วันเวลาปัจจุบัน 11 พ.ย. 2024, 21:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2016, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แผ่เมตตา ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข, คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า “สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ” แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,

(จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย จึงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด,

(ข้อความในวงเล็บเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นไทย)

ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอจนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์คือผลดี ๑๑ ประการ คือ

๑ หลับเป็นสุข

๒. ตื่นก็เป็นสุข

๓. ไม่ฝันร้าย

๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

๖. เทวดาย่อมรักษา

๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ

๘. จิตเป็นสมาธิง่าย

๙. สีหน้าผ่องใส

๑๐. เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ

๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

อนึ่ง การแผ่เมตตานี้ สำหรับท่านที่ชำนาญ เมื่อฝึกใจให้เสมอกันต่อสัตว์ทั้งหลายได้แล้ว จะทำจิตให้คล่องในการแผ่ไปในแบบต่างๆ แยกได้เป็น ๓ อย่าง (ขุ.ปฏิ.๓๑/๕๗๕/๔๘๒) คือ

๑. แผ่ไปทั่วอย่างไม่มีขอบเขต เรียกว่า “อโนธิโสผรณา” (อย่างคำแผ่เมตตาที่ยกมาแสดงข้างต้น)

๒. แผ่ไปโดยจำกัดขอบเขต เรียกว่า “โอธิโสผรณา” เช่นว่า ขอให้คนพวกนั้นพวกนี้ ขอให้สัตว์เหล่านั้นเหล่านี้ จงเป็นสุข

๓. แผ่ไปเฉพาะทิศเฉพาะแถบ เรียกว่า “ทิสาผรณา” เช่นว่า ขอให้มนุษย์ทางทิศนั้นทิศนี้ ขอให้ประดาสัตว์ในแถบนั้นแถบนี้ หรือย่อยลงไปอีกว่า ขอให้คนจนคนยากไร้ในภาคนั้นภาคนี้ จงมีความสุข ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2016, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แผ่เมตตาแบบไม่มีขอบเขต (อัปปมัญญา) ตย.อีกที มองมุมนี้บ้าง

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770

สวัสดีสหายธรรมทุกคนครับ

นี่เป็นครั้งแรกของผมในเวปบอร์ดนี้ ถ้าอย่างไรขอความกรุณาด้วยนะครับ :)

ตอนนี้ผมอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆ จังๆ เลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์

ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

(ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่ รร.สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถะ แบบอัปปมัญญา ๔

(ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้ เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถ ๔๐ วิธี แล้วรู้สึกว่า เราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง)

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจ แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ

กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกกายขยายไปทุกทิศ

ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่ากายหายไป เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้"

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2016, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผ้าจำนำพรรษา ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล, เรียกเป็นคำศัพท์ว่า ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวาสิกสาฎก หรือวัสสาวาสิกสาฎิกา

ผ้าทิพย์ ผ้าห้อยหน้าตักพระพุทธรูป (โดยมากเป็นปูนปั้นมีสายต่างๆ)

ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งห่มได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฎิกา หรือวัสสิกสาฎก มีขนาดที่กำหนดตามพุทธบัญญัติในสิกขาบที่ ๘ แห่งรตนวรรค...

ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฎิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็น “ผ้าอาบน้ำฝน”

ผ้ากฐิน ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน, เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐิน หรือผ้าองค์กฐินอย่างกับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐินอีกอย่างหนึ่ง

ผ้าป่า ผ้าที่ทายกถวายแก่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งให้พระมาชักเอาไปเอง อย่างเป็นผ้าบังสุกุล, ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป

ผาติกรรม “การทำให้เจริญ” หมายถึง การจำหน่ายครุภัณฑ์เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างหนึ่งอย่างใด โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ขำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายให้ใหม่, การชดใช้, การทดแทน

เผดียง บอกแจ้งให้รู้, บอกนิมนต์, บอกกล่าวหรือประกาศเชื้อเชิญเพื่อให้ร่วมทำกิจโดยพร้อมเพรียงกัน, ประเดียง ก็ว่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2016, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

ผรณาปีติ ความอิ่มใจซาบซ่าน เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสารพางค์ (ข้อ ๕ ในปีติ ๕)

ผาสุวิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย

ผลภาชกะ ภิกษุผู้ได้รับรับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกผลไม้

ผลเภสัช มีผลเป็นยา, ยาทำจากลูกไม้ เช่น ดีปลี พริก สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น

เหตุ สิ่งที่ให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่องราว, สิ่งที่ก่อเรื่อง

เหตุผลสนธิ “ต่อเหตุเข้ากับผล” หมายถึง หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบัน กับ ผลในอนาคต ในวงจรปฏิจจสมุปบาท (เหตุในอดีต คือ อวิชชา และสังขาร ผลในปัจจุบัน คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, เหตุในปัจจุบัน คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ, ผล ในอนาคต คือ ชาติ ชรา มรณะ)

เทียบ ผลเหตุสนธิ

ผลเหตุสนธิ “ต่อผลเข้ากับเหตุ” หมายถึง เงื่อนต่อระหว่างผลในปัจจุบัน กับเหตุในปัจจุบัน ในวงจรปฏิจจสมปบาท คือ ระหว่างวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ข้างหนึ่ง (ฝ่ายผล) กับ ตัณหา อุปาทาน ภพ อีกข้างหนึ่ง (ฝ่ายเหตุ)

เทียบ เหตุผลสนธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ค. 2016, 16:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2016, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ การถูกต้อง, การกระทบ, ผัสสะ ๖

สัมผัส ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖) ผัสสะ ก็เรียก

ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือ เป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณกระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)

โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น (ข้อ ๕ ในอายตนะภายนอก ๖ และในกามคุณ ๕)

ผลญาณ ญาณในอริยผล ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณและเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 ม.ค. 2017, 09:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2017, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิบาก ผลแห่งกรรม, ผลโดยตรงของกรรม, ผลดีผลร้ายที่เกิดแก่ตน คือเกิดขึ้นในกระแสสืบต่อแห่งชีวิตของตน (ชีวิตสันตติ) อันเป็นไปตามกรรมดี กรรมชั่วที่ตนได้ทำไว้, “วิบาก” มีความหมายต่างจากผลที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ซึ่งเป็นผลพ่วง ผลพลอยได้ ผลข้างเคียง หรือผลสืบเนื่อง เช่น “นิสสันท์” และ “อานิสงส์” (ดู ผล เทียบ นิสสันท์ อานิสงส์)

ผล ๑. สิ่งที่เกิดจากเหตุ, ประโยชน์หรือโทษที่ได้รับสนองหรือตอบแทน, “ผล” มีชื่อเรียกหลายอย่างตามความหมายที่จำเพาะ หรือที่มีนัยต่างกันออกไป เฉพาะอย่างยิ่งคือ วิบาก (วิบากผล) นิสสันท์ (นิสสันทผล) อานิสงส์ (อานิสงสผล) คำเหล่านี้ มีความหมายก่ายเกยกันอยู่บ้าง และบางทีก็ใช้อย่างหลวมๆ ทำให้ปะปนสับสนกัน แต่ว่าตามความหมายพื้นฐาน วิบาก หมายถึงผลโดยตรงของกรรมต่อชีวิตของผู้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลร้ายสุดแต่กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เขาได้ทำ,

นิสสันท์ หมายถึงผลโดยอ้อมที่สืบเนื่องหรือพ่วงพลอยมากับผลแห่งกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ อันนำมาซึ่งสุขหรือโศก ทั้งที่เกิดแก่ตัวเขาเอง และแก่คนอื่นที่เกี่ยวข้อง (ตัวอย่างดังในหลักปฏิจจสมุปบาทว่า ภพ เป็นวิบาก ชาติชรามรณะ เป็นนิสสันท์, และ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น เป็นนิสสันท์พ่วงต่อออกไปอีก ซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้) และนิสสันท์นั้นใช้ได้กับผลในเรื่องทั่วไป เช่น เอาวัตถุดิบมาเข้าโรงงานอุสาหกรรม เกิดเป็นนิสสันท์หลั่งไหลออกมา ทั้งที่น่าปรารถนาคือผลิตภัณฑ์ และที่ไม่น่าปรารถนา เช่น กากและของเสียต่างๆ

อานิสงส์ หมายถึงผลที่ดีงอกเงย หรือคุณค่าประโยชน์แถมเหมือนเป็นกำไร ซึ่งพลอยได้หรือพ่วงเพิ่มสืบเนื่องจากกรรมที่ดี เช่น เอาความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปสอนเขา แล้วเกิดมีอานิสงส์ เช่น เขารักใคร่นับถือ ตลอดจนได้ลาภบางอย่าง ดังนี้ ก็ได้ หมายถึงผลดี คุณค่า ประโยชน์ของการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยทั่วไป ก็ได้, อานิสงส์นี้ตรงข้ามกับอาทีนพ (หรืออาทีนวะ) ซึ่งหมายถึง โทษ ผลร้าย ส่วนเสีย ข้อบกพร่อง,

พึงเห็นตัวอย่างดังพุทธพจน์ว่า (องฺ.ปญฺจก.22/227/287) “ภิกษุทั้งหลาย อาทีนพในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการ...คือ โภคทรัพย์เป็นของทั่วไปแก่ไฟ ๑ เป็นของทั่วไปแก่น้ำ ๑ เป็นของทั่วไปแก่ผู้ครองบ้านเรือน ๑ เป็นของทั่วไปแก่โจร ๑ เป็นของทั่วไปแก่ทายาทอัปรีย์ ๑

ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการ...คือ โภคทรัพย์ บุคคลเลี้ยงตนให้เป็นสุข...๑ เลี้ยงให้มารดาบิดาให้เป็นสุข...๑ เลี้ยงบุตรภรรยา คนใช้ กรรมกร และคนงานให้เป็นสุข...๑ เลี้ยงมิตรสหายและคนใกล้ชิดช่วยกิจการ ให้เป็นสุข ให้อิ่มพอบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ๑ บำเพ็ญทักษิณาในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อย่างที่มีผลเลิศ อันให้ประสบสิ่งดีงาม มีผลเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ๑....

ดังที่กล่าวแล้วว่า การใช้คำเหล่านี้ เมื่อลงสู่รายละเอียด บางทีก็มีความแตกต่างและซับซ้อนสับสนบ้าง เช่น ในกรณีที่คำว่า “ผล” กับ “วิบาก” มาด้วยกัน อย่างในคำว่า “ผลวิบาก” (คือผลและวิบาก) ของกรรมที่ทำดีทำชั่ว...”

ท่านอธิบายว่า “ผล” หมายถึงนิสสันทผล (รวมทั้งอานิสงสผล) และ “วิบาก” ก็คือ วิบากผล

แต่ในสำนวนว่า “มีผลมาก มีอานิสงส์มาก” บางคัมภีร์ (ดู ปฏิสํ.อ. 2/62/54 ฯลฯ) อธิบายว่า “ที่ว่า ไม่มีผลมาก คือ โดยวิบากผล ที่ว่าไม่มีอานิสงส์มาก คือ โดยนิสสันทผล (หรือโดยอานิสงสผล)

แต่บางคัมภีร์ (ดู ม.อ.1/65/171 ฯลฯ) อธิบายว่า ที่ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนั้น ทั้งสองอย่าง โดยความหมายก็อย่างเดียวกัน" และบางทีก็ให้ความหมายเพิ่มอีกนัยหนึ่งว่า มีผลมาก คือ อำนวยโลกิยสุขมาก มีอานิสงส์มาก คือ เป็นปัจจัยแห่งโลกุตรสุขอันยิ่งใหญ่” ๒. ชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ มรรค และเป็นผลแห่งมรรค มี ๔ ขั้น คือ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตผล ๑ คูกับมรรค

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2017, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2022, 04:10 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2024, 20:30 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร