วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 01:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมตามมาให้ผลครับ จากอดีตชาต รับแล้ว แก้ คืน ไปก็ มีผูกอาฆาต อีก ชาตหน้าต้องมา ทำคืน กันอีกละ พอได้ ละครับ ถือว่าได้ แก้มือกันแล้ว อโหสิ เงินทอง ข้าวของนอกกาย ไม่ตายก็หาใหม่ได้
ตั้งหน้าทำดีสุดๆ ให้ กรรม มันไล่งับไม่ทัน.... ศีล สมาธิ ทาน มังสวิรัส ปัญญา เมตตา กรุณาครับ
การให้อภัย ชนะการให้ทั้งปวง......

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาคุณบุญชัยด้วยครับ
:b8:

เป็นเรื่องยากนะครับอาจารย์บุญชัย

การที่เรามีความรู้สึกบางอย่างขึ้นมา
แล้วเราไม่ยอมปล่อยความรู้สึกนั้นไป
วางไม่ลง ทิ้งไม่ลง ปล่อยไม่ได้

ยิ่งความรู้สึกบางอย่าง มันเหนียวแน่นเอามากๆ
มันมักจะ"มีเรา มีเขา่" อยู่ตลอดเวลา
"การไม่ปล่อย" หรือการ "ยึดถือเอาไว้" นี้เป็นความร้ายกาจของกิเลส
ที่หลอกให้เรามีความสุขกับการทำอย่างนั้น

ความยุ่งยากทางกาย-ทางใจ นานับประการทั้งปวง
ล้วนพัฒนามาจาก"ความอยากเล็กๆ"ในใจเรานี่เอง

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีลัทธิมิจฉาทิฏฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์อยู่ ๓ ลัทธิ ซึ่งต้องระวังไม่ให้
เข้าใจสับสนกับหลักกรรม คือ


๑. ปุพเพกตเหตุวาทะ การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะกรรมเก่า (past-action
determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท (เป็นลัทธินิครนถ์)

๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่
(theistic determinism) เรียกสั้นๆว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (เป็นลัทธิ
พราหมณ์)

๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
(indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆว่า อเหตุวาท (เป็นลัทธิอาชีวก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธส่วนมากก็ยังถือเหมิอนลัทธินิครนถ์ เมื่อแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ก็โยนให้กรรมเก่าหมดทั้งสิ้น เพื่อให้พ้นความรับผิดชอบกลายเป็นงอมืองอเท้าไม่แก้ปัญหา (ต้นเหตุของทุกข์) ของชีวิต


โดยแย้งกับพุทธพจน์ ที่ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร....
มโนสังขาร ขึ้นเองบ้าง ...เนื่องจากตัวการอื่นบ้าง .... โดยรู้ตัวบ้าง ... ไม่รู้ตัวบ้าง”
(สํ.นิ 16/83/48)
และพุทธพจน์ที่ปฏิเสธทฤษฎีที่ว่า สุขทุกข์ตนทำเองของพวกอัตตการวาท และทฤษฎีว่า สุขทุกข์ตัวการอื่นทำของพวกปรการวาท เป็นการย้ำให้มองเห็นกรรมในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ตนเองก็ดี
ผู้อื่นก็ดี จะมีส่วนเกี่ยวข้องแค่ไหนเพียงใด ย่อมต้องพิจารณาให้ถูกต้อง ตามกระบวนการ
มิใช่ตัดสินขาดลงไปง่ายๆ

ที่กล่าวมานี้ เป็นการป้องกันความเข้าใจผิดสุดโต่งที่มักเกิดขึ้นในเรื่องกรรมว่า อะไรๆ เป็นเพราะตนเองทำ
ทั้งสิ้น ทำให้ไม่คำนึงถึงตัวการและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ดี ต้องแยกความเข้าใจอีกชั้นหนึ่งระหว่างกรรมในแง่ตัวกฎหรือสภาวะ กับในแง่ของจริยธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b7: ใช่ค่ะ คุณคามินธรรม ยิ่งความรู้สึกบางอย่าง มันเหนียวแน่นเอามากๆ
มันมักจะ"มีเรา มีเขา่" อยู่ตลอดเวลา
"การไม่ปล่อย" หรือการ "ยึดถือเอาไว้" นี้เป็นความร้ายกาจของกิเลส
ที่หลอกให้เรามีความสุขกับการทำอย่างนั้น :b5: เราตอนนั้นเลย
:b8: นะคะ คุณบุญชัย ที่ช่วยเตือนสติเรา
:b8: K.กรัชกรายด้วยค่ะ สำหรับบทเพลง
:b8: :b8: สำหรับตัวเองที่ยังพอมีบุญ ไม่ให้ใจหลงผิดไปมากกว่านี้ น่าแปลกไม๊คะ วันนี้เค้าโทรมาหา
เรารับสายแล้วบอกให้เค้าคุยกับทนาย เรารู้ว่าถ้าเราคุย เรายิ่งก่อกรรมให้ใจตัวเองมากขึ้น เราทำใจยอมรับแล้วแต่จะเป็นอย่างไร ไม่พูดถึงเค้าแล้วค่ะเรื่องนี้จบ เพราะว่า....... :b36:
:b36: เมื่อวานตอนเช้าเราใส่บาตรพระหน้าบ้านเหมือนเดิม แต่แปลกที่อยู่ๆท่านก็ยื่นหนังสือธรรมะ
ของหลวงพ่อจรัญมาให้เล่มหนึ่งท่านบอกว่า ไปงานบุญมาเลยมีหนังสือมาฝาก ปรกติท่านชอบบอกบุญ
เรานะ เราก็ร่วมทำบุญ แต่นี่เป็นครั้งแรกเลย แถมมาได้เวลาพอเหมาะ วันนี้เรามีเวลาเลยมานั่งอ่าน
เรื่องกรรมกำหนด แปลกมากเลย เราอ่านเรื่องนี้สองรอบเลย สรุปว่า ทุกอย่างในโลกนี้ที่เป็นอยู่
เพราะวิบากกรรมจากชาติก่อนเป็นมูลเหตุ วิบากกรรมเหล่านี้ต้องขจัดให้สิ้นโดยการสร้างบุญกุศล
ก่อนทำกรรมใดขอให้น้อมใจนึกถึงพระพุทธเจ้า คิดดี ทำดี ระลึกพุทโธ ในทุกขณะ ละเว้นความ
พยาบาทต่างๆ กรรมดีทางใจควรเพียรทำความสุขสวัสดี สวดมนต์ด้วยใจ แผ่เมตตา ด้วยใจที่เป็นบุญ

เราอ่านแล้วคิดได้เลยว่า นี่เป็นเพราะเรายังพอมีบุญ จึงเหมือนมีปฏิหารย์มาช่วยเราได้ทันเวลา
เหมือนบุญลิขิตนะคะ เราใส่บาตรท่านมาหลายปี นี่เป็นหนังสือเล่มแรกที่ท่านมาให้เราในจังหวะเวลานี้
อยากบอกว่า :b8: :b8: ทุกๆท่านค่ะที่แนะนำ และขอบคุณกรรมดีที่ส่งผลให้เราในวันนี้ :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แก้ไขล่าสุดโดย O.wan เมื่อ 12 มี.ค. 2009, 20:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์อยู่ ๓ ลัทธิ ซึ่งต้องระวังไม่ให้เข้าใจสับสนกับหลักกรรม คือ

๑. ปุพเพกตเหตุวาทะ การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท (เป็นลัทธินิครนถ์)

๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่ (theistic determinism) เรียกสั้นๆว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (เป็นลัทธิพราหมณ์)

๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆว่า อเหตุวาท (เป็นลัทธิอาชีวก)

ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ

๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน (ปุพฺเพกตเหตุ)

๒.สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่ง
อย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า
(อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)

๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ (อเหตุอปจฺจย)”

“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ๓ จำพวกนั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๑)แล้วถามว่า “ทราบว่า ท่าน
ทั้งหลายมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้...จริงหรือ ?”
ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว รับว่าจริง เราก็กล่าวกะเขาว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านก็จักต้องเป็นผู้ทำปาณาติบาต เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ
จะต้องเป็นผู้ทำอทินนาทาน เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ
จะต้องเป็นผู้ประพฤติอพรหมจรรย์...
เป็นผู้กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุน่ะสิ”

“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอากรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดีว่า “สิ่งนั้นควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี
เมื่อไม่กำหนดถือเอาสิ่งที่ควรทำ และ สิ่งที่ไม่ควรทำ โดยจริงจังมั่นคงดังนี้
สมณพราหมณ์พวกนี้ ก็เท่ากับอยู่อย่างหลงสติ ไร้เครื่องรักษา จะมีสมณะวาทะ
ที่ชอบธรรมเฉพาะตนไม่ได้ นี้แล เป็นนิคหะอันชอบธรรมอย่างแรกของเรา ต่อสมณพราหมณ์
ผู้มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๒) กล่าวกะเขาว่า “ท่านจักเป็นผู้ทำปาณาติบาต ก็เพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหตุ
จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน....
ประพฤติอพรหมจรรย์....
กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ก็เพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหตุน่ะสิ”

“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอาการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดี
ว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี..ฯลฯ”


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ ๓)กล่าวกะเขาว่า
“ท่านจักเป็นผู้ทำปาณาติบาต โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน....
จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน....
ประพฤติอพรหมจรรย์....
กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยน่ะสิ”

“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอาความไม่มีเหตุเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดีว่า
“สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี..ฯลฯ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเฉพาะลัทธิที่ ๑ คือ ปุพเพกตวาทนั้น เป็นลัทธิของนิครนถ์ ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า “สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดที่บุคคลได้เสวย ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ตัวทำไว้ในปางก่อน โดยนัยดังนี้ เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไปด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จะไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม
ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์ได้หมดสิ้น ภิกษุทั้งหลาย
พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้” (ม.อุ. 14/2/1)

พุทธพจน์ที่ย้ำความอันเดียวกันก็มีว่า

“ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี ...
เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี....เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี
ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เวทนานั้นเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน ฯลฯ เรากล่าวว่า
เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง” (สํ.สฬ. 18/427/284)


พุทธพจน์เหล่านั้น ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรมแต่ในแง่
กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง
กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว
นอกจากนั้น จะเห็นได้ชัดด้วยว่าในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงถือความเพียรพยายามเป็นเกณฑ์
ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรมและคำสอนเหล่านี้ทั้งหมด


พุทธพจน์เหล่านี้ มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุ
ปัจจัย และย่อมมีผลต่อปัจจุบัน สมกับชื่อเหตุปัจจัยด้วยเหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย
อยู่นั่นเอง ไม่ใช่อำนาจนอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึด ไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ให้ ผู้เข้าใจ
ปฏิจจสมุปบาท รู้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยดีแล้ว ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
ดังนั้น จึงควรเข้าใจเรื่องกรรมเก่าเพียงเท่าที่มันเป็นตามกระบวนการของมัน
ในทางจริยธรรม ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท ย่อมถือเอาประโยชน์จากกรรมเก่าได้ในแง่ เป็นบทเรียน เป็นความหนักแน่นในเหตุผล เป็นความเข้าใจตนเองและสถานการณ์ เป็นความรู้พื้นฐานปัจจุบันของตน
เพื่อประกอบการวางแผนทำกรรมปัจจุบัน และหาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป
(นำมาจากพุทธธรรมหน้า 205)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b7: ใช่ค่ะ คุณคามินธรรม ยิ่งความรู้สึกบางอย่าง มันเหนียวแน่นเอามากๆ
มันมักจะ"มีเรา มีเขา่" อยู่ตลอดเวลา
"การไม่ปล่อย" หรือการ "ยึดถือเอาไว้" นี้เป็นความร้ายกาจของกิเลส
ที่หลอกให้เรามีความสุขกับการทำอย่างนั้น :b5: เราตอนนั้นเลย
:b8: นะคะ คุณบุญธรรม ที่ช่วยเตือนสติเรา
:b8: K.กรัชกรายด้วยค่ะ สำหรับบทเพลง
:b8: :b8: สำหรับตัวเองที่ยังพอมีบุญ ไม่ให้ใจหลงผิดไปมากกว่านี้ น่าแปลกไม๊คะ วันนี้เค้าโทรมาหา
เรารับสายแล้วบอกให้เค้าคุยกับทนาย เรารู้ว่าถ้าเราคุย เรายิ่งก่อกรรมให้ใจตัวเองมากขึ้น เราทำใจยอมรับแล้วแต่จะเป็นอย่างไร ไม่พูดถึงเค้าแล้วค่ะเรื่องนี้จบ เพราะว่า....... :b36:
:b36: เมื่อวานตอนเช้าเราใส่บาตรพระหน้าบ้านเหมือนเดิม แต่แปลกที่อยู่ๆท่านก็ยื่นหนังสือธรรมะ
ของหลวงพ่อจรัญมาให้เล่มหนึ่งท่านบอกว่า ไปงานบุญมาเลยมีหนังสือมาฝาก ปรกติท่านชอบบอกบุญ
เรานะ เราก็ร่วมทำบุญ แต่นี่เป็นครั้งแรกเลย แถมมาได้เวลาพอเหมาะ วันนี้เรามีเวลาเลยมานั่งอ่าน
เรื่องกรรมกำหนด แปลกมากเลย เราอ่านเรื่องนี้สองรอบเลย สรุปว่า ทุกอย่างในโลกนี้ที่เป็นอยู่
เพราะวิบากกรรมจากชาติก่อนเป็นมูลเหตุ วิบากกรรมเหล่านี้ต้องขจัดให้สิ้นโดยการสร้างบุญกุศล
ก่อนทำกรรมใดขอให้น้อมใจนึกถึงพระพุทธเจ้า คิดดี ทำดี ระลึกพุทโธ ในทุกขณะ ละเว้นความ
พยาบาทต่างๆ กรรมดีทางใจควรเพียรทำความสุขสวัสดี สวดมนต์ด้วยใจ แผ่เมตตา ด้วยใจที่เป็นบุญ

เราอ่านแล้วคิดได้เลยว่า นี่เป็นเพราะเรายังพอมีบุญ จึงเหมือนมีปฏิหารย์มาช่วยเราได้ทันเวลา
เหมือนบุญลิขิตนะคะ เราใส่บาตรท่านมาหลายปี นี่เป็นหนังสือเล่มแรกที่ท่านมาให้เราในจังหวะเวลานี้
อยากบอกว่า :b8: :b8: ทุกๆท่านค่ะที่แนะนำ และขอบคุณกรรมดีที่ส่งผลให้เราในวันนี้ :b8:



โมทนา สาธุค่ะพี่
:b8:

พี่พอจะมีเวลาว่างช่วง 6 โมงครึ่งตอนเช้าไม๊ล่ะคะ คือ .. น้ำอยากให้พี่เปิดสถานี 103.25 fm. สถานีหลวงตามหาบัวฯ น่ะค่ะ จะมีพระธรรมบททุกๆเช้าเลย เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ฟังแล้วได้แง่คิดดีๆเยอะมากเลยค่ะ จะมีถึง 07.00 น. ต่อ อีกรอบก็ 08 .00 น. ถึงกี่โมงน้ำไม่แน่ใจค่ะ เพราะเช้ามาไม่เคยได้ฟัง มีอยู่วันได้ฟัง ถึงได้รู้ว่า มี ช่วง 8 โมงเช้าด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ผิดเองค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 14 มี.ค. 2009, 20:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณวลัยพร :b1:

การดำเนินชีวิตมีอุปสรรคมากมาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำ แก้ปัญหาสู้ชีวิตด้วยจิตใจที่มั่นคงอิสระเป็นธรรมรักษาธรรมผดุงธรรม นี่พูดในแนวจริยะ หรือ คุณว่าไม่จริงครับ :b1:

แต่เมื่อพูดให้ลึกถึงขั้นฝึกจิตให้รู้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับชีวิตจิตใจแล้ว จะต้องแก้ต้องปรุงปรับเปลี่ยนอีกหลายกระบวน เพื่อให้เข้าใจชีวิต เมื่อเข้าใจแล้วมิใช่หนีเข้าป่า หรือ หนีงานหนีปัญหา หรือว่าไงครับ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ O.wan อ่านเฉยๆนะครับ ขณะที่อ่านสังเกตความคิดตนเองไปด้วยว่ามีปฏิกิริยาอย่างไร ดูมันครับ
แล้วปล่อยให้กรัชกายกับคุณวลัยพรโต้ประเด็นนี้กันสองคน :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: ค่ะ k.กรัชกราย เราจะอ่านเฉยๆค่ะ เพราะเวลาคุณสองคนสนทนากัน เราอ่านด้วย
แปลด้วย :b5: งงไปด้วย แต่ชอบค่ะ :b23: :b23:
อยากบอกค่ะ เราชอบบทนี้
พุทธพจน์เหล่านี้ มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุ
ปัจจัย และย่อมมีผลต่อปัจจุบัน สมกับชื่อเหตุปัจจัยด้วยเหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย
อยู่นั่นเอง ไม่ใช่อำนาจนอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึด ไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ให้ ผู้เข้าใจ
ปฏิจจสมุปบาท รู้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยดีแล้ว ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
ดังนั้น จึงควรเข้าใจเรื่องกรรมเก่าเพียงเท่าที่มันเป็นตามกระบวนการของมัน
ในทางจริยธรรม ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท ย่อมถือเอาประโยชน์จากกรรมเก่าได้ในแง่ เป็นบทเรียน เป็นความหนักแน่นในเหตุผล เป็นความเข้าใจตนเองและสถานการณ์ เป็นความรู้พื้นฐานปัจจุบันของตน
เพื่อประกอบการวางแผนทำกรรมปัจจุบัน และหาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

:b12: เราจะพยายามฝึกตนเองให้ได้ค่ะ :b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: ขอบคุณค่ะคุณน้ำ ที่แนะนำ ช่วงเวลานั้นพี่จะอยู่บนรถไปส่งลูกค่ะ แต่เปิดวิทยุฟัง
ข่าวเสียส่วนใหญ่ ต้องแย่งกับลูกฟัง ซีส 97.75 ทุกวันค่ะ ช่วงนี้ปิดเทอมจะเปิดฟังนะคะ
อย่าลืมสนทนาธรรมกับK.กรัชกราย อย่าดุนะคะ พี่อ่านจะได้ไม่เครียด :b9: (ล้อเล่นนะคะ) :b32: :b6: :b32: :b6:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมกลายเป็นนิครนธ์ไปซะแล้วเหรอครับนี่

มันเหมือนเรื่อง"ทหาร กับ พระ"

ทหารต้องฆ่า เพื่อทำหน้าที่รักษาประเทศ
มันเป้น"ความถูกต้อง"ในมุมของทหาร เป็นหน้าที่ของทหาร

ครั้นจะไปบอกว่าพวกทหารว่า "นี่คุณ ที่ทำนี่ไม่ถูกนะ" ....
อย่างนั้นก็พูดไม่ได้นะ มันสวนกระแสชาวโลก

- เหมือนคนฆ่าหมูขายเป้นอาชีพ บอกให้เขาเลิกซะทิ้งซะ ... เขาทิ้งไม่ลง
- เหมือนบอกคนที่ชอบกินเหล้าสูบบุหรี่ว่า ให้เลิก ให้ทิ้ง .... ร้อยละร้อยไม่ทิ้งนะ แถมเขาด่าเราว่าบ้า
- เหมือนตอนแรกยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อยู่ได้นะ อยู่มาเกือบ 20 ปีไม่ตาย
แต่พอลองครั้งเดียวเท่านั้นแหละ หลังจากนั้นขาดไม่ได้เลย ทิ้งไม่ลง


เรื่องที่ทิ้งไม่ลงทั้งหลาย มันเป้นสมมุติของชาวโลกเขา เขาเป้นมาอย่างนี้
พัฒนาการกันมาว่าโลกต้องมีประเทศ ต้องมีชาติ ต้องมีทหาร ต้องมีคนฆ่าหมูมาขาย หญิงชายต้องได้เสียกัน
สูบบุหรี่กินเหล้าเป้นเรื่องปกติ เป็นสิทธิเสรีภาพ ฯลฯ
ธรรมชาติของโลกีย์มันเป็นของมันมาอย่างนี้
ผมไม่ได้ต่อต้านโลกนะ ไม่ได้บอกให้คุณ o.wan ไปต่อต้านโลกด้วย เราไปบงการอะไรเขาไม่ได้หรอก

เรื่องของคุณ o.wan มันก็เป็นลักษณะที่ว่า โลกีย กับ โลกุตร มันซ้อนกันอยู่
ด้านโลกียะ เราก้ต้องทำไปตามบทบาท อะไรคิดว่าดีว่าชอบ สมควรทำ ก็ทำไปตามบทบาทในฐานะชาวโลก
ที่ตัวต้องอาศํยอยู่ในโลก มีลูกเต้า พ่อแม่ หน้าที่การงาน เราก็ต้องทำไปตามหน้าที่
ปัญหาคือทำยังไงให้ทำหน้าที่โลกียะให้มันมีความทุกข์น้อยที่สุด
(ผมไม่ใช้คำว่า มีความสุขมาที่สุดนะ ผมใช้คำว่า มีความทุกข์น้อยที่สุด)
นั่นคือเหตุผลที่คุณ o.wan เอาธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้ามาใช้
สำหรับการอยู่ในโลกีย ขอเพียงน้อมนำมาไม่ต้องมากมายก้มีความสุขแล้ว


แต่ที่คุยๆกันอยู่นี้ ผมเข้าใจว่าคุณ o.wan จะเอามรรคเอาผล เอาให้มันถึงที่สุดแห่งทุกข์
เล็งเป้าที่นิพพานกันเลย ก็เลยแนะนำไปตามภาษากัลยาณมิตรผู้ร่วมเดินทางสายเดียวกันว่า
ถ้าจะเอานิพพานจริงๆ ต้องยอม ต้องแพ้ จึงจะชนะทีหลัง
ต้องยอมถึงขั้นถวายชีวิตเพื่อรักษาธรรม พระพุทธเจ้าบอกให้เรามีความตั้งใจแรงกล้าขนาดนั้น

ในชีวิตเรา มีของรักของหวงมากมาย หวงที่สุดคือใจ รองลงมาก้คือกาย
แต่อย่าเพิ่งไปพูดถึงใจกับกายเลย เพราะลำพังของหวงนอกกายก็ไม่สามารถจะละได้
เราจะละกายใจอันเป็นของหวงที่สุดได้อย่างไร

ของหวงนอกกายมีหลายอย่าง พวกเงินทองไม่ต้องพูด เพราะเข้าใจง่ายอยู่แล้ว
เอาพวกที่จับต้องไม่ได้ดีกว่า เพราะมันเห็นกันยาก เช่น ชื่อเสียง เกียรติยศ ค่านิยม
มันเหมือนพวกสาหร่ายใต้น้ำดึงเอาไว้ ไม่ให้เราว่ายข้ามไปได้


อย่างค่านิยมที่ว่า "เราพยามจะทำสิ่งที่ถูกต้อง" ค่านิยมอันนี้ร้ายมาก
ยิ่งในยุคนี้ คนหิวกระหายความดี ไม่รู้ว่าจะหิวอะไรกันขนาดนั้น
รู้แค่ว่าต้องทำความดี แต่มองไม่เห็นความโลภที่เป้นผู้บงการ
ยิ่งโลภมาก ยิ่งหิวความดีมาก

เพราะกิเลสมันหลอกเอาว่า ที่ทำอยู่นี้คือความดี ที่ทำอยู่นี้มีชื่อว่าความดี
พอเรามีสติไม่ทัน ก็เลยเบลอๆ มองว่ามันเป้นความดีจริงๆ
ในใจก็คิดว่าถ้าเป็นความดีก็ทำไปเถอะ

กิเลสมันร้ายถึงขนาดหลอกเราว่า "ต้องยอมตายเพื่อทำความดี"อีกนะ
ต้องยอมฆ่าคน ตีรันฟันแทงเพื่อรักษาความดี
แท้ที่จริงคือตีรันฟันแทงเพื่อรักษาอัตตาของตน เพื่อรักษาความคิดของตน ปกป้องรักษาความเห็นของตน
ดูเอาเถิดว่า แค่ปกป้องความคิดเห็นตัวเองเฉยๆนะ
อย่าไปบอกใครว่านับถือพุทธเลย อายเขา พุทธอะไรบ้าเลือด

แม้แต่สงครามโลก ก็ไม่ได้ซับซ็อนอะไรเลย
มันเกิดจากการ"ปกป้องความคิดเห็นของตน"ของผู้มีอำนาจไม่กี่คน
ภาษาเทคนิคหน่ิอย คือ สร้างสังขารขึ้นมา แล้วยึดถือเอาไว้เหนียวแน่นว่าของกู ตัวกู
ยอมไม่ได้ เป็นตายร้ายดีความคิดนี้ต้องอยู่
มีกันทุกคนนะ แต่เด้กมันไม่ถือปืน ไม่ได้คุมปุ่มปล่อยจรวด เราเลยมองว่าเป้นเรื่องของเด็ก
แท้ที่จริงคือเรื่องเดียวกันหมด



ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่อะไรนะครับ ถ้าจะเอาจริงเอาจัง ต้องฝึกพลังจิตของตัว ให้กล้าทิ้ง
ดูพระพุทธเจ้าท่านมีทุกอย่างที่คนในโลกนี้อยากมี แต่ทำไมตัดใจทิ้งไปนั่งกัดฟันทำทุกรกริยาในป่าอยู่ 9 ปี
ลองคิดว่าเป็นตัวเรา จะทนอยู่ถึง 9 ปีไหม หรือว่าสามวันวิ่งแจ้นกลับวังไปนอนสบายๆ

ท่านทำได้เพราะท่าบำเพ็ญพลังจิต หรือ พลังใจ หรือก็คือ "บารมี" มาก่อนในพระชาติสุดท้ายคือพระเวสสันดร
นี่ยังไม่พูดถึงบารมีด้านอื่นๆของพระพุทธเจ้าที่บำเพ็ญสะสมมาตั้ง 500 ชาติ

ต้องหัดทิ้งนะครับ หัดเล็กหัดน้อย ค่อยๆหัด ทิ้งจนเหลือแต่กายกับจิต แล้วค่อยว่ากันต่อ
ทิ้งได้ก้ทิ้ง ยังทิ้งไม่ไหวก็ฝากโอฬาฬไว้ก่อนแล้วกลับมาใหม่
ที่ทิ้งๆไป ไม่เสียหรอกครับ มันเป็นเหตุให้ได้ "ของดี" ทีหลัง


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 12 มี.ค. 2009, 22:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร