึกอยู่ หรือ จับอยู่นั้น

อันว่า สัญญาก็จำอารมณ์ หรือ บันทึกสภาวธรรมทั้งหลายไว้
พูดให้ง่ายก็ว่า องค์ธรรมดังกล่าว ทำงานสอดประสานกัน เป็นเหตุปัจจัยแก่กัน
...ยังมีสมาธิ เป็นต้น อีกด้วยนะอย่าลืม :b12:


แต่ คห ถัดมา คุณขยายความออกไปหน่อยว่า (แล้วอาการพอง - ยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ถ้าเราไม่มีสัญญา เราจะรู้หรือคะว่า นี่คือ อาการพอง หรือยุบ แล้วไม่ถูกหรือคะ ที่บอกว่า เราเอาสัญญาอาการพอง - ยุบ มาเป็นอารมณ์ในการเจริญสติ)

นี้ ถูก-ผิดประการใดทบทวนดูเองเมื่อนำฐานเจริญสติทั้ง ๔ ฐาน วางเทียบเคียง ให้ดูถัดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2009, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อไม่ให้คลุมเครือ (จนเกิดหลุมดำ ณ ภายใน :b9: ) ขอกล่าวเกี่ยวกับฐานในการเจริญสติต่อซักเล็กน้อยเพื่อให้เห็นเค้าโครงของเรื่อง

กาย - ตามดูรู้ทันกาย คือ อิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย (นี่ก็เป็นฐานเจริญสติ เป็นต้น)
เวทนา - ตามดูรู้ทันเวทนา (นี่ก็เป็นฐานเจริญสติ...)
จิต -ตามดูรู้ทันจิต (นี่ก็ฐานเจริญสติ...)
ธรรม - ตามดูรู้ทันธรรม ได้แก่นิวรณ์ธรรม (นี่ก็ฐานเจริญสติ...)

เฉพาะข้อ กาย (หรือรูป) - ในขณะนั่งใช้พอง-ยุบ + รูปนั่ง ก็นั่งกำหนดอาการพอง-ยุบ
เป็นหลัก (พ้นจากนั้นก็ใช้อิริยาบถอื่นๆ ที่เป็นปัจจุบันขณะเป็นฐานเจริญสติ...)

ส่วนข้อที่เหลือ กำหนดตามอาการเมื่อเกิด มิใช่ไล่ปฏิบัติหรือทำทีละข้อๆ ตามลำดับ :b42: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2009, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ที่กล่าวมา อยู่ในขั้นแต่งองค์ทรงเครื่อง ยังทันออกเล่นหน้าเวทีเลย ยังยุ่งยากขนาดนั้น หากออกแสดงหน้าเวที (รบกับกิเลส) จะซักขนาดไหนนะคุณวลัยพร :b12:

ดูตัวอย่างผู้แสดงสักรายหนึ่งเอารายธรรมดาให้ดู



ดิฉันไปฝึกกรรมฐานมา 7 วัน ก็มีเดินจงกรม และ นั่งสมาธิ แล้วกลับมาทำที่บ้านเอง โดยจะใช้เวลาเดินจงกรม 1 ชั่วโมง และนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง และมีอาการดังนี้ค่ะ

1. เวลาเดินจงกรมเมื่อกำหนด "ยืนหนอ" จากหน้าผากไปสู่ปลายเท้า จากไปเท้าไปสูหน้าผาก รู้สึกว่าที่บริเวณหน้าผากจะหนัก ๆ เวลาหายใจรู้สึกว่าตรงที่มันหนัก ๆ มันไหลขึ้นไหลลงค่ะ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการเพ่งกายมากไปหรือปล่าวคะ แล้วจะต้องแก้ไขยังไง แต่เวลานั่งจะเป็นแต่ช่วงแรก ๆ ที่จะเข้าสมาธิใหม่ ๆ หลังจากนั้นก็จะไม่เป็นอะไร

2. ขณะที่เดินจงกรม มักมีอาการเวียนหัว ถ้าเดินช้ามากจะมีอาการเซ จะแก้ไขอย่างไรคะ

3. เวลานอนรู้สึกเหมือนตัวเบาหวิว ๆ และจะรู้สึกตัวเวลาที่นอนดิ้นค่ะ เลยต้องกำหนด "ยุบ-พองหนอ" ถูกหรือไม่คะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ใช่อารยะ ขัดขืน แต่ขอพิจรณาคำพูดก่อน ว่า มันต่างกันตรงไหน ระหว่าง

แล้วอาการพอง - ยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ถ้าเราไม่มีสัญญา เราจะรู้หรือคะว่า นี่คือ อาการพอง หรือยุบ แล้วไม่ถูกหรือคะที่บอกว่า เราเอาสัญญาอาการพอง - ยุบ มาเป็นอารมณ์ในการเจริญสติ

กับ

กรัชกายแย้งว่า “ไม่ใช่เอาสัญญามาภาวนา”
ควรพูดใหม่ว่า ภาวนาอาการพอง-ยุบ หรือ กำหนดอาการพอง-ยุบ เป็นต้น

พูดให้เห็นแง่ถูก-ผิดชัดก็ว่า ไม่ใช่กำหนดสัญญา กำหนดอาการพอง-ยุบ

:b6:

ก็ไม่ได้พูดว่า กำหนดสัญญา นี่นา เพียงแต่พูดว่า เอาสัญญา

พอก่อน ไว้มาสนทนาใหม่ ไม่ได้เอาชนะ แต่มันน่าจะเคลียร์กว่านี้ ภาษาไทย วันละคำ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร