วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 06:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2008, 19:29
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ

.....................................................
มองตัวเองก่อนโทษคนอื่น


แก้ไขล่าสุดโดย siwattra เมื่อ 17 มี.ค. 2009, 18:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเล่าถึงการปฏิบัติของคุณ ณ ปัจจุบันสิครับว่าทำอย่างไร มีอาการอย่างไร เล่าออกมาให้หมดเท่าที่นึกได้ครับ แล้วกรัชกายจะส่งคำตอบทางเมล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2008, 19:29
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบเริ่มนั่งจะเวียนๆหัวจากนั้นรู้สึกเหมือนตัวโยกจะล้ม
พอปฎิบัติหลายๆครั้งก็เริ่มดีขึ้นคือไม่เวียนหัวและตัวโยก
แต่จะปวดหัวมากเหมือนหัวจะระเบิดเลยต้องหยุด
ครั้งต่อไปก็เลยเปลี่ยนเป็นนอนสมาธิโดยสวดมนต์ก่อน
หลังจากนั้นก็บริกรรมยุบหนอไปเรื่อยๆจนหลับ
แต่ที่เป็นหนักคือช่วงที่หันมาถือศีลทุกวัน พอเริ่มทำ(นอนทำสมาธิ)
ก็จะเวียนหัวปวดหัว(เป็นไมเกรน)มากคลื้นไส้เหมือนจะอาเจียน
บางครั้งมีอาการปวดท้อง(ตรงมดลูก)และเจ็บตามร่างกายร่วมด้วย
กินยาแก้ปวดก็ไม่หายก็เลยเลิกกิน มีอยู่2-3ครั้งที่ปวดหัวและปวดท้องและรู้สึกเหมือนกำลังจะตายเหงื่อออกเต็มตัว และรู้สึกหนาวๆบอกไม่ถูก
เลยนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและขอยอมตายหากตายเพราะปฎิบัติสมาธิจะไม่ยอมหยุด ก็เลยสวดมนต์ไปเรื่อยๆสักพักก็รู้สึกโล่งและอาการเจ็บปวดต่างๆก็หายไปคือโล่งเหมือนไม่เป็นอะไรมาก่อน
ณ ตอนนี้ก็มีแค่อาการปวดหัวและปวดท้องไม่มากเท่าไหรกินยาก็หาย
แต่พยายามจะไม่กินไม่รู้ถูกหรือเปล่า
(เคยไปตรวจแต่หมอบอกปรกติดีค่ะ)
บางครั้งได้กลิ่นดอกไม้แต่ไม่รู้กลิ่นดอกอะไร
จะว่ากลิ่นดอกไม้จากข้างนอกก็ไม่น่าใช่เพราะไม่มีดอก
จะเป็นสเปร์ที่ฉีดก็ไม่ใช่(บางครั้งไม่ทำสมาธิก็ได้กลิ่นเฉยๆ สักพักแล้วหายไป
บางทีก็กลิ่นธูปแต่จะแผ่เมตตาให้ทุกครั้งเมื่อได้กลิ่นธูปแล้วกลิ่นก็หายไป
แต่กลิ่นดอกไม้จะหาที่มาของกลิ่นแต่ไม่เคยเจอ

.....................................................
มองตัวเองก่อนโทษคนอื่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


siwattra เขียน:
ตอบเริ่มนั่งจะเวียนๆหัวจากนั้นรู้สึกเหมือนตัวโยกจะล้ม
พอปฎิบัติหลายๆครั้งก็เริ่มดีขึ้นคือไม่เวียนหัวและตัวโยก
แต่จะปวดหัวมากเหมือนหัวจะระเบิดเลยต้องหยุด
ครั้งต่อไปก็เลยเปลี่ยนเป็นนอนสมาธิโดยสวดมนต์ก่อน
หลังจากนั้นก็บริกรรมยุบหนอไปเรื่อยๆจนหลับ
แต่ที่เป็นหนักคือช่วงที่หันมาถือศีลทุกวัน พอเริ่มทำ(นอนทำสมาธิ)
ก็จะเวียนหัวปวดหัว(เป็นไมเกรน)มากคลื้นไส้เหมือนจะอาเจียน
บางครั้งมีอาการปวดท้อง(ตรงมดลูก)และเจ็บตามร่างกายร่วมด้วย
กินยาแก้ปวดก็ไม่หายก็เลยเลิกกิน มีอยู่2-3ครั้งที่ปวดหัวและปวดท้องและรู้สึกเหมือนกำลังจะตายเหงื่อออกเต็มตัว และรู้สึกหนาวๆบอกไม่ถูก
เลยนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและขอยอมตายหากตายเพราะปฎิบัติสมาธิจะไม่ยอมหยุด ก็เลยสวดมนต์ไปเรื่อยๆสักพักก็รู้สึกโล่งและอาการเจ็บปวดต่างๆก็หายไปคือโล่งเหมือนไม่เป็นอะไรมาก่อน
ณ ตอนนี้ก็มีแค่อาการปวดหัวและปวดท้องไม่มากเท่าไหรกินยาก็หาย
แต่พยายามจะไม่กินไม่รู้ถูกหรือเปล่า
(เคยไปตรวจแต่หมอบอกปรกติดีค่ะ)
บางครั้งได้กลิ่นดอกไม้แต่ไม่รู้กลิ่นดอกอะไร
จะว่ากลิ่นดอกไม้จากข้างนอกก็ไม่น่าใช่เพราะไม่มีดอก
จะเป็นสเปร์ที่ฉีดก็ไม่ใช่(บางครั้งไม่ทำสมาธิก็ได้กลิ่นเฉยๆ สักพักแล้วหายไป
บางทีก็กลิ่นธูปแต่จะแผ่เมตตาให้ทุกครั้งเมื่อได้กลิ่นธูปแล้วกลิ่นก็หายไป
แต่กลิ่นดอกไม้จะหาที่มาของกลิ่นแต่ไม่เคยเจอ

................

ขณะที่กระทบกับสิ่งดังกล่าวทั้งหมด จนถึงได้กลิ่นธูป ณ ขณะนั้นๆ คุณปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร- (เลี่ยงคำพูด แก้อารมณ์ ที่ใช้โดยรู้กันของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน แต่คนนอกจากนี้ไม่เข้าใจ ก็ค้านว่า
แก้อารมณ์ไม่ได้ กรัชกายจึงเลี่ยงคำพูดดังกล่าวนั้นเสีย ใช้คำพูดใหม่ว่า ปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร ?)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2008, 19:29
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนเวียนหัวและตัวโยกเคยภาวนาว่าเวียนหัวหนอแต่เป็นยิ่งกว่าเดิมก็สลยหยุดแล้วเปลี่ยนเป็นแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรหากยังไม่หายก็ลืมตาดูว่าตัวโยกหรือเปล่า
ส่วนมากจะใช้วิธีแผ่เมตตาก่อนหากไม่หายจึงหยุดปฎิบัติสักสองสามวันจึงค่อยปฎิบัติอีก
แต่มีสองสามครั้งคือที่นอนทำสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนจะตายที่ไม่หยุดกะยอมตายแต่จะสวดมนต์ไปเรื่อยๆ
ส่วนกลิ่นธูปก็แผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลให้ค่ะ

.....................................................
มองตัวเองก่อนโทษคนอื่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับได้ข้อมูลแล้ว รอรับคำตอบทางเมล :b1:

ฝึกเดินจงกรมด้วยดูหลักที่นี่

viewtopic.php?f=2&t=20691

คุณเดินระยะที่ 1 พอ ฝึกเดินบ่อยๆ เดินไปไหนมาไหนก็ทำได้ปฏิบัติได้ มิใข่ทำเฉพาะแต่พิธีการตรงนั้นเท่านั้นครับ เดินเร็วหน่อย ไม่ควรเดินช้าเกินไป สติตามจับเท้าซ้าย-ขวาที่ก้าวสลับไปมาให้ทัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: หากจะทำการแก้ทำผิดศีลข้อ3 จะต้องแก้ด้วยการทำกรรมฐาน(ต้องเจริญสติ +เจริญสมาธิ) อย่างที่ K บัวหิมะบอก ถึงจะค่อยๆทุเลาลง ครับ :b40:

ควันที่ว่าที่พูดถึง ก็คงเป็นนิมิตมาเตือนให้ เจ้าของกระทู้เร่งสร้างความดีครับ ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอกนะ :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 01:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2008, 19:29
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ :b8:

.....................................................
มองตัวเองก่อนโทษคนอื่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุของปัญหา: การดับทุกข์นั้น ทำได้ด้วยการกำจัดสาเหตุของมัน
ดังนั้น เมื่อกำหนดจับได้แล้วว่า ทุกข์หรือปัญหาของตนคืออะไร เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนแล้ว ก็สืบสาวหาสาเหตุต่อไป เพื่อจะได้ทำกิจแห่งปหานะ คือละ หรือ กำจัดเสีย

อย่างไรก็ตาม แม้เมื่อค้นหาสาเหตุ คนก็มักเลี่ยงหนีความจริง ชอบมองออกไปข้างนอก หรือ มองให้ไกลตัวจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงมักมองหาตัวการข้างนอกที่จะซัดทอดโทษให้ หรือ ถ้าจะเกี่ยวกับตนเอง ก็ให้เป็นเรื่องห่างไกลออกไป จนรู้สึกว่าพ้นจากความรับผิดชอบของตน สิ่งที่มักถูกซัดทอดให้เป็นสาเหตุนั้น ปรากฏออกมาเป็นลัทธิ (= ความเชื่อ) ที่ผิดพลาด ๓ ประเภท คือ *

๑. ปุพเพกตวาทะ ลัทธิกรรมเก่า ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นเพราะกรรม
ที่ทำไว้ในปางก่อน

๒. อิศวรนิรมิตวาท ลัทธิพระเป็นเจ้า ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่

๓. อเหตุวาท ลัทธิคอยโชค ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นไปเอง แล้วแต่โชคชะตาที่เลื่อนลอย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

......

* เช่น องฺ.ติก. 20/501/222 ; อภิ.วิ. 35/940/496 ม.อุ. 14/2-11/1-13 ขุ.ชา. 28/52-65/23-30 ; 771/260-5 ชา.อ.8 /67-73 อิศวรนิรนิมิตวาท เรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิสสรนิมมานวาท หรือ อิสสรกุตติวาท

โดยเฉพาะ ปุพเพกตวาท พึงระวังแยกจากหลักกรรมของพุทธศาสนาให้ดี
ท่านย้ำไว้ว่าเรื่องนี้น่าศึกษามาก ดูเหมือนชาวพุทธจำนวนมากจะพยายามหลบเลี่ยงไม่ยอมมองดูหลัก
พุทธศาสนาข้อนี้ การที่ท่านย้ำไว้ในคัมภีร์ตั้งหลายแห่งน่าจะเป็นข้อสำคัญ ซึ่งหากศึกษากันให้ดี อาจช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับหลักกรรมในพุทธศาสนาได้อีกมาก ไม่น่าจะมัวเลี่ยงหลบกันไปมา

วิภงฺค.อ. 652-3 วาทะที่ ๑ เป็นลิทธินิครนถ์ ที่ ๒ เป็นลัทธิพราหมณ์ ที่ ๓ เป็นลัทธิอาชีวก
อนึ่งใน ขุ.ชา. 28/61-64/25-26 จัดอุจเฉทวาทเข้าชุดมิจฉาวาทะ เหล่านี้รวมเป็น ๔ วาทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางธรรมปฏิเสธลัทธิเหล่านี้ เพราะขัดต่อกฎธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย แล้วท่านให้มองหาสาเหตุของทุกข์ตาม
กฎธรรมดาที่ว่านั้น โดยมองเหตุปัจจัยเริ่มตั้งแต่ภายในที่ตัวคน และที่ในตนเอง ได้แก่กรรมคือการกระทำ การพูด การคิด ที่ดีหรือชั่ว ซึ่งได้ประกอบและกำลังประกอบอยู่ และที่ได้สั่งสมไว้เป็นลักษณะนิสัย ตลอดจนการตั้งจิตวางใจต่อสิ่งทั้งหลาย และการมีความสัมพันธ์อย่างถูกต้องหรือผิดพลาดกับเหตุปัจจัย
ในสภาพแวดล้อมทั้งหลาย

ในขั้นพื้นฐาน ท่านกล่าวลึกไปอีกว่า ตัณหา ความทยานอยาก ที่ทำให้วางใจ ปฏิบัติตนแสดงออก สัมพันธ์ และการทำต่อชีวิตและโลกอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไม่เป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นจริง แต่เป็นไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังเป็นต้น ตลอดจนกิเลสปกป้องตัวตนทั้งหลาย เช่น ความกลัว ความริษยา ความหวดระแวง ฯลฯ ที่สืบเนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ คือ ที่มาแห่งปัญหาความทุกข์ของมนุษย์

ตัณหามี ๓ อย่างคือ กามตัณหา อยากกาม ได้แก่อยากได้อยากเอาอยากเสพเสวยอย่างหนึ่ง
ภวตัณหา อยากภพ ได้แก่อยากเป็นอยากคงอยู่ตลอดไป อยากมีชีวิตนิรันดรอย่างหนึ่ง
วิภวตัณหา อยากสิ้นภพ ได้แก่ปรารถนาภาวะสิ้นสูญอย่างหนึ่ง

และลึกลงไปกว่านั้น ท่านแสดงกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาทอันมีอวิชชา เป็นมูลของตัณหา ว่าเป็นที่ไหลเนืองมาแห่งปัญหาความทุกข์นั้น

เมื่อใด กำจัดอวิชชาตัณหาที่เป็นต้นตอของปัญหา และซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ได้แล้ว มนุษย์ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกิเลสปกป้องตัวตนทั้งหลาย เมื่อนั้น เขาก็จะสามารถปฏิบัติต่อชีวิตและสัมพันธ์กับโลก
ทั้งส่วนมนุษย์ สัตว์อื่น และธรรมชาติ ด้วยปัญญาที่เข้าใจสภาวะและรู้เหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ซึ่งทำให้แก้ปัญหาได้จริงอย่างเต็มความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์ แม้ความทุกข์จะมีเหลืออยู่ ก็เป็นเพียงทุกข์ตามสภาวะธรรมดา และก็ไม่มีอิทธิพลครองงำจิตใจของเขาได้

ในเมื่อไม่มีอิทธิพลของตัณหาครอบงำอยู่ภายใน ภารกิจของเขาจะมีเหลือยู่เพียงการคอยใช้ปัญญาศึกษาพิจารณาสถานการณ์เรื่องราวทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้รู้เข้าใจสภาวะและเหตุปัจจัยตามเป็นจริง แล้วจัดการด้วยปัญญานั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
แต่ตราบใด กิเลสที่บิดเบือน ครอบงำ และที่ทำให้เอนเอียงทั้งหลาย ยังบีบคั้นบังคับมนุษย์ให้เป็นทาส
ของมันได้
ตราบนั้น มนุษย์จะไม่สามารถแก้ปัญหาขจัดทุกข์ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายนอก หรือทุกข์ภายใน
เมื่อถูกทุกข์บีบคั้นในภายใน แทนที่จะดับ หรือ สามารถลดทอนปริมาณแห่งทุกข์ให้เบาบางลงได้ด้วยปัญญา
ก็กลับถูกตัณหาบีบกดให้ชดเชยออกไป ด้วยเติมทุกข์ที่ไหญ่กว่าเข้ามา หรือระบายทุกข์มา
ความทุกข์ และ ปัญหาของมนุษย์ได้เป็นมาและเป็นอยู่อย่างนี้ ตามอำนาจบงการของตัณหาที่มีอวิชชาคอย
หนุนอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สมุทัยดังกล่าวเป็นเหตุ ทุกข์เป็นผล จะนำผลคือทุกข์มาให้พิจารณาบ้างว่า พระพุทธเจ้าสอนเรื่องนี้ไว้
อย่างไร



ทุกข์ คือ ปัญหาต่างๆของมนุษย์ เป็นเรื่องบีบคั้นชีวิตจิตใจ มีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์มนุษย์ทุกคน เกิดขึ้นแก่ใคร เมื่อใด ก็เป็นจุดสนใจ เป็นของเด่นชัดแก่ผู้นั้น เมื่อนั้น แต่ว่าที่จริงมองกว้างๆ ชีวิตมีปัญหาและเป็นปัญหากันอยู่เรื่อยๆ เป็นธรรมดา
ฯลฯ
พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกข์ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์ เพราะทรงรู้ว่า ทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ดับได้ มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะต้องคงอยู่ตลอดไป ชีวิตนี้ที่
ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่
ถ้าดับทุกข์แก้ปัญหาแล้ว หรือ ได้สร้างความสามารถในการดับทุกข์ แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว ชีวิตก็ปลอดโปร่งโล่งเบา พบสุขแท้จริง
แต่การดับทุกข์ หรือ แก้ไขปัญหานั้น มิใช่ทำได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหา หรือ ปิดตาไม่มองทุกข์
ตรงข้ามต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน การรับรู้สู้หน้ามิใช่หมายความว่า จะเข้าไปแบกทุกข์ไว้ หรือ จะให้
ตนเป็นทุกข์ แต่เพื่อรู้เท่าทัน จะได้แก้ไขกำจัดมันได้
การรู้เท่าทันนี้ คือ การทำหน้าที่ต่อทุกข์ให้ถูกต้อง ได้แก่ ทำปริญญา คือ กำหนดรู้ ทำความเข้าใจสภาวะ
ของทุกข์
หรือ ปัญหานั้น ให้รู้ว่า ทุกข์หรือปัญหาของเรานั้นคืออะไรกันแน่ อยู่ที่ไหน
(บางทีคนชอบหลบเลี่ยงทุกข์หนีปัญหา และทั้งที่รู้ว่ามีปัญหา แต่จะจับให้ชัดก็ไม่รู้ว่า ปัญหาของตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุมๆเครือๆหรือพร่าสับสน) มีขอบเขตแค่ไหน เมื่อกำหนดจับทุกข์ได้อย่างนี้ เหมือนแพทย์ตรวจอาการจนรู้โรค รู้จุดที่เป็นโรคแล้ว ก็เป็นอันเสร็จหน้าที่ต่อทุกข์
เราไม่มีหน้าที่กำจัดทุกข์ หรือ ละเว้น เพราะทุกข์จะละได้ที่ตัวมันเองไม่ได้ ต้องละที่เหตุของมัน

ถ้าจะละทุกข์ที่ตัวทุกข์ ก็เหมือนรักษาโรคที่อาการ เช่น ให้ยาระงับอาการไว้ แก้ไขโรคไม่ได้จริง
พึงดำเนินการค้นหาสาเหตุต่อไป
แพทย์เรียนรู้เกี่ยวกับโรค และต้องเรียนรู้เรื่องร่างกาย อันเป็นที่ตั้งแห่งโรคด้วย ฉันใด
ผู้จะดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิต อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ รวมถึงสภาวะแห่งสังขารโลกที่เกี่ยวข้องด้วย ฉันนั้น
สาระสำคัญของอริยสัจข้อที่ ๑ คือ ยอมรับความจริงเกี่ยวกับทุกข์ตามที่มันเป็นอยู่ แล้วมองดูรู้จักชีวิตและโลกตามที่มันเป็นจริง

viewtopic.php?f=2&t=18885&p=97048#p97048

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร