วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 03:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ส.ค. 2008, 10:16
โพสต์: 9

ที่อยู่: ตรัง

 ข้อมูลส่วนตัว


มีผู้รู้กล่าวว่า "การปฏิบัติตนของหลายต่อหลายท่านยึดรูปแบบ ยึดหลัก จนติดในหลักดังกล่าวแล้วถอนตัวไม่ได้ ซ้ำยังกลายเป็นคนดื้อแพ่ง กลายเป็นน้ำเต็มแก้วที่ไม่รับรู้สิ่งใด นั้นคือการติดธรรม"

หากสังเกตให้ดีเป็นเรื่องเดียวกันกับการติดดีอย่างที่พระอาจารย์หลายท่านได้กล่าวไว้ และเป็นการพาตัวเองสู่ทางตัน คำกล่าวของท่านพุทธทาสฯ ได้กล่าวไว้ว่า สัพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย เห็นได้ว่าเป็นจริงและง่ายต่อการเข้าใจ มีเกิด มีตั้ง มีดับ ไม่มีอันใดเที่ยงแท้ วันเวลายังเป็นเช้า เที่ยง เย็น ค่ำคืน ไม่ได้เที่ยงทุกเวลา ทำความดี ละความชั่ว ทำให้บริสุทธ์ สู่หลุดพ้น

.....................................................
จิตเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2009, 10:41
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


วางธรรมสู่ธรรม
เทพกระบี่ไม่เคยยึดกระบี่

.....................................................
ไร้กระบี่ ไร้ใจ คือเรา เทพกระบี่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่ายึดถือติดแน่นในธรรม แต่จงใช้เพียงเป็นเครื่องมือ

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ไปพบแม่น้ำใหญ่ :
ฝั่งข้างนี้ก็เต็มไปด้วยอันตรายน่ารังเกียจ น่ากลัว ฝั่งข้างโน้นปลอดภัย.
แต่เรือหรือสะพานสำหรับข้าม ไม่มีเพื่อจะข้ามไป. เขาใคร่ครวญเห็นเหตุนี้แล้ว คิดสืบไปว่า
"กระนั้นเราพึงรวบรวมหญ้าแห้ง ไม้แห้ง กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้ว
พยายามเอาด้วยมือและเท้า ก็จะพึงข้ามไปโดยสวัสดี,"
บุรุษนั้น ครั้นทำดังนั้นและข้ามไปได้โดยสวัสดีแล้ว ลังเลว่า
"แพนี้ มีอุปการะแก่เราเป็นอันมาก ถ้าไฉนเราจักทูนไปด้วยศีรษะ หรือแบกไปด้วยบ่า พาไปด้วยกัน" ดังนี้.
ภิกษุ ท.!พวกท่านจะสำคัญว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจักทำอย่างนั้น เชียวหรือ?
"พระองค์ผู้เจริญ! ข้อนั้นหามิได้".
ภิกษุ ท.! เขาพึงทำอย่างไร :
ถ้าไฉน เขาจะพึงคร่ามันขึ้นบก หรือปล่อยให้ลอยไปในน้ำ, ส่วนเขาเอง ก็หลีกไปตามปรารถนาเท่านั้นเอง : นี้ฉันใด;
ธรรมที่เราแสดงแล้ว ก็เพื่อรื้อถอนตนออกจากทุกข์
ไม่ใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ เปรียบได้กับพ่วงแพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท.!
ท่านทั้งหลายผู้ได้ฟังธรรมอันเราแสดงแล้ว อันเปรียบด้วยพ่วงแพ ควรละธรรม
ทั้งหลายเสีย และป่วยกล่าวทำไมถึงสิ่งไม่ใช่ธรรม.
- มู. ม. ๑๒/๒๗๐/๒๘๐.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วางธรรมสู่ธรรม



ชอบคำนี้จังเลยครับ แต่จะต้องทำอย่างไรครับวางธรรมสู่ธรรม อธิบายหน่อยดิ นะ นะฮะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


เทพกระบี่ เขียน:
เทพกระบี่ไม่เคยยึดกระบี่


ขอเป็นเพลงกระบี่23 หน่อยสิครับ :b9:

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 01:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยึดธรรม ติดธรรม
ก็กล่าวได้ว่า มีดีก็มี มีดีน้อยก็มี
การยึดธรรมติดธรรม ก็เป็นเพราะ อธิโมกข์ เป็นเหตุให้เิกิดปุญญาภิสังขาร
ติดธรรมไม่ใช่ข้อเสียหายกระไร หากว่าปัญญาในการเจริญธรรมต่อไปยังไม่เข้มแข็งเพียงพอ

ละอกุศล ด้วยธรรมอันเป็นกามาวจรกุศล
ละกามาวจรกุศล ด้วยโสดาปัตติมรรค ผล
ละโสดาปัติผลด้วย สกทาคามีมรรค ผล
ละสกทาคามีผล ด้วยอนาคามีมรรค ผล
ละอนาคามีผล ด้วยอรหัตมรรค ผล

การยึดธรรมติดธรรม ก็ดีกว่า ยึดอกุศลด้วยประการทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การยึดธรรมติดธรรม ก็ดีกว่า ยึดอกุศลด้วยประการทั้งปวง


ท่านทั้งหลายครับ

อกุศลก็คือธรรมอย่างหนึ่งหรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 02:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตาเมส ถามสั้นจัง ^U^**

ธรรม คือ กามาวจรกุศล
ธรรม คือ รูปาวจรกุศล
ธรรมคือ อรูปาวจรกุศล
ธรรม คือ มัคคจิต ผลจิต

อกุศล คือ อะ-ธรรม :)

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา

ถ้าอกุศลเป็นธรรม
ผู้ใดเห็นอกุศลผู้นั้นเห็นเรา --- ฮริ ฮริ แล้วจะถูกไม๊ล่ะ อืมม์ น่าคิด ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น

ธรรม มีความหมายเพียงแค่นั้นหรือ

แล้ว กฎแห่งธรรมชาติ

สังขตะรรม

อสังขตธรรม

ธรรมชาติ

ใช่ธรรมหรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อกุศล คือ อะ-ธรรม


คุณเช่นนั้นช่วยยกข้ออ้างอิงคำว่าอธรรมจากพระไตรปิฎกเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผมผู้รู้น้อยด้วยครับ

ขอบพระคุณครับ

และอยากจะทราบว่าถ้าอธรรมไม่ใช่ธรรม อธรรมจะเป็นอะไร

จำเป็นหรือที่ถ้าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราแล้วอธรรมจะเป็นธรรมไม่ได้

การเห็นอธรรมก็คือการเห็นธรรมอย่างหนึ่ง

อย่างการรักษาศีลเป็นต้น

จริงไหม

ตาเช่นนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตาเมส ^U^** เราเป็น ตา กันทั้งคู่แล้วเน๊อะ คงแก่ขึ้นเป็นกอง 555
ดีเหมือนกัน ได้สนทนากันเรื่องเก่าๆ เรื่องธรรม
ตาเมส ก็มาคิดเหมือนกัน ว่า ธรรม ก็น่าจะเป็น ธรรมชาติ เป็นสังขตะ เป็นอสังขตะ เป็นอธรรม
และยังให้คอมเม๊นท์เพิ่มเติมว่า "จำเป็นหรือที่ถ้าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราแล้วอธรรมจะเป็นธรรมไม่ได้
การเห็นอธรรมก็คือการเห็นธรรมอย่างหนึ่ง อย่างการรักษาศีลเป็นต้น"

ตาเช่นนั้น ฮริฮริ หมายเอา อรหัตมัคจิต อรหัตผลจิต อันเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้คนพ้นจากทุกข์

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ธรรมเป็นกุศล
ธรรมเป็นอกุศล
ธรรมเป็นอัพยากต

เช่นนั้นหมายเอา ผู้ใดเห็นอรหัตมัคจิตอรหัตผลจิต ผู้นั้นเห็นเราตถาคต

พระพุทธองค์ทรงสอนเพื่อให้คนพ้นจากทุกข์ ตลอดพระชนม์ชีพก็ตรัสสอน มัค4 ผล4 นิพพาน โดยตลอด อันเป็นจุดหมายสูงสุด

เช่นนั้น ก็ไม่ได้บอกว่า อกุศลไม่ใช่ธรรม อกุศลเป็น อะ-ธรรม อะ-ธรรม ก็เป็นอกุศลจิต

อรหัตผลจิต เป็นสังขาร เป็นสังขตะ
นิพพาน เป็นอสังขตะ
ดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ สิ้นเชิง ก็นิพพานคือดับแล้วดับเลย เป็นอสังขตะ
เมื่อดับขันธ์ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระอรหันต์ก็จุติแต่ไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา คิดกันต่อไปอีก

ธรรมคือธรรมชาติหรือเปล่า
มีบางคนว่าใช่
มีบางคนว่าไม่ใช่
พอดี๊้ พอดี เช่นนั้นว่าไม่ใช่ มันกว้างไป ไม่มีประโยชน์ซะเท่าไหร่ เช่นนั้นเอาแค่
ธรรมเป็นกุศล
ธรรมเป็นอกุศล
ธรรมเป็นอัพยากต
อกุศล คือ อะ-ธรรม
เห็นธรรม คือเห็นกุศลธรรม
ที่ว่าเห็น ก็ประมาณว่า มีดวงตาเห็นธรรม บรรลุธรรม
ปฏิบัติธรรม คืออบรมจิตให้ตั้งอยู่ในกองกุศลธรรม
สรุป ธรรม ในความหมายที่เช่นนั้นใช้เป็นหลักในการอบรมจิต อย่างน้อยก็คือธรรม คือกุศล

ตาเมสก็ยกมาตัวอย่างหนึ่งก็ดีเหมือนกันน๊ะ รักษาศีล
รักษาศีล อันเป็นโลกียะ ก็ เป็นกามาวจรกุศล มีผลเป็นกามวจรกุศลวิบาก
รักษาศีลอันเป็นโลกุตตระ ก็เป็นโลกกุตระกุศล มีผลเป็นโลกุตตระผล

ถ้าเป็น กุศล ดีทั้งนั้น เป็นธรรมในความเห็นเช่นนั้น ไม่ใช่อกุศลซึ่งเป็น อะ-ธรรม ^U^**

อืมม์ อีกอย่างหนึ่งในบอร์ดนี้ เป็นการสนทนาธรรมทั่วไป ถ้าไม่จำเป็นมากมายขนาดบิดเบือนคำสอนจนรัับไม่ได้ เช่นนั้น ก็คงไม่ ctr C ก๊อปพระไตรมาแปะอ่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 09:06
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง แม้กระทั่งพระธรรม หากท่านต้องการถึงนิพพาน :b4: :b4: :b4: :b4: โปรดพิจารณาด้วยตนเอง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติท่านต้องปฏิบัติด้วยตนเอง อย่าเชื่อจนกว่าจะปฏิบัติแล้วพิสูจน์ได้ว่าดีจริง ตามหลักกาลมาสูตร :b24: :b24: :b24: :b53: :b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

จริงไหม
ตาเช่นนั้น


อ้างคำพูด:
ตาเมส ^U^** เราเป็น ตา กันทั้งคู่แล้วเน๊อะ คงแก่ขึ้นเป็นกอง 555
ดีเหมือนกัน ได้สนทนากันเรื่องเก่าๆ เรื่องธรรม



สวัสดี คร้าบ คุณตาทั้งสอง :b8:
มิตรภาพซึ่งลางเลือนไปนาน กลับมาสว่างไหวอีกครั้งแล้วนะขอรับ คิกคิกคิก :b32:
หลานขออนุญาตฟังคุณตาสนทนาธรรมกันนะขอรับ :b42: :b38:

ฟังธรรมด้วยฟังเพลงไปด้วย

http://board.sae-dang.com/ReadTopic.php?no=4155

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาที่เรายึดติดอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ใจจะมีความห่วง มีความกังวลคอยคิดอยู่เรื่อยว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เรารัก ที่เราชอบ ยังอยู่กับเราหรือเปล่าแล้วจะอยู่กับเราไปได้นานสักแค่ไหน เรื่องเหล่านี้นั้นล้วนเป็นการสร้างความเครียดให้กับใจ สร้างความวิตก สร้างความกังวล ทำให้ใจไม่สงบไม่นิ่งเพราะความหลงนั่นเอง แต่ถ้าได้ลองมาปฏิบัติธรรมแล้ว ใจจะเริ่มก้าวเข้าสู่ความสงบ จะเริ่มเห็นความสุขที่เกิดจากความสงบของใจแล้วจะเข้าใจเห็นโทษของการไปหลง ไปยึด ไปติดกับสิ่งต่าง ๆ ภายนอกเพราะล้วนเป็นโทษทั้งสิ้น ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่มีอะไรที่เป็นความสุขที่แท้จริง เราอาจจะมีความสุขในขณะที่ได้สัมผัส ได้อยู่ได้ใกล้ชิดสิ่งเหล่านั้น แต่เราหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้น ไม่สามารถที่จะอยู่ใกล้ชิดกับเราไปได้ตลอดเพราะโดยธรรมชาติของตัวเราเองก็ดี หรือของสิ่งต่าง ๆ ก็ดี ล้วนเป็นของไม่เที่ยง คือมีอายุขัย ไม่อยู่ไปตลอด ชีวิตเราอยู่ไปได้ไม่กี่ปีก็ต้องจากทุกสิ่งทุกอย่างไป ถ้าเขาไม่จากเราไปก่อน เราก็จากเขาไปก่อน นี่เป็นสัจธรรมความจริง

เมื่อเป็นเช่นนั้น เวลาเกิดการพลัดพรากจากกัน ก็จะต้องร้องห่มร้องไห้ เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ แต่ถ้าได้ฝึกจิต ปฏิบัติจิตให้ปล่อยวาง ให้มีความพอใจกับความสุขที่เกิดจากความสงบแล้ว ก็จะไม่ยึดติดกับอะไร เวลาไม่ยึดไม่ติดกับอะไรแล้ว เวลาสิ่งต่าง ๆ จากเราไปก็จะไม่รู้สึกเศร้าโศกเสียใจอาลัยอาวรณ์ เพราะรู้ด้วยปัญญาแล้วว่า เราไม่สามารถอยู่กับสิ่งต่าง ๆไปได้ตลอดหรือสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถอยู่กับเราไปได้ตลอด ไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องจากกันไป ถ้ามีปัญญา ก็จะไม่ยึดไม่ติด การจากกันก็จะเป็นการจากกันแบบธรรมดา จากกันแบบสบาย ๆ ไม่มีความเศร้าโศกเสียใจ ไม่มีการกินไม่ได้นอนไม่หลับ เหมือนกับเวลาที่พระอาทิตย์ได้ตกลับขอบฟ้าไป เราก็ไม่ได้มานั่งร้องห่มร้องไห้เศร้าโศกเสียใจอะไร เพราะเราเข้าใจถึงธรรมชาติของพระอาทิตย์ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น

ฉันใด ถ้าได้ศึกษาพระธรรมคำสอน แล้วนำมาคิดใคร่ครวญอยู่อย่างสม่ำเสมอ แล้วนำมาปฏิบัติกับใจแล้ว เราก็จะสามารถทำใจให้ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางแล้ว ใจก็จะไม่เดือดร้อนกับอะไร ที่จะต้องจากเราไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่ต้องมีอะไรเลย เราอยากจะมีอะไรก็มีได้ อย่างในขณะนี้ เรามีอะไร ก็มีอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าทัศนคติ ปัญญาความรู้ของเราได้เปลี่ยนไป เมื่อก่อนนี้เรารู้แบบหลง รู้แบบยึด รู้แบบติด คือ อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารัก ให้อยู่กับเราไปตลอดแต่เดี๋ยวนี้เราเข้าใจแล้วว่า ความรู้แบบนั้นเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจ เป็นความทุกอย่างยิ่ง เมื่อเราเปลี่ยนทัศนคติแล้วเราก็ยังอยู่กับสิ่งนั้นอยู่ เรายังปฏิบัติกับสิ่งนั้นอยู่เหมือนเดิม คือยังมีความเมตตา มีความกรุณา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการดูแลรักษากันไปตามปรกติ ตามกำลังสติปัญญาความสามารถของเรา จนกว่าเมื่อถึงเวลาที่จะต้องจากกันไป เราก็ยอมรับความจริงนี้ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ใจของเราก็จะไม่เศร้าโศกเสียใจกับอะไร

นี่แหละอานิสงส์ของการได้พบพระพุทธศาสนา ได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่แท้จริงของชีวิตนั่นเองเมื่อก่อนนี้ถ้ายังไม่ได้พบพระพุทธศาสนาเราจะไม่รู้เรื่องเหล่านี้ เราจะหลงยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ สิ่งที่เรารัก ที่เราชอบเราก็จะหวง เราก็จะห่วง แต่เดี๋ยวนี้เมื่อได้ศึกษา ได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เริ่มเห็นแล้วว่า ความทุกข์ไม่ได้เกิดจากใครที่ไหน เกิดจากความหลงผิด ความเห็นผิดเป็นชอบ ความไม่รู้ความเป็นจริงที่ไหน เกิดจากความหลงผิด ความเห็นผิดเป็นชอบ ความไม่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง แต่ถ้ารู้แล้วเราก็จะไม่ทุกข์กับสิ่งนั้นอีกต่อไป เพราะเราจะเตรียมตัวเตรียมใจไว้รับกับสภาพที่จะต้องเกิดขึ้น คือไม่ช้าก็เร็วก็ต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา นี่แหละคือปัญญาทางพระพุทธศาสนา คือการรู้ถึงความไม่เที่ยงของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เมื่อรู้แล้วจะได้ไม่ไปยึดไปติด

เราจึงต้องพยายามศึกษาหาความรู้นี้อย่างสม่ำเสมอ พระพุทธเจ้าจึงต้องสอนให้เราเข้าวัดกัน อย่างน้อยอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง ฟังเทศน์ฟังธรรมกัน ฟังแล้วก็นำเอาไปคิดพิจารณาต่อ หลังจากที่ออกจากวัดไปเพราะถ้าไม่นำไปคิดพิจารณาต่อ เวลาไปทำกิจการงานต่าง ๆ ใจก็จะไปอยู่กับเรื่องราวต่างๆ ทำให้เรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังในขณะที่อยู่ในศาลาก็จะค่อย ๆ จางไปหายไป และในที่สุดก็จะลืมไป เราจึงต้องกลับมาฟังอยู่เรื่อย ๆ นอกจากการฟังอยู่เรื่อย ๆ แล้ว เรายังต้องนำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังไปคิดต่อ ไปเตือนสติไว้ ไม่ใช่ฟังแล้วก็แล้วกันไป เมื่อออกจากวัดไปแล้วเวลาเห็นสิ่งใดก็ตาม ถ้าเกิดความยินดี เกิดความชอบอยากจะได้ก็ควรสอนใจว่า สิ่งที่จะเอามานี้ ก็จะไม่อยู่กับเราไปตลอดนะ เอามาก็เอามาได้แต่เวลาได้มาก็ดีใจหรอก แต่เวลาเสียไป ยังจะดีใจเหมือนกับขณะที่ได้มาหรือเปล่า ถ้าเสียไปแล้ว ก็จะต้องเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็อย่าไปเอามาไม่ดีกว่าหรือ อย่างนี้เป็นต้น

ต้องคิดแบบนี้ในการใช้ชีวิตประจำวัน ขอให้เราอย่าลืม ขอให้มองทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นของชั่วคราว ไม่ใช่เป็นของที่จะอยู่กับเราไปอย่างถาวร นี่ก็คือการสร้างปัญญาให้เกิดขึ้น ธรรมที่ได้ยินได้ฟังแล้วเราก็เอามาคิด เอามาใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วถ้ามีโอกาสว่าง ไม่มีภารกิจการงาน ก็ให้มาทำความสงบกับจิตใจของเรา เพราะว่าเวลาที่จิตสงบ ใจจะเย็น ใจจะมีความสุข แล้วใจจะรู้ว่า ความสุขที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การได้มาซึ่งสิ่งของต่าง ๆ แต่ความสุขที่แท้จริงมาจากความสงบของจิตใจต่างหาก เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้วใจก็เกิดปัญญา เกิดความรู้ขึ้นมาว่า การมีอะไรมาก ๆ แทนที่จะมีความสุขกลับมีความทุกข์ ยิ่งมีมากก็ยิ่งทุกข์มาก เพราะจะมีความห่วง มีความอาลัยอาวรณ์กับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นไปนั่นเอง ถ้ามีน้อย ความทุกข์ก็น้อย ถ้ามีลูกคนเดียว ก็ทุกข์กับลูกเพียงคนเดียว ถ้ามีลูก 10 คน ก็ต้องทุกข์กับลูกถึง 10 คน ความทุกข์ก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

เมื่อมีปัญญา เราจะรู้ความจริงว่า แม้กระทั่งลูกของเรา เราก็ต้องจากเขาไป หรือเขาก็ต้องจากไปเราไปในวันหนึ่ง ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว เราก็จะปล่อยวาง ไม่ไปยึดไปติดกับเขา เขาจะอยู่กับเราก็ดี เขาจะจากเราไปก็ดี ถ้าเราทำใจได้แล้ว จะมีมากมีน้อย เราก็จะไม่ทุกข์ เพราะว่าความทุกข์เกิดจากความไม่รู้จริง ความทุกข์จะดับได้ก็เกิดจากความรู้จริงหรือความรู้ทางพระพุทธศาสนา ดังที่ท่านได้ยินได้ฟังกันในวันนี้ นี่แหละคือความรู้จริง เพราะเป็นความรู้ที่เป็นตามหลักความเป็นจริง เป็นความรู้ที่ไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง ความคิดของพวกเราส่วนใหญ่จะเป็นความคิดที่สวนกระแสของความจริง เช่นคิดว่าอยากจะให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่กับเราตลอดไป ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เป็นสิ่งที่เราจะต้องมาแก้ไขเสียตั้งแต่บัดนี้ เราจึงต้องมองให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงมีการสูญสลาย มีการดับไปเป็นธรรมดา ไม่ช้าก็เร็วทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องหมดสิ้นไปจากเรา เราก็ต้องจากเขาไปในที่สุด

ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว จะได้ไม่ยึดไม่ติดกับสิ่งต่างๆ เมื่อไม่ยึดไม่ติดแล้ว ใจก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ ความกังวลใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนากัน แต่เราก็ยังมีกันอยู่ ก็เป็นเพราะเราไม่ได้อบรมสอนใจ ไม่ได้ดูใจ ในขณะที่ใจกำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ เราก็ไม่ค่อยรู้กัน เวลาเห็นอะไรที่เราชอบ ก็เกิดความอยากลึก ๆ ขึ้นมาในใจแล้ว อยากจะให้สิ่งนั้นอยู่กับเราไปนาน ๆ นี่ก็เป็นความคิดที่ผิดแล้ว เป็นความคิดที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรจะอยู่กับเราไปตลอดอยู่กับเราไปได้นาน เราจึงต้องมาเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ โดยเอาความคิดหรือความรู้ของพระพุทธเจ้ามาใส่ใจเรา มาสอนใจเรา พยายามเตือนสติเราอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ควรไปยึดไปติด เราจะไม่ทุกข์ เราจะมีแต่ความสุข

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร