วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลาย คำกล่าว บางอย่าง ไม่ใช่เป็นตัวหลักธรรม แต่เป็นเพียงการอธิบาย ให้กับคนบางกลุ่ม บางคน หรือบุคคลบางประเภท เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในการที่จะขัดเกลา กิเลส หรือควบคุมตัวเอง หรือเพื่อให้เกิด ความคิดเพื่อขัดเกลาสภาพสภาวะจิตมใจ ซึ่งความจริงแล้ว ก็เป็นเพียงคำกล่าวที่ประโลมจิตใจให้ละวาง ซึ่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่รุนแรง
มิใช่หลักธรรมะ ที่จะทำให้เกิดการหลุดพ้นจากิเลส แต่เป็นเพียงการยับยั้ง ผู้ฟังให้เกิดความคิดว่า สรรพสิ่งล้วนมีเกิดมีดับ ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของตัว ไม่ควรยึดถือว่า เป็นตัวเรา ของเรา
แต่ในคำกล่าวที่ว่า ไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเรานั้น แท้จริงแล้ว เป็นเพียงการสร้างความคิดเพื่อมิให้ เกิดความหลง ในตัวเอง มิให้เกิดความหลงในสิ่งของเครื่องใช้จนเกินเหตุ เพราะการเกิดความหลง ในตัวเอง และสิ่งของเครื่องใช้จนเกินเหตุนั้น จักทำให้เกิดความ โลภ และ ความโกรธตามมา ซึ่งในทางที่เป็นจริงบุคคลผู้ได้ยินได้รู้ในคำกล่าวนั้น ก็ย่อมยึดติดในตัวตน เป็นธรรมชาติ ไม่อาจหลอกตัวเองว่า ไม่ยึดติดในตัวเราของเรา เพราะการที่บุคคลนั้นคิดว่าไม่ยึดติดในตัวเรา ของเรา บุคคลผู้นั้นแท้จริงแล้ว ก็กำลังยึดติดในตัวเราของเราอยู่ นั่นคือ ยึดติดในความคิดของตัวเอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์

แต่หากบุคคล ปฏิบัติ เพื่อการบรรรลุธรรม ตั้งแต่ชั้นโสดาบันเป็นต้นไป
ย่อมต้องยึดติดในตัวเรา ของเรา เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ บุคคล จะทำการสิ่งใดก็ตาม เพื่อให้บรลุเป้าหมายใดก็ตาม ย่อมกระทำเพื่อตัวเองเป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายถึง การยึดติดในอัตตา คือ ปฏิบัติ ธรรมเพื่อการบรรลุธรรม เพื่อตัวเรา ของเรา
คำว่า ของเรานั้น ย่อมหมายถึง หลักการปฏิบัติ หลักธรรม อันหมายถึง ความรู้ และความเข้าใจ ผู้ปรารถนาบรรลุธรรม ย่อมต้องยึดติดในหลักธรรม หลักปฏิบัติ ความรู้ ความเข้าใจ เหล่านั้นเอาไว้
ดังนั้น ผู้ปรารถนาบรรลุธรรม ตั้งแต่ชั้นโสดาบัน ไปจนถึง นิพพาน ย่อมต้องยึดติดในอัตตา เป็นธรรมชาติ ไม่อาจหลีกหนีหลักการดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไปอย่างแน่นอน
ที่ได้อธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ย่อมเพียงพอต่อการทำความเข้าใจให้กับผู้มีทิฎฐิ อวิชชา ที่มีแต่ความเขลา เบาปัญญา ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตามหลักความเป็นจริง ตามหลักการปฏิบัติธรรม อย่างแท้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบทความนี้ ยังคงมีอีกหลายๆท่าน หลายกลุ่มบุคคล ที่ยังยึดติดอยู่กับ ความเข้าใจเดิมๆที่ผิดๆ และอาจคิดว่าข้าพเจ้าบ้าหรืออื่นใดก็ตาม
ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาให้ดีว่า ตามหลักการในระบบสรีระร่างกายของมนุษย์นั้น
อัตตา คือ ความมีตัวตน หรือ การที่มนุษย์ยึดถือ ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็นตัวตน เป็นความคิด ซึ่งท่านทั้งหลายอาจจะไม่รู้สึกว่าได้คิด เพราะท่านทั้งหลาย มิได้เป็นผู้สำเร็จมรรคผล คือไม่รู้ว่า มรรค คือ อะไร ผลคืออะไร เกิดจากอะไร มีผลเป็นอย่างไร และผลที่เกิดนั้น ยังมีผลต่อเนื่องไปอีก สิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวไปนี้ อาจจะเป็นสิ่งที่เกินหรือหนักเกินไปสำหรับสมองสติปัญญาของบางบุคคล
หลายๆท่านคิดไปว่า ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่น ในตัวตน คือ ตัวเราไม่ใช่ของเราบ้าง ฯ แต่ความจริงแล้ว บุคคลนั้นๆ ไม่มีทางหนีพ้นกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ คือ บุคคลเหล่านั้น ยึดติด ถือมั่น ในตัวตนว่าเป็นของเขา โดยที่เขาไม่รู้ตัว ว่าเขามีความยึดมั่นถือมั่นว่า รูป สัญญา เวทนา สังขาร เป็นของเขา เป็นตัวตนของเขา
ถ้าหากเขาไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน เขาย่อมไม่ต้องการ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย
ตราบใดที่บุคคลเหล่านั้น ยังมีความต้องการ ปัจจัยสี่ ตามหลักการทางพุทธศาสนา บุคคลเหล่านั้น ยังคงยึดติดในอัตตา อย่างไม่มีทางหลีกพ้น
แต่เขาอาจจคิดว่า เขาไม่ได้ยึดติดในอัตตา ที่เป็นเช่นตั้น ก็เพราะบุคคลเหล่านั้น หลงผิด ไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่า
ถ้ามึความต้องการปัจจัยสี่ ตามหลักการทางพุทธศาสนา นั่นหมาตยความว่า บุคคลเหล่านั้น ยึดติดในอัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้า เคารพธรรม เฉพาะในพระสูตรเท่านั้น
ธรรมของฆราวาส ธรรมของปุถุชน ธรรมของผู้เบียดเบียนผู้อื่น
ไม่ว่าจะด้วยกายก็ดี หรือเบียดเบียนด้วยวาจาก็ดี ดังที่เห็น
ธรรมที่มิได้บัญญัติไว้ในพระสูตร กระผมหาต้องเคารพไม่

[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร?
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน
สัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความ
เป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา ย่อมไม่เห็นสังขาร
โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร ย่อมไม่
เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนใน
วิญญาณ. ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร