วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 23:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 23  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
พูดแบบนี้เขาเรียกว่า พูดให้ตัวเองฟังครับ หรือเรียกว่าพูดเองเออเอง

ไอ้ปัญจุปาทานขันธ์อะไรของคุณน่ะ ถ้าผู้ที่ละสักกายทิฐิได้แล้ว
ผัสสะบางตัวก็ไม่มีอุปาทานขันธ์ แล้วสิ่งที่คุณพูดอ้างพุทธองค์มันใช่ได้มั้ยครับ
ผมถึงได้บอกว่า กระบวนการขันธ์ไม่เกี่ยว ต่างก็เป็นกระบวนการแยกต่างหาก

ผลของทั้งสองกระบวนการ มันไม่เหมือนกัน
พระพุทธองค์สอนให้รู้จักกระบวนการขันธ์ห้า
เพื่อเอามาใช้ดับกระบวนการปฏิจจฯ
สรุปก็คือคุณกำลังหลงว่า กระวนการขันธ์ห้าเป็นอันเดียวกับกระบวนการปฏิจจฯ

ผัสสะ ตัวไหน ไม่เป็นอุปาทานขันธ์ แก่ผู้ที่ละสักกายทิฏฐิได้
ผู้ละสักกายะทิฏฐิได้ คือผู้ได้อรหัตผลหรือ???

มั่วอีกแล้วโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผลของทั้งสองกระบวนการ มันไม่เหมือนกัน
พระพุทธองค์สอนให้รู้จักกระบวนการขันธ์ห้า
เพื่อเอามาใช้ดับกระบวนการปฏิจจฯ


สอนที่พระสูตรไหน? มีพุทธพจน์ไหนรับรอง?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
เจตนาที่คุณบอกถ้าเป็น ความยึดมั่นถือมั่นในกุศลและอกุศล เป็นกรรมเก่าในปฏิจจ์ของอดีต
ชาติที่แล้วนะ ใช่ครับ
แต่มันไม่ได้มีผลที่เกี่ยวกับบาปบุญ สวยหล่อแบบที่คุณบอกครับ

เช่นนั้น เขียน:
ถ้าโฮฮับจะแย้ง ก็คงไปแย้งกับพระพุทธองค์ ที่ท่านแสดงถึงวิบากแห่งกรรม ที่มีผลต่อขันธ์ นะครับ
พระสูตรก็ยกให้อ่านแล้ว พิจารณาใหม่ตามไปนะครับ

โฮฮับ เขียน:
เอาอีกแล้วครับ มามุขเดิม เมื่อก่อนอ้างบาลี
นี่อ้างพระพุทธเจ้า

ไม่มีใครแย้งพระพุทธองค์หรอกครับ มันอยู่ที่ใครจะเข้าใจคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงบอกครับ
ไม่ใช่ตัวเข้าใจไปอย่าง พอใครคิดไม่เหมือนตน ก็เล่นอ้างพระพุทธเจ้าหน้าตาเฉย
คุณเช่นนั้นเคยเห็นธรรมที่ต๊องเอามาโพสอยู่บ่อยๆมั้ยครับ
พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องกล่าวตู่พระพุทธเจ้านั้นแหล่ะครับ
สำหรับผมนั้น เข้าใจพระธรรมอย่างไรผมก็พูดไปอย่างนั้น

ผมไม่ได้ปฏิเสธเรื่องวิบากกรรม เรื่องผลขันธ์ แต่ทั้งหมดมันเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่
เรากำลังถกกันครับ มันเป็นเพราะคุณไม่รู้จักแยกแยะพระธรรม ไม่รู้จักทำความเข้าใจกับ
พระธรรมให้เป็นเรื่องๆไป คุณอาศัยแต่ความจำในพระไตรปิฎกพอมีปัญหาเรื่องหนึ่ง
คุณก็ไปหยิบอีกเรื่องที่มีบัญญัติคล้ายกันมาแปะ แล้วก็โวยวายว่าอีกฝ่ายแย้งพุทธพจน์
มันจะไปแย้งอะไร ก็ในเมื่อเรากำลังคุยกันในเรื่องของพุทธพจน์ พุทธพจน์นะจริง
แต่ความเข้าใจของแต่ละคนต่างหากที่จริงหรือเทียม หรือคุณว่าไง!

เช่นนั้น ไม่ได้อธิบายตามความเข้าใจ
แต่ยกพระสูตรมาให้อ่าน
ให้อ่าน
ตามที่พระพุทธองค์แสดง
เป็นพุทธวจจนะ

ที่พระองค์แสดง ถึงเหตุปัจจัย แลเจตนาที่ทำแล้วเป็นกรรมเก่า มีผลต่ออัตตภาพ หรือขันธ์ในปัจจุบัน อย่างไร
โฮฮับ เพียงไม่ได้อ่านและใช้ สติปัญญาอันน้อยนิดที่มีอยู่ทำความเข้าใจให้เพิ่มมากขึ้นต่อพุทธวจนะ
ดังนั้น โฮฮับจึงมีความเข้าใจเพียงที่โฮฮับเข้าใจ
เช่นนั้น ก็เข้าใจว่า โฮฮับมีความเข้าใจดังนั้นจึงแสดงออกได้เพียงนั้น

อีกประการหนึ่ง การใช้คำพูดของโฮฮับต่อ สหธัมมิกชน ควรจะมีความสำรวมมากกว่านี้นะครับ
หากโฮฮับยังปราถนาจะสนทนธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนธรรมทัศนะกับเช่นนั้น อีก
เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ถ้านรกหรือสวรรค์ในจิตนการของคุณผมไม่รู้ แต่ถ้าเป็นเรื่องปฏิจจสมุบาท
มันไม่มีนรกสวรรต์มันมีแต่กุศลและอกุศล ซึ่งทุกอย่างเป็นกองทุกข์หรืออวิชา

พูดง่ายๆก็คือถ้าเอานรกหรือสวรรค์ในจินตนาการของคุณ มาเทียบกับปฏิจจสมุบาท
มันก็อยู่ระหว่าง อวิชากับวิญญาณ นั้นก็คือสังขาร


และสิ่งที่ติดตามตัว จากภพนี้สู่ภพหน้า มันก็คือความยึดมั่นถือมั่นต่อกุศลและอกุศล
ในภพปัจจุบันครับ พูดให้เข้าใจนั้นก็คือ ตัณหานั้นเอง


huh

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พูดแบบนี้เขาเรียกว่า พูดให้ตัวเองฟังครับ หรือเรียกว่าพูดเองเออเอง

ไอ้ปัญจุปาทานขันธ์อะไรของคุณน่ะ ถ้าผู้ที่ละสักกายทิฐิได้แล้ว
ผัสสะบางตัวก็ไม่มีอุปาทานขันธ์ แล้วสิ่งที่คุณพูดอ้างพุทธองค์มันใช่ได้มั้ยครับ
ผมถึงได้บอกว่า กระบวนการขันธ์ไม่เกี่ยว ต่างก็เป็นกระบวนการแยกต่างหาก

ผลของทั้งสองกระบวนการ มันไม่เหมือนกัน
พระพุทธองค์สอนให้รู้จักกระบวนการขันธ์ห้า
เพื่อเอามาใช้ดับกระบวนการปฏิจจฯ
สรุปก็คือคุณกำลังหลงว่า กระวนการขันธ์ห้าเป็นอันเดียวกับกระบวนการปฏิจจฯ

ผัสสะ ตัวไหน ไม่เป็นอุปาทานขันธ์ แก่ผู้ที่ละสักกายทิฏฐิได้
ผู้ละสักกายะทิฏฐิได้ คือผู้ได้อรหัตผลหรือ???

มั่วอีกแล้วโฮฮับ

ท่านโฮใช่แบบนี้หรือเปล่าเจ้าค่ะ :b10: ที่บอกว่าละสักกายทิฏฐิได้แล้วผัสสะบางตัวก็ไม่มีอุปาทานขันธ์ ยกตัวอย่าง ดิฉันละสังโยชน์ตัวที่ 4ได้แล้ว คือ กามราคะ เมื่อผัสสะมากระทบกับตา ทำให้เกิดอุปทานขันธ์มีอารมณ์ปรุงแต่งไปกับนามรูป สำหรับดิฉันต่อให้เปิดหนังโป๊ดิฉันก็ไม่รู้สึกปรุงแต่งไปกับรูปนามที่มากระทบทางตา เห็นก็สักแต่ว่าเห็นได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เพราะจิตเราไม่ไปจับเอาสิ่งนั้นมาปรุงแต่ง เพราะตัณหาของดิฉันเกิดจากความรักจึงเกิดอุปทานขันธ์พอดิฉันเห็นสัจธรรม คือ ทุกข์ ในอริยสัจสี่ สูญเสียคนที่ตนรัก ทำให้ละความยึดถือตรงนั้น จิตเลิกปรุงแต่งตรงนั้น พุดง่ายๆเมื่อหมดความรัก ก็หมดความรุ้สึกของตัณหา กามราคะก็ดับลงไปโดยปริยาย แต่ไม่รู้ว่าคนอื่นจะเป็นแบบนี้มั้ย คงจะขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของตนด้วยกระมัง s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Nongkong ละกามราคานุสัย ได้เด็ดขาดแล้วหรือครับ
ถ้าละกามราคะได้แล้ว ละปฏิฆานุสัยได้เด็ดขาดเช่นกัน หรือว่ายังมีเหลืออยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
คุณ Nongkong ละกามราคานุสัย ได้เด็ดขาดแล้วหรือครับ
ถ้าละกามราคะได้แล้ว ละปฏิฆานุสัยได้เด็ดขาดเช่นกัน หรือว่ายังมีเหลืออยู่

ไม่รุ้สึกอยากในกามราคะ และไม่หงุดหงิดเรื่องอย่างว่าเลยเจ้าค่ะ ดิฉันพูดด้วยสัจจริงเลยเจ้าค่ะ :b8:
แต่หงุดหงิดเรื่อง ความยินร้ายนี่แหละเจ้าค่ะ :b5: ดิฉันก็เคยแปลกใจเหมือนกันว่า สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติหรือเปล่า ทำให้ดิฉันไม่อยากในกามราคานุสัย สงสัยดิฉันจะตายด้านแล้วเจ้าค่ะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




z2dHrD.gif
z2dHrD.gif [ 10.08 KiB | เปิดดู 2929 ครั้ง ]
ความยินดี ยินร้ายคู่กัน มียินร้ายก็ยังมีความยินดี เพียงแต่ว่าขณะนั้นยังไม่ถูกจุดมัน ถ้าถูกจุดเมื่อไรก็จะเกิดความยินดี
ความยินร้ายแรงเท่าใด ความยินดีก็จะแรงเท่านั้น คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ความยินดี ยินร้ายคู่กัน มียินร้ายก็ยังมีความยินดี เพียงแต่ว่าขณะนั้นยังไม่ถูกจุดมัน ถ้าถูกจุดเมื่อไรก็จะเกิดความยินดี
ความยินร้ายแรงเท่าใด ความยินดีก็จะแรงเท่านั้น คิกๆๆ :b32:

ลุงกรัชกาย อธิบายความหมายหน่อย "มียินร้ายก็ยังมียินดี เพียงแต่ขณะนั้นยังไม่ถูกจุดมัน ถ้าถุกจุดเมื่อไหร่ก็จะเกิดความยินดี" รวมถึงกามราคานุสัยด้วยรึเปล่า แล้วจะถูกจุดขึ้นมาได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้ติดใจในกามคุณ นอกจากจะเกิด อุปทานขันธ์ขึ้นอีกครั้ง คือไปยึดมั่นในรูป นาม อีกครั้ง ตัณหาก็อาจจะเกิดขึ้นก็อาจเป็นได้ แต่สำหรับดิฉัน รุป นามนั้น จะเกิดขึ้นอีกได้อย่างไร ในเมื่อรูป นาม ที่ยึดมั่นนั้นสลายเป็นขี้เถ้าแล้ว มีแต่ความคลายจาง ปล่อยวาง ละสิ้นตัณหา(รัก) แต่ไม่ใช่จะมีใครที่สามารถทำได้หรอก ที่ดิฉันตัดกิเลสได้อาจจะเป็นบุญเก่าที่เคยสะสมมาหลายชาติแล้วก็ได้ :b25:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 23:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ :b8:
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อลองพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้รวม 3 กาล...คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคต...ส่วนที่เป็นอดีตนั้นก็คือส่วนที่เป็นต้นกรรมที่มีอวิชชาเป็นต้นเรื่องมีสังขารและวิญญาณเป็นกรรมที่ต่อออกมาจากอวิชชาตัวแม่(อวิชชา>สังขาร>วิญญาณ)...จนเกิดผลสำเร็จที่เป็นปลายของกรรมคือวิบากที่เป็นส่วนของปัจจุบันนั่นคือ รูปนาม ซึ่งหากพิจารณาที่ปัจจุบันขณะเพียงอย่างเดียว ก็สามารถพูดได้ว่า รูปนามนี้คือต้นกรรมของปันจุบัน มีกิริยาอาการของกรรมที่ต่อออกมาคือ อายตนะ>ผัสสะ>เวทนา>ตัณหา>อุปทาน>ภพ...โดยมีภพเป็นปลายของกรรมในส่วนปัจจุบันที่จะเป็นวิบากในอนาคตคือ ภพที่จะต่อออกไปเป็น ชาติ>ความเกิดฯ..นั่นเอง...
ถึงตรงนี้เมื่อพิจารณาที่ตัวอดีตว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วไม่สามารถกลับไปย้อนแก้ไขได้อีก...พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นปัจจุบันที่สามารถเป็นตัวกำหนดอนาคตในภายภาคหน้าได้...ซึ่งก็คือ รูปนามที่เป็นตัวต้นกรรมในปัจจุบันขณะและมีอวิชชาตัวต้นเรื่องติดมาจากอดีตที่หาจุดเรื่มต้นและสิ้นสุดไม่ได้...รูปนามนี้พระองค์ทรงยกแสดงแจกแจงออกมาเป็นขันธ์ 5 เพื่อให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนขึ้นในอาการที่ขันธ์แต่ละตัวแสดงออกมา...โดยวางอุบายธรรมในการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 ไว้ว่า...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือภาวะที่สิ่งอันเป็นสมมติของปลอมทั้งหลายมีอยู่ประจำตลอดมา และไม่เพียงแต่รูปนามขันธ์5 เท่านั้นที่เป็นสมมติ..แม้แต่สิ่งที่มีแต่รูปไม่มีนามทั้งหลายก็เป็นสมมติ...สิ่งที่เป็นแต่นามไม่มีรูปทั้งหลายก็เป็นสมมติเช่นเดียวกัน...แต่เพราะอวิชชาตัวต้นเรื่องนั่นเองที่ทำให้จิตไปหลงสมมติ ไปถือเอาสมมติของปลอมทั้งหลายว่าเป็นของจริงเป็นตัวเป็นตนเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน...ครูบาอาจารย์ที่สำเร็จด้วยชอบแล้วได้กล่าวไว้ว่า จิตที่รู้เท่าในสมมติทั้งปวงนั้นคือจิตเข้าสู่นิพพานเป็นวิมุตติ
ดังนั้นการพิจารณาขันธ์5 ตัวต้นกรรมในปัจจุบันโดยใช้อุบายธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า และการพิจารณาขันธ์ 5 โดยให้เห็นตามปฏิจจสมุปบาทคือตามเหตุและปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ทำได้เช่นกันไม่ผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า...เหตุเพราะ พระธรรมทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์นั้นคืออุบายธรรมที่พระพุทธเจ้าเมตตาแสดงสั่งสอนสาวกทั้งหลายเอาไว้...ผิดถูกโปรดจงพิจารณา...ขอให้พิจารณาธรรมโดยธรรมนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2012, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี ลูกพระป่า
ลูกพระป่า เขียน:
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อลองพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้รวม 3 กาล...คือ อดีต ปัจจุบันและอนาคต...ส่วนที่เป็นอดีตนั้นก็คือส่วนที่เป็นต้นกรรมที่มีอวิชชาเป็นต้นเรื่องมีสังขารและวิญญาณเป็นกรรมที่ต่อออกมาจากอวิชชาตัวแม่(อวิชชา>สังขาร>วิญญาณ)...จนเกิดผลสำเร็จที่เป็นปลายของกรรมคือวิบากที่เป็นส่วนของปัจจุบันนั่นคือ รูปนาม ซึ่งหากพิจารณาที่ปัจจุบันขณะเพียงอย่างเดียว ก็สามารถพูดได้ว่า รูปนามนี้คือต้นกรรมของปันจุบัน มีกิริยาอาการของกรรมที่ต่อออกมาคือ อายตนะ>ผัสสะ>เวทนา>ตัณหา>อุปทาน>ภพ...โดยมีภพเป็นปลายของกรรมในส่วนปัจจุบันที่จะเป็นวิบากในอนาคตคือ ภพที่จะต่อออกไปเป็น ชาติ>ความเกิดฯ..นั่นเอง...

สังขาร ในอดีต คือกรรมในอดีตที่มีอวิชชาเป็นมูล ให้ผลคือให้วิบากกรรมมีผลแก่ขันธ์ในปัจจุบัน
เช่นให้มีรูปร่างอัตตภาพอย่างไร ในปัจจุบันชาติ หรือยังให้วิบากต่อเนื่องไปอีกเช่น อัตตภาพอาจจะประสบกับอะไรสักอย่างให้อัตตภาพที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไปก็ได้
และ รูปนามในปัจจุบัน ก็ไม่ใช่กรรมใหม่ แต่ปัจจุบันกรรม หรือกรรมใหม่นั้น ก็คือสังขารที่เป็นกรรมในปัจจุบัน อันมีวิบากแก่ขันธ์ในปัจจุบันก็ได้ หรือจะให้วิบากในกาลถัดไป หรือกาลต่อๆไปก็มี
กรรม หรือสังขารนั้นก็เป็นตัวกำหนดแก่เหตุปัจจัยในลำดับๆต่อๆไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2012, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ถึงตรงนี้เมื่อพิจารณาที่ตัวอดีตว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วไม่สามารถกลับไปย้อนแก้ไขได้อีก...พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นปัจจุบันที่สามารถเป็นตัวกำหนดอนาคตในภายภาคหน้าได้...ซึ่งก็คือ รูปนามที่เป็นตัวต้นกรรมในปัจจุบันขณะและมีอวิชชาตัวต้นเรื่องติดมาจากอดีตที่หาจุดเรื่มต้นและสิ้นสุดไม่ได้...รูปนามนี้พระองค์ทรงยกแสดงแจกแจงออกมาเป็นขันธ์ 5 เพื่อให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนขึ้นในอาการที่ขันธ์แต่ละตัวแสดงออกมา...โดยวางอุบายธรรมในการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 ไว้ว่า...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือภาวะที่สิ่งอันเป็นสมมติของปลอมทั้งหลายมีอยู่ประจำตลอดมา และไม่เพียงแต่รูปนามขันธ์5 เท่านั้นที่เป็นสมมติ..แม้แต่สิ่งที่มีแต่รูปไม่มีนามทั้งหลายก็เป็นสมมติ...สิ่งที่เป็นแต่นามไม่มีรูปทั้งหลายก็เป็นสมมติเช่นเดียวกัน...แต่เพราะอวิชชาตัวต้นเรื่องนั่นเองที่ทำให้จิตไปหลงสมมติ ไปถือเอาสมมติของปลอมทั้งหลายว่าเป็นของจริงเป็นตัวเป็นตนเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน...ครูบาอาจารย์ที่สำเร็จด้วยชอบแล้วได้กล่าวไว้ว่า จิตที่รู้เท่าในสมมติทั้งปวงนั้นคือจิตเข้าสู่นิพพานเป็นวิมุตติ
ดังนั้นการพิจารณาขันธ์5 ตัวต้นกรรมในปัจจุบันโดยใช้อุบายธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า และการพิจารณาขันธ์ 5 โดยให้เห็นตามปฏิจจสมุปบาทคือตามเหตุและปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ทำได้เช่นกันไม่ผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า...เหตุเพราะ พระธรรมทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์นั้นคืออุบายธรรมที่พระพุทธเจ้าเมตตาแสดงสั่งสอนสาวกทั้งหลายเอาไว้

ดังนั้น ขันธ์ 5 จึงไม่ใช่ตัวต้นกรรม
รูป_นาม...ต้องอาศัยวิญญาณที่ยังเจือกับอวิชชาจึงจะ สำเร็จเป็นความมีชีวิต
เช่นมีความหยั่งลงแห่งคันธัพพะหรือปฏิสนธิวิญญาณ(สัตว์ ก็ตาม) จึงมีนามรูป
ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่การหยั่งลงแห่งปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งก็คือกรรมหรือสังขารนั่นเอง

รูป_นามอันเป็นที่น่ารักน่าปราถนาน่าใคร่น่ายินดี ก็ต้องอาศัยวิญญาณขึ้นไปรับรู้อารมณ์ จึงมีรูปนามเช่นนั้นได้ โดยการที่วิญญาณขึ้นสู่การรับรู้อารมณ์นั้นก็โดยอาศัยอำนาจแห่งสังขาร อันมีอวิชชาเป็นเค้ามูล

รูปนามนี้เองที่พระพุทธองค์สอนว่า ถ้าไปยึดมั่นหมายเอาเข้า ก็จะเกิดภพเกิดชาติเป็นทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สุด จึงตรัสสอนให้ละความยึดมั่นถือมั่นเสีย เห็นรูปนามตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงการประกอบขึ้นมีอาหารหล่อเลี้ยง เป็นสิ่งแตกสลายได้ และเพราะเราไปยึดมั่นเอาสิ่งแตกสลายได้เพียงนั้นว่านั่นเป็นเรา นั่นเป็นของของเรา เป็นอัตตาตัวตนของเราขึ้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้น ให้จิตรู้เท่าทันอวิชชาจึงทำลายความยึดมั่นนั้นลงได้

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2012, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พูดแบบนี้เขาเรียกว่า พูดให้ตัวเองฟังครับ หรือเรียกว่าพูดเองเออเอง

ไอ้ปัญจุปาทานขันธ์อะไรของคุณน่ะ ถ้าผู้ที่ละสักกายทิฐิได้แล้ว
ผัสสะบางตัวก็ไม่มีอุปาทานขันธ์ แล้วสิ่งที่คุณพูดอ้างพุทธองค์มันใช่ได้มั้ยครับ
ผมถึงได้บอกว่า กระบวนการขันธ์ไม่เกี่ยว ต่างก็เป็นกระบวนการแยกต่างหาก

ผลของทั้งสองกระบวนการ มันไม่เหมือนกัน
พระพุทธองค์สอนให้รู้จักกระบวนการขันธ์ห้า
เพื่อเอามาใช้ดับกระบวนการปฏิจจฯ
สรุปก็คือคุณกำลังหลงว่า กระวนการขันธ์ห้าเป็นอันเดียวกับกระบวนการปฏิจจฯ

ผัสสะ ตัวไหน ไม่เป็นอุปาทานขันธ์ แก่ผู้ที่ละสักกายทิฏฐิได้
ผู้ละสักกายะทิฏฐิได้ คือผู้ได้อรหัตผลหรือ???
มั่วอีกแล้วโฮฮับ

พูดได้คำเดียวครับเหนื่อยที่ต้องมาอธิบายให้คนที่ไม่รู้และไม่พยามจะรู้เนี่ย
ที่ผมยกสักกายทิฐิมาเป็นตัวอย่างให้ดู แล้วคุณมาว่าผมมั่ว มันเป็นเพราะคุณไม่พยายาม
ที่จะทำความเข้ากับมัน

มันมีสิ่งอยู่สามสิ่งให้คุณจำไว้ในใจเลยมันมี ตัณหาในปฏิจจฯ สังโยชน์สิบและกระบวนการขันธ์
เราเกิดมาชาตินี้ มันมาพร้อมกับสังโยชน์สิบ เราเรียกบุคคลพวกนี้ว่า ปุถุชน

ในวงปฏิจจ์มันก็เป็นของมันอย่างนั้น ถ้าเรายังมีรูปนามอยู่เราไม่สามารถไปทำอะไร
กับกระบวนการนั้นได้ ต่อให้เป็นพระอรหันต์ก็ตาม กระบวนการปฏิจจ์ขึ้นอยู่กับกฎอิทัปปัจจยตา
ทั้งสองเป็นกฎแห่งธรรมชาติ ใครก็ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงได้


สิ่งที่จะเปลี่ยนได้แค่เพียง กระบวนการขันธ์ในรูปนามเท่านั้น

ความสัมพันธ์ของกระบวนการปฏิจจฯ กฎอิทัปปัจจยตาและกระบวนการขันธ์คือ
ปฏิจจ์เปลี่ยนเหมือนแผนที่ที่ตายตัว กฎอิทัปปัจจฯเปรียบเหมือนกฎข้อบังคับ
ที่ให้เราเดินไปตามที่อิทัปปัจจฯกำหนด ตัวเราหรือผู้เดินก็คือกระบวนการขันธ์ในรูปนาม


ในลักษณะการเดินนั้น ผู้ที่เดินคือกระบวนการขันธ์
กระบวนการทำงานของขันธ์มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของขันธ์นั้นๆ คือมันจะมีกิเลส
ที่เรียกว่าสังโยชน์สิบ คอยขัดขวางการทำงานของขันธ์ให้เสื่อมคุณภาพ


การเดินในวงปฏิจจ์ ท่านให้เดินในลักษณะรู้และเดินผ่านมันไป
แต่เป็นเพราะรูปนามปัจจุบันมีสังโยชน์ติดตามมาด้วย เมื่อเวลาเดินผ่าน
ช่วงของตัณหาในวงปฏิจจ์ แทนที่จะเดินผ่านมันไปเฉยๆ สังโยชน์จะชักนำ
กระบวนการขันธ์ให้เข้าไปในตัณหานั้น เมื่อเป็นดังนี้ผลของตัณหาในปฏิจจ
แทนที่จะเป็น อุปาทานเฉยๆ แต่จะเป็นอุปาทานที่กระบวนการขันธ์อยู่ด้วย
ผลก็คือเกิดทุกข์ขึ้นที่ขันธ์
ทุกข์ที่ว่าเป็นทุกข์ของขันธ์ แต่ในความหมายของปฏิจจสมุบาท
มันเป็นอวิชามันเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ที่แท้จริงคือการเวียนว่ายตายเกิด


อีกอย่าง ตัณหาเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล อย่าลืมเป็นอันขาดว่า การเกิดเป็นทุกข์
อย่าไปคิดว่า ทำบุญมากชาติหน้าจะได้หล่อได้สวยเป็นสุข อันนี้มันโดนสักกายทิฐิปุถุชน
เล่นงานอยู่ และเกิดวิจิกิจฉา ทำให้ไม่เข้าใจธรรม ที่สำคัญเกิดศีลพรตปรามาส
หลงอยู่กับผลบุญผลขันธ์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2012, 07:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
ถึงตรงนี้เมื่อพิจารณาที่ตัวอดีตว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วไม่สามารถกลับไปย้อนแก้ไขได้อีก...พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นปัจจุบันที่สามารถเป็นตัวกำหนดอนาคตในภายภาคหน้าได้...ซึ่งก็คือ รูปนามที่เป็นตัวต้นกรรมในปัจจุบันขณะและมีอวิชชาตัวต้นเรื่องติดมาจากอดีตที่หาจุดเรื่มต้นและสิ้นสุดไม่ได้...รูปนามนี้พระองค์ทรงยกแสดงแจกแจงออกมาเป็นขันธ์ 5 เพื่อให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนขึ้นในอาการที่ขันธ์แต่ละตัวแสดงออกมา...โดยวางอุบายธรรมในการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 ไว้ว่า...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือภาวะที่สิ่งอันเป็นสมมติของปลอมทั้งหลายมีอยู่ประจำตลอดมา และไม่เพียงแต่รูปนามขันธ์5 เท่านั้นที่เป็นสมมติ..แม้แต่สิ่งที่มีแต่รูปไม่มีนามทั้งหลายก็เป็นสมมติ...สิ่งที่เป็นแต่นามไม่มีรูปทั้งหลายก็เป็นสมมติเช่นเดียวกัน...แต่เพราะอวิชชาตัวต้นเรื่องนั่นเองที่ทำให้จิตไปหลงสมมติ ไปถือเอาสมมติของปลอมทั้งหลายว่าเป็นของจริงเป็นตัวเป็นตนเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน...ครูบาอาจารย์ที่สำเร็จด้วยชอบแล้วได้กล่าวไว้ว่า จิตที่รู้เท่าในสมมติทั้งปวงนั้นคือจิตเข้าสู่นิพพานเป็นวิมุตติ
ดังนั้นการพิจารณาขันธ์5 ตัวต้นกรรมในปัจจุบันโดยใช้อุบายธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า และการพิจารณาขันธ์ 5 โดยให้เห็นตามปฏิจจสมุปบาทคือตามเหตุและปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ทำได้เช่นกันไม่ผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า...เหตุเพราะ พระธรรมทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์นั้นคืออุบายธรรมที่พระพุทธเจ้าเมตตาแสดงสั่งสอนสาวกทั้งหลายเอาไว้

ดังนั้น ขันธ์ 5 จึงไม่ใช่ตัวต้นกรรม
รูป_นาม...ต้องอาศัยวิญญาณที่ยังเจือกับอวิชชาจึงจะ สำเร็จเป็นความมีชีวิต
เช่นมีความหยั่งลงแห่งคันธัพพะหรือปฏิสนธิวิญญาณ(สัตว์ ก็ตาม) จึงมีนามรูป
ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่การหยั่งลงแห่งปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งก็คือกรรมหรือสังขารนั่นเอง

รูป_นามอันเป็นที่น่ารักน่าปราถนาน่าใคร่น่ายินดี ก็ต้องอาศัยวิญญาณขึ้นไปรับรู้อารมณ์ จึงมีรูปนามเช่นนั้นได้ โดยการที่วิญญาณขึ้นสู่การรับรู้อารมณ์นั้นก็โดยอาศัยอำนาจแห่งสังขาร อันมีอวิชชาเป็นเค้ามูล

รูปนามนี้เองที่พระพุทธองค์สอนว่า ถ้าไปยึดมั่นหมายเอาเข้า ก็จะเกิดภพเกิดชาติเป็นทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สุด จึงตรัสสอนให้ละความยึดมั่นถือมั่นเสีย เห็นรูปนามตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงการประกอบขึ้นมีอาหารหล่อเลี้ยง เป็นสิ่งแตกสลายได้ และเพราะเราไปยึดมั่นเอาสิ่งแตกสลายได้เพียงนั้นว่านั่นเป็นเรา นั่นเป็นของของเรา เป็นอัตตาตัวตนของเราขึ้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้น ให้จิตรู้เท่าทันอวิชชาจึงทำลายความยึดมั่นนั้นลงได้

เจริญธรรม

สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
ผมเห็นด้วยว่าหากเราพิจารณาดูที่ปฏิจจสมุปบาทในองค์รวมทั้งหมดแล้ว รูปนามหรือขันธ์5นี้ก็ไม่ใช่ตัวต้นกรรมครับ...เพียงแต่ที่ผมกล่าวว่าขันธ์5 เป็นตัวต้นกรรมนั้น เป็นการพิจารณาที่ปัจจุบันขณะคือความตั้งอยู่ของรูปนามที่เป็นผลสำเร็จของ อวิชชา>สังขาร>วิญญาณ สามปัจจัยต้นในปฏิจจสมุปบาทเพียงอย่างเดียวครับ

เมื่อรูปนามเกิดขึ้นแล้ว อวิชชา>สังขาร>วิญญาณ ไปอยู่ไหน...ก็อยู่ที่จิตเดิมจิตเดียวที่ปันจุบันขณะประกอบกันขึ้นมาเป็น รูปนาม เป็น กาย1 ใจ1 ดังนั้นปัจจุบันจึงให้เอารูปนามเป็นเหตุเพื่อใช้ค้นคว้าพิจารณาให้เห็นความจริงแห่งธรรมดาทั้งหลายนั่นเองครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2012, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
FLAME เขียน:
คุณ Nongkong ละกามราคานุสัย ได้เด็ดขาดแล้วหรือครับ
ถ้าละกามราคะได้แล้ว ละปฏิฆานุสัยได้เด็ดขาดเช่นกัน หรือว่ายังมีเหลืออยู่

ไม่รุ้สึกอยากในกามราคะ และไม่หงุดหงิดเรื่องอย่างว่าเลยเจ้าค่ะ ดิฉันพูดด้วยสัจจริงเลยเจ้าค่ะ :b8:
แต่หงุดหงิดเรื่อง ความยินร้ายนี่แหละเจ้าค่ะ :b5: ดิฉันก็เคยแปลกใจเหมือนกันว่า สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติหรือเปล่า ทำให้ดิฉันไม่อยากในกามราคานุสัย สงสัยดิฉันจะตายด้านแล้วเจ้าค่ะ :b32:



ไม่ประมาทดีที่สุดครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 23  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร